3 ขั้นตอนสรรหาคน ให้ได้ตรงกับวัฒนธรรมองค์กร

ทุกองค์กรล้วนต้องการ “คนเก่ง” แต่หลายครั้งเมื่อได้มาร่วมงานด้วยแล้ว กลับพบว่าทำงานอยู่ได้ไม่นานก็ไม่ลาออกหรือไม่ก็ต้องตัดใจเอาเขาออกเพราะไปด้วยกันไม่ได้ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งเกิดจากการที่องค์กรละเลยต่อการใช้ค่านิยม (Core Values) ในกระบวนการคัดเลือก จึงได้คน “เก่งงาน” แต่ไม่ได้ “เหมาะสม” สำหรับองค์กร… เรื่องราววันนี้ A Cup of Culture ขอนำเสนออีกเทคนิคในการคัดสรรคน ที่จะช่วยให้องค์กรได้บุคลากรเหมาะสม ที่เข้ากับเพื่อนร่วมงาน และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างรวดเร็ว⁣

ก่อนที่องค์กรจะเริ่มการคัดสรรและสัมภาษณ์พนักงาน มีขั้นตอนสำคัญอยู่ 3 ขั้นตอนคือ⁣

===============⁣

3ขั้นตอนสรรหาคน⁣


🔰 1) กำหนด“Espoused value” (ค่านิยมที่สนับสนุนองค์กร) ⁣
ข้อสำคัญที่ต้องมีก่อนเป็นลำดับแรก หากยังไม่มีข้อนี้ แนะนำให้อ่านบทความที่ชื่อว่า “การออกแบบ Core Values ให้ตอบโจทย์ธุรกิจและพนักงานเอาด้วย” ก่อน –> ตอนที่ 1 –> ตอนที่ 2⁣

🔰 2) กำหนด “ชุดพฤติกรรมของแต่ละค่านิยม”⁣
ยกตัวอย่างเช่น หากองค์กรมีค่านิยมเรื่อง “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” (Continuous Learning) ให้ระบุพฤติกรรมที่ชัดเจน 3-5 พฤติกรรม เช่น⁣
o เรียนรู้ และพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง⁣
o กระตือรือร้นต่อสิ่งใหม่และความท้าทาย⁣
o ปรับตัวได้ง่ายและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น⁣
ซึ่งในขั้นตอนนี้เราสามารถระบุพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่ต้องการ เพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลเสริมระหว่างการสัมภาษณ์ได้ เช่น ขาดข้อมูลในการตัดสินใจ / ปฏิเสธงานที่ไม่ถนัด / ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น⁣

🔰 3) กำหนด “ชุดคำถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ Candidate”⁣
(ก่อนจะผ่านเข้ามาถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์นี้ Candidate ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเรื่องความสามารถและประสบการณ์เรียบร้อยแล้ว (Technical Skills)⁣

ซึ่งเทคนิคที่เราสามารถหยิบมาใช้ในขั้นตอนนี้ได้ คือ “เทคนิคการสัมภาษณ์แบบ STAR”⁣
⭐️ (S) Situation: การให้ยกตัวอย่างสถานการณ์บางอย่างที่ผ่านมา⁣
⭐️ (T) Task: การให้เล่าว่างานนั้นเกี่ยวกับอะไร มีความสำคัญอย่างไร⁣
⭐️ (A) Action: การให้เล่าว่าคุณได้กระทำ ตอบสนอง หรือใช้ทักษะอะไรที่ทำให้ (T) Task. นั้น ประสบความสำเร็จหรือแก้ปัญหา (T) Task. นั้นได้⁣
⭐️ (R) Result and Reflection : การให้เล่าถึงผลลัพธ์ที่ปรากฏ บทเรียนที่คุณได้ หรือคุณคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้⁣

ยกตัวอย่างเช่น⁣

ผู้สัมภาษณ์ต้องการอยากรู้ว่า Candidate คนนี้ มีค่านิยมเรื่อง “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” หรือไม่ สามารถใช้เทคนิค STAR ได้ดังนี้⁣

ผู้สัมภาษณ์ : “อยากให้ช่วยเล่าถึงงานล่าสุดที่ได้รับมอบหมาย แต่ว่าเป็นงานที่ไม่ถนัดหรือไม่มีความรู้ในงานนั้นมาก่อน สถานการณ์ตอนนั้นเป็นอย่างไร” ⭐️(S) Situation⁣
Candidate : …..(ปล่อยให้เล่าเรื่องราว ผู้สัมภาษณ์จดคีย์เวริ์ดสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ระบุไว้ทั้งบวกและลบ)⁣

