S.I.M.P.L.E Model เสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของงานและเพิ่ม Accountability ให้คนในทีม !

“ทำไมน้องคนนี้ไม่มี Responsibility เลย?” หรือ “จะทำอย่างไรให้ทีมงานของเรามี Accountability นะ?” ผมเชื่อว่าทั้งสองคำนี้เป็นคำที่เราหยิบมาใช้บ่อยๆ เวลาที่จะพูดถึงอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับคำว่า “ความรับผิดชอบ” ทำให้คำสองคำนี้ผู้คนมักใช้สลับกันอยู่เสมอ… แต่ในความจริงแล้วสองคำนี้ความหมายที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรและการปฏิบัติงานส่วนบุคคล


อ้างอิงความหมายตามพจนานุกรมชื่อดังอย่าง Merriam-Webster ให้ความหมายของทั้งสองคำนี้โดยสรุปคือ Responsibility = ความรับผิดชอบ / Accountability = ภาระรับผิดชอบ ซึ้งมีรายละเอียด ดังนี้


(1) Responsibility (ความรับผิดชอบ) คือ การรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ตามตำแหน่งงานที่ได้รับมา โดยจะโฟกัสไปที่การทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงอย่างถูกต้องและตรงเวลา (task-focused) หรือคือการตอบคำถามได้ว่า บทบาทนี้เกี่ยวข้องกับอะไร? บทบาทนี้เป็นของใคร? และอะไรคือเป้าหมายที่บุคคล (ซึ่งรับผิดชอบในบทบาทนี้) ต้องทำให้ความสำเร็จ?

ตัวอย่างเช่น เป็นความรับผิดชอบของพนักงานซ่อมบำรุงที่ต้องดูแลเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอ


(2) Accountability (ภาระรับผิดชอบ) คือ ความรับผิดและรับชอบในผลของการกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (results-focused) ทั้งยังต้องมีความโปร่งใส ชี้แจ้งตรวจสอบ และสามารถให้คำอธิบายได้ว่า “เหตุใดจึงสำเร็จหรือล้มเหลว? เพราะอะไร?

ตัวอย่างเช่น เมื่อเครื่องจักรติดขัดและเสียหายจากความประมาทของตนเอง พนักงานก็พร้อมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำและผลที่เกิดขึ้น


———–
ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลายองค์กรคาดหวังให้พนักงานของตนเอง มีมากไปกว่าเพียงการทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของตนเองให้เสร็จสิ้น (Responsibility) แต่องค์กรคาดหวังให้พนักงานรู้สึกเป็นเจ้าของในงานนั้นๆ ร่มทั้งรับผิดและรับชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้วย (Accountability)


คุณ TORBEN RICK ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์องค์กรกล่าว่า “วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งจะช่วยให้ผู้คนในองค์กรเข้มแข็งไปด้วย พวกเขาจะตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ (Responsibility) และพร้อมรับผิดชอบต่อการกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Accountability)”  ซึ่งคุณ Torben Rick ได้แนะนำ SIMPLE Model ที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการมีภาระรับผิดชอบ และทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน

– ขั้นตอนแรกคือ ความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและความคาดหวังขององค์กร พนักงานจำเป็นต้องรู้ว่าพวกเขา “ถูกคาดหวังอะไร” ก่อนที่พวกเขาจะรับผิดและรับชอบต่อสิ่งใดๆ ได้ ยิ่งเป้าหมายและความคาดหวังชัดเจนมากเท่าไร เวลาก็จะเสียไปก็ยิ่งน้อยลงไปมากเท่านั้น

– เพียงเพราะพนักงานของคุณรู้ว่าต้องทำอะไรไม่ได้แปลว่า “พวกเขาจะทำเช่นนั้น” ดังนั้น หลังจากกำหนดเป้าหมายและความคาดหวังแล้ว องค์กรต้องชี้ให้เห็นพนักงานเข้าใจสองสิ่งนี้ด้วย คือ (1) ทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร? (2) และเป้าหมายนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร? ดังนั้น เมื่อพวกเขาเข้าใจเป้าหมายและความคาดหวังนี้แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะยินดีทำและรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่พร้อมรับผิดชอบต่อผลลัพธ์มากขึ้น

– ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้าง Accountability ควรที่จะมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดและประเมินผลจะช่วยให้พนักงานเห็นว่า ตนเองอยู่ไกลหรือใกล้จากเป้าหมายและความคาดหวังที่กำหนดไว้

– การให้ Feedback ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาตรงๆ แต่มันช่วยเปิดประตูในการพูดคุย อภิปราย และหาวิธีปรับปรุงพัฒนาผลงาน *ซึ่งการให้ Feedback ที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดคือ โฟกัสไปที่พฤติกรรม ที่สังเกตเห็นได้ วัดผลได้ มากกว่า Feedback เชิงนามธรรมความรู้สึก

– บางครั้งแรงจูงใจจากภายนอกเล็กน้อยๆ ก็ช่วยกระตุ้นพนักงานให้มีแรงฮึดกลับมาโฟกัสที่เป้าหมายและความคาดหวังอีกครั้ง องค์กรควรจัดแรงจูงใจจากภายนอกเสริมเข้าไปด้วยระหว่างทาง เช่น รางวัล คำชม หรือการยกย่อง

– การทบทวนวิธีการ การจัดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆ อยู่เสมอ 


บทสรุป —เป็นไปได้ว่าพนักงานขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของเพราะพวกเขาไม่เข้าใจบทบาทของตนต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องเริ่มต้นขั้นตอนแรกด้วยการระบุเป้าหมายและความคาดหวังให้ชัดเจนก่อน จากนั้นชี้ให้เขาเข้าใจว่าทำไปแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร และเป้าหมายนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร ซึ่งก็ควรมีกรบวนการติดตามวัดผล ให้ Feedback กระตุ้นแรงจูงใจ และทบทวนขั้นตอนกระบวนการอย่างสม่ำเสมอด้วย

สามารถรับฟังเกี่ยวกับ “SIMPLE Model” ได้แล้ววันนี้ผ่าน Podcast : A Cup of Culture EP555 จะทำให้คนในทีมรู้สึกเป็นเจ้าของในงานอย่างไรดี!?
Contents ที่เกี่ยวข้อง : 4 ขั้นตอน ค้นหาอุปสรรคที่ขัดขวาง Accountability ในทีม


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

Team managment
References:
https://www.indeed.com/career-advice/career-development/accountable-vs-responsible
https://www.torbenrick.eu/blog/performance-management/infographic-simple-approach-to-high-performance-organization/
https://www.torbenrick.eu/blog/performance-management/how-to-hold-people-accountable/amp/
arm
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search