Workplace Bullying การบูลลี่กันในที่ทำงาน คือ ภัยร้ายบั่นทอนวัฒนธรรมองค์กร

พอพูดถึงคำว่า “บูลลี่” เราอาจจะคุ้นชินกับคำนี้ในแง่ของการบูลลี่กันในโรงเรียน เพื่อนรังแกกันแกล้งกัน หรือข่มขู่คุกคาม เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่า การบูลลี่กันในที่ทำงาน (Workplace Bullying) ก็มีเกิดขึ้นและเกิดมานานแล้วเพียงแต่อาจไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นให้พูดถึงกันมากนัก


จากผลการสำรวจของสถาบัน Workplace Bullying Institute พบว่า 30% ของพนักงานเคยมีประสบการณ์การถูกบูลลี่หรือกลั่นแกล้งโดยตรงขณะทำงาน และการทำงานแบบ Remote work มีแนวโน้มที่ถูกกลั่นแกล้งมากกว่า 43.2% ตอบว่าพวกเขาถูกรังแกในที่ทำงาน


การกลั่นแกล้งในที่ทำงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน (well-being) นอกจากนี้ยังทำลายประสิทธิภาพการทำงานที่ของคนคนหนึ่งด้วย การศึกษายังพบอีกว่า“การกลั่นแกล้งกันในที่ทำงานได้สร้างบาดแผลทางใจที่ยาวนาน ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความมั่นใจในตนเอง และสุขภาพจิตโดยทั่วไปของเหยื่อ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การบูลลี่กันยอมส่งผลไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะหากองค์กรต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความเชื่อใจ (trust) การสื่อสารอย่างโปร่งใส หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว



การบูลลี่กันในที่ทำงาน (Workplace Bullying) คือ การเลือกปฏิบัติของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลหนึ่งในทางที่ไม่สมเหตุสมผลซ้ำแล้วซ้ำเล่าในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติ เช่น การข่มขู่ รุกราน ลดศักดิ์ศรี หรือทำให้พนักงานอับอาย ทั้งต่อหน้าเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า


ตัวอย่างเช่น

  • การพูดที่ทำร้ายจิตใจซ้ำๆ หรือล้อเลียนในเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ เชื้อชาติหรือวัฒนธรรม การศึกษา หรือภูมิหลังทางเศรษฐกิจ
  • การล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสในจุดที่ไม่พึงประสงค์ หรือการร้องขอทางเพศที่โจ่งแจ้งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ
  • เล่น “สงครามจิตวิทยา” หรือ “สงครามประสาท” ไม่ว่าจะเป็นการกดดันด้วยภาษาท่าทาง หรือจงใจทำให้อีกฝ่ายอึดอัดด้วยคำพูดหรือการกระทำ
  • การข่มขู่ (ทำให้คุณรู้สึกสำคัญน้อยลงและด้อยค่า)
  • ให้ทำงานแบบไร้จุดหมาย (หรือทำงานในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ)
  • ให้ทำงานที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ บีบบังคับด้วยเวลาที่จำกัด หรือลิมิตทรัพยากรที่มีให้
  • ให้ทำงานหรือทำในสิ่งที่น่าอับอายไม่เหมาะสม เพื่อจงใจทำให้คุณไม่เป็นที่ยอมรับ
  • จงใจเปลี่ยนชั่วโมงทำงานหรือตารางงานของคุณเพื่อทำให้ลำบากมากขึ้น
  • จงใจระงับหรือการปิดการเข้าถึงข้อมูลที่คุณต้องการเพื่อการทำงานให้เสร็จสิ้น
  • โจมตีหรือข่มขู่ด้วยอุปกรณ์ มีด ปืน กระบอง หรือวัตถุอื่นใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นอาวุธได้


บทสรุป —ในกรณีที่เราเป็นผู้ถูกบูลลี่หรือพบเห็นการบูลลี่กันในที่ทำงาน สิ่งที่ควรทำคือ —นำเรื่องราวไปแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของเรา หรือหากผู้บังคับบัญชาเป็นผู้บูลลี่เราเสียเองก็นำความไปแจ้งแก่บุคคลที่สูงกว่าหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล รวมทั้งเก็บบันทึกรายละเอียดลักษณะของการกลั่นแกล้ง (เช่น วัน เวลา สถานที่ สิ่งที่พูดหรือทำ และในสถานการณ์นั้นมีใครอยู่ด้วยบ้าง)


สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้เพื่อลดพฤติกรรมบูลลี่กันในที่ทำงานคือ —ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรทำในที่ทำงานและการให้ความเคารพผู้อื่น ส่งเสริมการรายงานพฤติกรรมบูลลี่ที่พบเห็น พัฒนาทักษะการจัดการและการตอบสนองต่อความขัดแย้ง บอกความคาดหวังที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่พยายามสร้างให้เกิดขึ้น พฤติกรรมไหนที่ยอมรับได้และไม่เป็นที่ยอมรับ


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://www.verywellmind.com/what-are-the-effects-of-workplace-bullying-460628
https://adminfinance.umw.edu/hr/employee-relations/respectful-workplace-policies/workplace-bullying/
arm
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search