ผู้สัมภาษณ์ : “อยากให้ช่วยอธิบายเพิ่มถึงงานนั้นอีกครั้ง ว่าต้องทำอะไร ภาระหน้าที่มีอะไรบ้าง ⭐️(T) Task⁣
Candidate : …⁣

ผู้สัมภาษณ์ : “แล้วตอนนั้นคุณทำอย่างไร / ใช้ทักษะอะไร / หรือใช้วิธีไหนตอบสนองต่อเหตุการณ์ ⭐️(A) Action⁣
Candidate : …⁣

ผู้สัมภาษณ์ : “แล้วผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร / คิดว่ามันช่วยอะไรบ้าง หรือส่งผลต่อมุมมองอะไรที่เปลี่ยนไปไหม” ⭐️(R) Result and Reflection⁣
Candidate : …⁣

ระหว่างสัมภาษณ์ ให้ผู้ที่ทำการสัมภาษณ์ จดคีย์เวิร์ดที่มีแนวโน้มตรงกับพฤติกรรมที่กำหนดไว้ทั้งด้านบวกและลบ หากพบว่าคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ยังไม่มากพอต่อการตัดสินใจให้คะแนนก็สามารถถามคำถามอื่น ๆ นอกเหนือจากเทคนิค STAR เพิ่มเติมได้ เช่น “ครั้งสุดท้ายที่เข้าอินเตอร์เข้าไปทำอะไร” “หนังสือล่าสุดที่อ่านคืออะไร” “พอดแคสต์ที่ชอบฟังเกี่ยวกับอะไร” เป็นต้น คุณผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าคำถามที่เพิ่มเข้ามาก็ยังคงเกี่ยวข้องกับค่านิยมเรื่อง “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ที่ได้กำหนดไว้⁣

=============⁣

จากนั้นนำคีย์เวิร์ดมาประมวลผล เพื่อให้คะแนน โดยอาจกำหนดค่า 1-5 โดย ⁣
1= ไม่เป็นที่น่าพอใจ —– > จนถึง 5 = โดดเด่น ⁣
ตัวอย่างเช่น ผู้สัมภาษณ์จดได้แต่คีย์เวิร์ดเชิงลบ คำตอบต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่กำหนดไว้เลย หรืออาจมีแนวโน้มพฤติกรรมบางอย่างที่ขัดต่อค่านิยม ในกรณีเช่นนี้ ผู้สัมภาษณ์สามารถให้คะแนน ไม่เป็นที่น่าพอใจ = 1 ได้ // หรือหากจดได้แต่คำตอบที่แสดงถึงความเชื่อบางอย่างที่สื่อไปถึงค่านิยมขององค์กรได้ เสมือนค่านิยมนั้นเป็นตัวตนของคน ๆ นั้นเลย ก็สามารถให้ โดดเด่น = 5 เป็นต้น⁣

สิ่งสำคัญคือ ในหนึ่งค่านิยม อาจมีพฤติกรรมหลายข้อ ก็ต้องสร้างชุดคำถามให้ครอบคลุมทุกพฤติกรรมในแต่ละค่านิยมนั้นแล้วจึงรวบรวมคีย์เวริ์ดทางบวกและทางลบที่ได้ยินจากผู้สมัคร มาพิจารณาเพื่อให้คะแนน เป็นลำดับสุดท้าย⁣
สำหรับการตัดสินใจเข้ารับทำงาน “หาก Candidate มีค่านิยมตัวใดตัวหนึ่ง ได้คะแนนต่ำกว่า 3 = มาตรฐาน จะถือว่า -ไม่ผ่านเกณฑ์- คือ ไม่ควรจ้างงาน (ถึงแม้คะแนนค่านิยมข้ออื่นจะมีคะแนนสูงมากก็ตาม เพราะแม้พฤติกรรมแย่ๆของคนคนเดียวก็อาจเป็นบ่อนทำลายวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ได้ (Toxic Behavior) หากฝืนรับเข้ามาอาจเกิดปัญหาในระยะยาวได้⁣

สุดท้าย หาก Candidate คนไหนผ่านเกณฑ์การคัดเลือก (โดยเฉพาะตำแหน่งสำคัญ) ลองจัด Lunch Session ร่วมกับทีมหรือเพื่อนร่วมงานสักครั้ง เพื่อสังเกตความเข้ากันได้กับทีม และเป็นการสร้างความมั่นใจสุดท้ายก่อนทำการจ้างงาน⁣


A Cup of Culture⁣
———–⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣
corporate culture⁣
organizational culture⁣

.
.
>>>


Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search