4 แนวทางการให้อิสระที่ดีกับทั้งคนและองค์กร

การให้อิสระ หรือ Freedom กับพนักงานเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้บริหารหลายคนมีความกังวลมากที่สุด เพราะเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพนักงานจะทำงานตามที่พวกเขาได้รับมอบหมายได้จริง ๆ ไม่ใช่กำลังอู้งานอยู่ (Trust) หรือต่อให้พวกเขาทำงาน เราจะแน่ใจได้จริง ๆ หรือว่าเขาทำงานไปในทางที่ถูกต้อง (Alignment) วันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นเหล่านี้ รวมถึงหลักการของสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อสร้างสมดุลย์ระหว่างการให้อิสระ และการมีแนวทางการทำงานที่ดี


โลกเรามีแนวโน้มไปในด้านของการให้อิสระกับผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตุได้จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่ว่าประเทศไหน ๆ มักจะพูดถึงอิสระเป็นอันดับแรก ๆ เลย ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะอินเตอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ให้พื้นที่มนุษย์ในการแสดงออก และติดต่อกับคนอื่นได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วชีวิตคนในยุคนี้มีอิสระขึ้นมากเมื่อเทียบกับสิบปีที่แล้ว นั่นทำให้ระบบ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อยู่มากมายที่มีอยู่ในโลกของการทำงานกลายเป็นเรื่องที่ฟังดูล้าหลังไปเลยเมื่อเทียบกัน และความแตกต่างระหว่างอิสระในชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงานนี้ก็จะยิ่งกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าผู้นำยังไม่ทำอะไรบางอย่าง


เป็นที่รู้กันดีท่ามกลางหมู่ Startups และองค์กรแนวหน้าของโลกว่าถ้าเราต้องการให้มีนวัตกรรม (Innovation) เกิดขึ้นในองค์กร สื่งแรก ๆ ที่ผู้บริหารควรทำคือการให้อิสระกับพนักงานให้ได้คิด และได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ อย่างเต็มที่ แต่หนึ่งในความกลัวที่ตามมาโดยเฉพาะกับองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีพนักงานจำนวนมาก ๆ คือ ความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าพนักงานเราได้รับอิสระมากเกินไปที่เช่น พนักงานเราจะทำไปคนละทิศละทางเลยไหม พวกเขาจะตัดสินใจกันแบบไหน ถ้าเป็นงี้แล้วองค์กรจะแบ่งทรัพยากรกันยังไง ความกังวลทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล แต่เราเชื่อว่ามันสามารถป้องกันได้ และก็เชื่อว่าองค์กรที่มีทิศทางตรงกัน และยังคงมีอิสระนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้


ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า“การให้อิสระ” กับ “การให้ทิศทาง” นั้นไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เราสามารถที่จะให้อิสระกับพนักงานได้โดยไม่จำเป็นต้องไปลบแนวทางการทำงานออกจากคู่มือพนักงาน และในทางกลับกันแนวทางการทำงานไม่ควรที่จะไปลดทอนอิสระในการทำงานของพนักงานด้วยเช่นกัน เพราะการให้แนวทางการทำงานที่ดีนั้นควรที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีอิสระในการทำงาน และตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง


เมื่อพูดถึงการให้อิสระในการทำงานเราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงองค์กรที่เป็นผู้นำในด้านนี้ หรือก็คือ Netflix ที่ให้อิสระกับพนังงานในระดับที่ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์ใด ๆ ตามหนังสือ No Rules Rules ที่วันนี้เราจะไม่ขอลงรายละเอียดเยอะ เพราะเพจเราได้หยิบมาพูดถึงบ่อยมาก ๆ แล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่) แต่หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ Netflix ทำแบบนี้ได้ก็เพราะเขาเป็น Entertainment Company นั่นหมายถึงความธุรกิจของเขาความผิดพลาดอาจจะทำให้สูญเสียเงินก้อนใหญ่ แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีใครเสียชีวิตด้วยความผิดพลาดในการทำงานที่ Netflix แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ความเสี่ยงสูงกว่านี้ เช่น สถาบันทางการเงิน โรงพยาบาล หรือโรงงานที่อยากให้เกิด Innovation ขึ้นในองค์กรล่ะ วันนี้เราไปพบกับบทความของ Havard Business Review ที่พูดถึงแนวทางการให้อิสระกับพนักงานที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และทุกองค์กรสามารถปรับไปใช้ได้ในแบบของตัวเองดังนี้:


ส่งเสริมการคิดเชิงกลยุทธ์


หมายถึงช่วยให้ทุก ๆ คนในองค์กรสามารถคิดได้ด้วยตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ดีสำหรับองค์กร โดยการให้ทักษะพื้นฐานเช่น Business model และ Strategic plan


