ทำไมต้องมี Psychological safety? ถ้าไม่มีจะเป็นอย่างไร แล้วจะสร้างให้มีได้อย่างไร

คุณมีความรู้สึกคุ้นเคยกับสถานการณ์ต่อไปนี้แค่ไหน? ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
“การทำงานขับเคลื่อนด้วยความกลัว… กลัวผิด กลัวโดนลงโทษ ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ หรือ เสี่ยงริเริ่มอะไร จนงานหลาย ๆ อย่างหมุนเวียนด้วยระบบเก่าที่ไม่มีใครกล้าแตะ”⁣⁣⁣
“เวลาอยู่ในที่ประชุม คนไม่แย้งเมื่อมีความคิดเห็นต่างในเรื่องที่สำคัญ ปล่อยเลยตามเลย”⁣⁣⁣
“คน safe ตัวเองเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการพูดความคิดเห็นของตนเอง หรือออกไอเดียใหม่ ๆ เพราะไม่รู้สึกว่าความคิดเห็นตนเองจะได้รับการพิจารณา อาจโดนตัดสิน หรือ ถูกปฏิเสธ”…⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
หากคุณมีความคุ้นเคยกับข้อความข้างต้น หรือ องค์กรที่คุณอยู่มีลักษณะข้างต้น แสดงว่า องค์กรของคุณอาจขาดความรู้สึกปลอดภัยทางจิตวิทยา หรือ psychological safety ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า องค์กรอาจใช้คนได้อย่างไม่คุ้มค่าตามศักยภาพของพนักงานที่มีอยู่จริง และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการขาด psychological safety⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
บางคนอาจมีคำถามว่า “แล้วไฉน สิ่งที่จับต้องไม่ได้ ถึงได้มีผลกระทบต่อองค์กร?” งานวิจัยมากมายได้สะท้อนให้เห็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ ⁣⁣⁣
(1) ในเชิงร่างกายมนุษย์ : สมองคนเราส่วนที่ตอบสนองต่อความรู้สึกกลัวอย่าง “Amygdala” เมื่อถูกกระตุ้นแล้ว สมองส่วนที่ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์จะหยุดทำงาน ส่งผลต่อความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงาน แม้แต่ในพนักงานที่เก่งที่สุดก็ตาม ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
(2) อารมณ์ด้านบวก อาทิ ความไว้วางใจ ความสงสัยใคร่รู้ ความมั่นใจ ความรู้สึกท้าทายกับสิ่งที่ยาก รวมถึงความรู้สึกมีแรงบันดาลใจ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคนรู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในทีมที่ทำยอดขายได้ดี (HBR) ตามไปด้วย ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
(3) ในมิติของการสร้าง performance ความหลากหลายของประสบการณ์ จุดแข็ง และความคิดเห็นจากตัวบุคคลจะถูกดึงออกมาใช้ได้ดีที่สุดในกรณีที่มีพื้นที่ได้พนักงานสามารถแสดงออกถึงความเห็นที่แตกต่างได้อย่างปลอดภัย ไม่โดนตำหนิ หากว่าสภาพแวดล้อมนั้นจำกัดความคิดเห็น การจ้างพนักงานที่มีศักยภาพสูงมาแล้วไม่เปิดโอกาสนั้นก็เท่ากับว่าใช้คนได้ไม่เต็มศักยภาพที่พึงจะเป็น⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
=====================⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ซึ่งในเงื่อนไขที่คนอยู่ในสภาพแวดล้อมของการปกป้องตนเอง มันไม่ยากเลยที่พนักงานจะมองงานที่ยากเป็น “ความลำบาก” ในขณะที่พนักงานในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยเชิงจิตวิทยาจะมีความเป็นไปได้ในการมองความยากเป็น “ความท้าทาย” ได้มากกว่า และแน่นอนว่าหน้าที่ในการพยายามสั่งงานให้พนักงานที่ขาดแรงจูงใจในตนเองกับหน้าที่ในการช่วยกันคิดแก้ปัญหาเพื่อทำสิ่งที่ท้าทายให้บรรลุผล ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันมากเช่นกัน⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
จากผลการสำรวจของ Gallop ในปี 2017 ในต่างประเทศพบว่า พนักงาน 3 ใน 10 คนจากการสุ่มสำรวจเห็นด้วยว่าความคิดของตนไม่ได้ถูกให้ความสำคัญในที่ทำงาน.. นี่ขนาดเป็นผลสำรวจในวัฒนธรรมที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานงานที่ค่อนข้างเปิดกว้าง สถิติยังสูงขนาดนี้ แล้วประเทศที่เน้นวัฒนธรรมแบบหมู่อย่างเรา ๆ จะยิ่งมีโอกาสที่มีคนรู้สึกแบบนี้ขนาดไหนกัน?⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
Psychological safety หรือ ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา หมายถึงการมีความรู้สึกว่าคุณจะไม่โดนลงโทษเมื่อทำพลาดและมีความเชื่อใจระหว่างคนร่วมทีม เป็นองค์ประกอบสำคัญของทีมที่ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่มีร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ด้วยหลากหลายวิธี โดย Harvard Business Review ได้มีการแนะนำอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🔰 1. การเข้าถึงปัญหาในลักษณะผู้ที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ แทนที่จะวางท่าเป็นคู่ขัดแย้ง ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
