3 สเต็ปที่จะทำให้การประชุมเป็นพื้นที่ที่ทุกคนอยากพูด

หนึ่งในปัญหาที่มักเกิดขึ้นในห้องประชุม นอกจากประเด็นเรื่อง “การใช้เวลาในการประชุมที่มากในแต่ละสัปดาห์” ยังมีประเด็นเรื่อง “เมื่อเข้าประชุมแล้วมีเพียงผู้นำหรือผู้จัดการพูดอยู่เพียงฝ่ายเดียว” อาจจะด้วยลูกทีมไม่ได้รับโอกาสให้พูด หรือลูกทีมไม่กล้าที่จะพูดเอง บทความชิ้นหนึ่งของ Harvard Business Review กล่าวว่า “เบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านั้น อาจเป็นผลมาจากการที่ “พวกเขาไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะพูดหรือแสดงความคิดเห็น” มันคือปัญหาเรื่อง Psychological safety ในที่ประชุม


ดังนั้น เรื่องราวที่ผมจะหยิบมาคุยกับคุณผู้ฟังในวันนี้มาจากโจทย์ที่ว่า “จะทำอย่างไรให้ห้องประชุมกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมาและจริงใจ?” ซึ่งผมได้สรุปออกมาเป็น 3 สเต็ปง่ายๆ คือ เปิด: Permission → กลาง: Empower → ปิด: Encourage ดังนี้


การอนุญาตให้ถามหรือพูดถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากในห้องประชุม เพราะมันช่วยเปิดประตูไปสู่การสนทนาในแบบอื่นๆ เช่น การได้แสดงมุมมองของตนเอง การอภิปรายถกประเด็น หรือกระทั่งการให้ฟีดแบค คีย์สำคัญคือ การได้พูดในสิ่งที่คิดและการได้รับการรับฟัง ฉะนั้น ควรเปิดประชุมด้วยการพูดถึงการอนุญาตตรง ๆ เลย เช่น

• การประชุมวันนี้อนุญาตให้มีการพูดหรือถามในสิ่งที่ตนเองสงสัยได้อย่างเต็มที่

• ขอติดตามนอกห้องประชุม หากประเด็นนั้นมีจุดที่แตกต่างหรือซ้ำซ้อน

• อาจจะขอความคิดเพิ่มจากสมาชิกที่ยังไม่ค่อยได้พูด

• จะขอคำอธิบายหรือรายละเอียดเพิ่มจากบางประเด็น


นอกจากนั้น ควรสนับสนุนให้ทีมของคุณ (และตัวคุณเอง) มีการพูดขออนุญาตก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นด้วย เพื่อช่วยให้ทุกความคิดเห็นไม่ถูกละเลยและได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งสามารถพูดได้ดังนี้ เช่น

• ฉันขอถามเพิ่มนิดหน่อยได้ไหม?

• ฉันขอพูดบางอย่างได้ไหม?

• ฉันขอกลับไปในสิ่งที่คุณพูดเมื่อกี้หน่อยได้ไหม?


เมื่อการประชุมดำเนินไปแล้วระยะหนึ่ง ควรใช้เวลาสั้น ๆ กลับมาย้ำและเสริมพลังอีกครั้ง ด้วยคำพูด เช่น

• สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสงสัยได้เลย

• ใครยังไม่ค่อยมีโอกาสได้พูด เชิญชวนให้ได้พูดหรือแสดงความเห็น

• หัวข้อไหนที่อยากได้เวลาเพิ่มเติมในการพูดคุยอย่าลังเลที่จะบอก

• หากมีข้อกังวลที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอยากให้สื่อสารออกมา


ผู้เข้าร่วมควรออกจากห้องประชุมไปด้วยความรู้สึกกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจ พวกเขาควรได้รับความรู้สึกว่า “ตนเองได้พูดในสิ่งที่คิด ได้รับการรับฟัง และเป็นส่วนหนึ่งของทีม” ซึ่งสามารถพูดปิดท้าย เช่น

• จะขอติดตามบางท่านเพิ่ม เพื่อให้แน่ใจว่าความคิดเห็นของพวกท่านได้รับการแก้ไข

• เรื่องราวในการประชุมวันนี้ ขอให้มั่นใจว่ามันจะจบแค่เพียงห้องประชุม แต่หากมีประเด็นไหนที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม จะขออนุญาตท่านก่อน

• เมื่อออกจากห้องประชุมไปแล้ว มีบางจุดที่ท่านเพิ่งนึกออกหรือสงสัยเพิ่ม อยากให้ส่งข้อมูลกลับมาที่เรา


บทสรุป —ความรู้สึกปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยในที่ประชุมเป็นผลมาจาก “ประสบการณ์การประชุมก่อนหน้านี้ที่สะสมมา” หากเราเคยได้รับการให้เกียรติที่จะพูด สิ่งที่เราพูดออกไปได้รับการรับฟัง หรือไม่ถูกปิดกั้นความคิด เราก็มีแนวโน้มที่จะอยากพูดหรือกล้าถามคำถามในที่ประชุม แต่หากประสบการณ์เราเป็นในทิศทางตรงกันข้าม ก็อาจต้อง “ใช้เวลา” ในการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้สึกปลอดภัยขึ้นมาใหม่ ซึ่งหากผู้นำการประชุมมีความตั้งใจจะสร้างให้เกิดขึ้น “วัฒนธรรมในห้องประชุมแห่งความรู้สึกปลอดภัยที่จะพูดหรือถามคำถามย่อมเกิดขึ้นแน่นอน”

สามารถรับฟังเนื้อหานี้ได้ผ่าน Podcast : A cup of culture EP559 – 3 สเต็ปที่จะทำให้การประชุมเป็นพื้นที่ที่ทุกคนอยากพูด


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://hbr.org/2019/04/make-your-meetings-a-safe-space-for-honest-conversation
https://www.atlassian.com/time-wasting-at-work-infographic
arm

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search