ตัวอย่างเช่น บริษัทชั้นนำของโลกอย่าง W.L. Gore ก็มีการใช้วิธีนี้กับพนักงาน โดยเมื่อก่อนองค์กรจะให้ผู้จัดการระดับกลางเป็นคนวางแผน และสื่อสารไปยังพนักงานคนอื่น ๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือการเข้าใจผิดจากการสื่อสาร หรือบางครั้งไม่ได้มีการสื่อสารเกิดขึ้นเลย แต่หลังจากที่ Gore ได้ปรับให้พนักงานในทุกระดับสามารถเข้าถึงกลยุทธ์ระดับสูงได้โดยตรงผ่านการสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงโดยตรง นอกจากจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพขึ้นแล้วยังเป็นการให้ทักษะกับพนักงานทุกระดับให้สามารถคิดเชิงกลยุทธ์ได้ด้วยตัวเอง และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา


สร้างกฏง่าย ๆ (Simple Rules)


การมีกฏไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่กฏที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง และเข้าใจยากคือที่มาของความความรู้สึกว่ากำลังโดนจำกัดเสรีภาพอยู่ สมดุลย์ระหว่างการให้อิสระกับพนักงานและวิถีการปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันได้คือการสร้างกฏง่าย ๆ ขึ้นมาบ้างสักเล็กน้อย


ตัวอย่างเช่น Microsoft ในยุคก่อนทีมพัฒนาจะมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปัญหาที่ตามมาคือทุกครั้งที่พัฒนาก็จะมีข้อผิดพลาด หรือ Bug ของระบบเกิดขึ้นตามมา และในสมัยก่อน Bug เหล่านี้มักจะไม่ได้รับการแก้ไข และเพื่อแก้ปัญหานี้ Microsoft ก็ออกกฏง่าย ๆ ที่ทั้งเข้าใจง่าย และมีประสิทธิภาพคือการมี “Bug Cap” คือ ทีมพัฒนาจะทำอย่างไรก็แต่ แต่ต้องไม่มี Bug เกินจำนวนคน x 5 นั่นหมายความว่าทีมพัฒนา 5 คนสามารถที่จะเพิ่มฟีเจอร์ได้เรื่อย ๆ ตามความตั้งใจ แต่ถ้ามี Bug เกิน 25 จุดเมื่อไหร่ Priority แรกต้องเป็นการแก้ Bug ทั้งหมดก่อนถึงจะพัฒนาต่อได้


สร้างระบบ Best Idea Win


การให้อิสระกับพนักงานจะทำให้เราได้ไอเดียจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ได้ดีทุกอัน กระบวนการคัดเลือกไอเดียที่จะนำมาขยายผลต่อจึงต้องมาคู่กันกับการให้อิสระพนักงาน โดยมีวิธีได้หลากหลาย


ตัวอย่างเช่น การประกวดไอเดียโดยให้ผู้นำอาวุโส หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาให้คะแนน และคำแนะนำก็เป็นวิธีการคัดที่ดี เพราะนอกจากจะได้ไอเดียที่ดีที่สุดแล้ว ยังส่งเสริมให้เจ้าของไอเดียคนอื่น ๆ ได้พัฒนาตัวเองต่อไปด้วย


ให้ทุกคนช่วยกันอุดรูรั่วความเสี่ยง


การให้อิสระที่พอดีต้องมาควบคู่กับการให้ทั้งความรับผิดชอบ (Responsibility) และ อำนาจการตัดสินใจ (Authority) ด้วย


ตัวอย่างเช่น โรงงานของ Toyota ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในแบบอย่างสายการผลิตที่ดีที่สุดในโลก เขาพนักงานในสายการผลิตทุกคนสามารถที่จะดึงคันโยกเพื่อหยุดสายพานการผลิตได้ทันที ไม่ว่าระดับไหนเมื่อเขาพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น แม้ว่ามูลค่าที่เสียไปต่อการหยุดการทำงานของเครื่องจักรในแต่ละครั้งนั้นจะมหาศาล แต่เมื่อพนักงานรู้สึกว่าตัวเองได้รับความไว้วางใจให้ตัดสินใจในเรื่องใหญ่แบบนี้ได้นั่นยิ่งทำให้พวกเขาตัดสินใจได้อย่างดียิ่งขึ้นในทางที่ดีกับองค์กร (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Toyota)


ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางในการค่อย ๆ พัฒนาการให้อิสระภาพกับพนักงานในองค์กรในแบบที่ช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาได้ แต่แม้มี ทั้งหมดนี้แล้วสำหรับเราชาว A Cup of Culture ก็ต้องเสริมอีกประเด็นสำคัญคือการมี Mission และวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงร่วมไปด้วย เพราะถ้าเปรียบเทียบแล้ววิธีการเหล่านี้เหมือนเป็นราวบันไดที่ช่วยป้องกันไม่ให้ร่วงตกขอบ แต่การมี Mission หรือ Vision คือสิ่งที่ทำให้ทุกคนมองไปในทางเดียวกันถึงเป้าหมายที่อยู่บนสุดของบันไดนั้น และวัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งทำให้ทุกคนเดินหน้าไปด้วยกันได้ตลอดรอดฝั่ง


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>>


Referneces:

https://hbr.org/2019/07/how-to-give-your-team-the-right-amount-of-autonomy

https://hbr.org/2012/09/simple-rules-for-a-complex-worldhttps://hbr.org/2018/05/structure-thats-not-stifling

.
.
>>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search