ส่งต่อวัฒนธรรมองค์กรจากภายในสู่ใจลูกค้า

จากสวนสนุกที่หลาย ๆ คนใฝ่ฝัน จนมาถึงภาพยนตร์การ์ตูนคลาสสิก ภายใต้ Disney Plus

.
.
Walt Disney น่าจะเป็นอีกหนึ่งองค์กรตัวอย่างที่ทำให้เราเห็นว่าความสามารถในการส่งต่อประสบการณ์ของแบรนด์สู่ลูกค้าได้ดีนั้น มาจากวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งนั่นเอง วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งของ Disney แน่นอนว่าไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพรจากตะเกียงวิเศษ แต่มาจากเบื้องหลังของกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกวางแผนมาเป็นอย่างดี และการลงมือทำที่มุ่งสู่พันธกิจ ได้แก่ “การสร้างประสบการณ์ความสุข และความสนุก ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ผ่านสินค้าและบริการหลายรูปแบบเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้า” ซึ่งกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จนี้คือการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันตั้งแต่พนักงานทุกระดับ ไปจนถึงปลายทางซึ่งก็คือลูกค้า
.
.

Gallup เปรียบวัฒนธรรมองค์กรเป็นเหมือนกับ GPS ที่ระบุจุดหมายปลายทางและเส้นทางในการทำงานให้กับพนักงานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและส่งมอบประสบการณ์ไปยังลูกค้าได้ตามพันธกิจ แต่จากผลการสำรวจของ Gallup แสดงให้เห็นว่า มีพนักงานเพียง 41% เท่านั้นที่เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กรของพวกเขาอย่างแท้จริง และองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัฒนธรรมองค์กร
.
.

การรับรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมองค์กรที่ผิดเพี้ยนไป มักจะมาจากการจัดการและการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นไปได้เสมอที่องค์กรมุ่งเน้นไปยังการทำงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ทำให้พันธกิจ รวมถึงค่านิยมหลักอาจถูกลดทอนลงไปเมื่อส่งต่อมาถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เราต้องเผชิญกับ Covid-19 และหลาย ๆ ที่ต้องทำงานแบบ Social Distancing แต่ในเมื่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรยังต้องดำเนินต่อไป Forbes ได้นำเสนอ 3 วิธีการเพื่อส่งต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรไปสู่พนักงานในแต่ละระดับ ดังนี้
.
.
.

1. Draw boundary lines – กำหนดขอบเขตการตัดสินใจที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร
.
นโยบายที่คลุมเครือเช่น “ทำสิ่งที่ถูกต้อง” อาจจะไม่ได้ช่วยให้พนักงานตัดสินใจไปในทิศทางเดียวกันอย่างที่คาดหวัง เพราะคำว่าถูกต้องนั้นมีขอบเขตที่กว้างซะเหลือเกิน การระบุพฤติกรรมที่ชัดเจน หรือการไกด์แนวทางการตัดสินใจที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร จะส่งผลให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่น และรับรู้ถึงการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมองค์กร
.

กรณีตัวอย่าง สายการบินหนึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการดูแลลูกค้าและความน่าเชื่อ แต่ยังมีนโยบายที่ลูกเรือยังต้องปฏิบัติตามที่บริษัทกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จึงเป็นการยากสำหรับลูกเรือที่จะต้องตัดสินใจทำตามนโยบายที่องค์กรกำหนดซึ่งขัดกับการมุ่งเน้นการดูแลลูกค้า
.
.
.

2. Show customer impact – แสดงผลกระทบที่ส่งไปถึงลูกค้า

.
ผลการสำรวจจาก Gallop แสดงให้เห็นว่า พนักงานกลุ่มเป้าหมายในอเมริกาเพียง 26% เท่านั้นที่เชื่อว่าองค์กรของพวกเขากำลังส่งมอบประสบการณ์ไปสู่ลูกค้าได้ตามที่กล่าวไว้ในพันธกิจขององค์กร จะดีแค่ไหน ถ้าเราคือผู้ที่สร้างความแตกต่าง และพนักงานได้รับรู้ว่าการตัดสินใจของเขา หรือสิ่งที่เขาทำเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบประสบการณ์ และการรับรู้ถึงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่ลูกค้า
.

กรณีตัวอย่าง Seaboard Foods หนึ่งในบริษัทผลิตอาหาร ใช้ แพลตฟอร์มการสื่อสารของพนักงานที่ชื่อว่า Beekeeper เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับผลจากงานที่พวกเขาทำ ที่ส่งผลไปถึงลูกค้าปลายทาง เช่นการแชร์รูปภาพการผลิตอาหาร เริ่มจากจากฟาร์ม ผ่านกระบวนการอื่น ๆ ไปจนถึงการส่งอาหารไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารต่าง ๆ
.

การใช้เครื่องมือจากโซเชียลมีเดียเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของลูกค้าก็เป็นอีกวิธีที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อลูกค้า โดยการแชร์ข้อมูลเชิงบวกกับพนักงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกำลังใจ ผลักดัน หรือต่อยอดการปฏิบัติ รวมถึงข้อมูลเพื่อการพัฒนาเพื่อเป็นช่องทางในการปรับปรุง และส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเพิ่มขึ้น
.
.
.

3. Connect socially distant co-workers เชื่อมต่อเพื่อนร่วมงานที่อยู่ห่างไกล

.
สิ่งที่สำคัญคือ พนักงาน ทุกระดับ ทุกพื้นที่ ตั้งแต่ทีมผู้บริหาร พนักงานประจำ พนักงาน part time หรือแม้แต่กลุ่มผู้รับเหมา ควรได้รับการมีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร ในหลากหลายช่องทางการสื่อสารเช่น townhall การประชุม อีเมล เพื่อสื่อสารข้อมูล และช่วยให้ทุกฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกัน และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรอยู่เสมอ
.

กรณีตัวอย่าง Groove บริษัทเกี่ยวกับแพลตฟอร์มการขาย จัด Standup Meeting โดยใช้เวลาเพียง 10 นาทีต่อวัน แต่ในวันจันทร์พวกเขาจะในการประชุมนานเท่าไรก็ได้ ตราบใดที่การพูดคุยนั้นไม่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในทีมรู้ว่าพวกเขามีเพื่อนร่วมงานที่เป็นเพื่อนจริง ๆ เพื่อเริ่มต้นในแต่ละสัปดาห์ 
.
.
.

วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ถือเป็น Game Changer และกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้ทุกคนในทีมของคุณมีส่วนร่วม เพื่อสามารถส่งต่อการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรไปสู่ลูกค้าได้อย่างแท้จริง
.
>>>>>>

A Cup of Culture
>>>>>>
.
.

ที่มาของบทความ

https://www.forbes.com/sites/serenitygibbons/2020/04/21/how-to-help-employees-be-the-culture-change-you-want-to-see/#6e529aa2442a

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search