มนุษย์ทุกคนล้วนรู้สึกไม่ดีต่อความรู้สึกพ่ายแพ้ และชอบการชนะ ซึ่งข้อขัดแย้งที่ทำงานในลักษณะที่มีผู้แพ้ผู้ชนะจะนำมาซึ่งการกระตุ้นสมองส่วน fight or flight response อาจทำให้เกิดผลเชิงลบต่อการทำงาน อาทิ การต่อต้าน การลดการให้ความร่วมมือ และการกระทำเชิงลบอีกหลายรูปแบบ ซึ่งการพูดคุยในการแก้ปัญหาที่ถูกวางมาในมุมของการช่วยให้ทั้งสองฝ่ายต่างได้อะไรกลับไปจะช่วยให้ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่สร้างประโยชน์ และกระตุ้นการระดมความคิดได้มากขึ้น⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🔰 2. การเปลี่ยนการเพ่งโทษ ด่า หรือ วิพากษ์วิจารณ์ เป็นความสงสัยใคร่รู้ ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
• ขั้นแรก ให้ฝึกการระบุประเด็นปัญหา แยกแยะระหว่างการตีความ คำตัดสิน กับข้อเท็จจริง เช่น แทนที่ว่าจะด่าว่า “ทำไมทำงานแย่ลง” เป็น “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นว่าคุณมีส่วนร่วมในการประชุมลดลง และใช้เวลานานขึ้นในการทำโปรเจคนะ” ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
• ขั้นที่สอง ถามถึงที่มาที่ไป บนพื้นฐานที่ว่า ชีวิตคนเรามีหลายปัจจัยที่เราอาจไม่เห็น เช่น “รู้นะ ว่ามันคงมีอะไรหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น.. เรามาช่วยกันดูหน่อยดีไหม ว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?”⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
• ตามด้วยคำถามชวนแก้ปัญหา “คุณคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น และผมจะช่วย support คุณได้อย่างไร”⁣⁣⁣
สิ่งที่คุณจะได้ตามมา อาจเป็น action plan บางอย่าง หรือ ความเข้าใจในบริบทที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานคุณมากขึ้น ที่จะช่วยลดอารมณ์ความขัดแย้งลงได้⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🔰 3. เปิดพื้นที่ feedback ต่อตนเอง⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
มนุษย์ทุกคนไม่มีใคร perfect ซึ่งการ feedback นั้นเป็นการช่วยให้สิ่งที่คน ๆ หนึ่งทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้อื่นได้มีโอกาสปรับตัวแก้ไข แต่ในกรณีที่เป็น “ผู้นำ” มันง่ายมากที่เขาจะทำอะไรบางอย่างที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจลูกน้อง และอาจเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของการมี หรือ ไม่มี psychological safety โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีใครกล้าฝีดแบค โอกาสในการทำสิ่งเดิมซ้ำๆ ที่มีผลกระทบสูงก็ ดังนั้น กิจวัตรที่ดีควรเริ่มจากการเปิดพื้นที่ให้มีการ feedback ตนเองได้ ด้วยใจที่น้อมรับในความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ หากทำได้บ่อย ๆ ช่องว่างความกลัวก็จะค่อย ๆ ลดลง และกลายเป็นธรรมชาติที่รู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นได้ในที่สุด⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🔰 4. หมั่นประเมินระดับความปลอดภัยทางจิตวิทยา⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
Psychological safety ก็เป็นสภาวะที่สร้างโดยคน สามารถมีได้สูงในระยะเวลาหนึ่ง และลดลงได้เช่นกัน ⁣⁣⁣
ดังนั้นการมี survey ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นตัวช่วยให้สามารถประเมินระดับ psychological safety ได้ดี และหากว่าระดับมันเกิดการเปลี่ยนแปลง เราก็จะสามารถวางแผนค้นหาต้นตอและจัดการได้ถูกจุด ก่อนที่ความไม่ปลอดภัยในที่ทำงานจะส่งผลถึงความสัมพันธ์ ความไว้วางใจในภาพรวมได้ ⁣⁣⁣
แม้กระทั่งองค์กรชั้นนำอย่าง Google ยังมีข้อคำถาม assessment ประจำเลยว่า “คุณมั่นใจแค่ไหนว่าคุณจะไม่ถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงาน หรือ ถูกวิพากษ์วิจารย์หากคุณยอมรับในความผิดพลาดของตนเอง” ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมชี้วัดการมี psychological safety ในองค์กร ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
———–⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
Corporate culture⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
Organizational culture⁣
.
.
>>>

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://hbr.org/2017/08/high-performing-teams-need-psychological-safety-heres-how-to-create-it
https://www.ccl.org/articles/leading-effectively-articles/what-is-psychological-safety-at-work/

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search