เมื่อวัฒนธรรมองค์กรเป็นแค่ป้ายแขวนผนัง

ในปี 1994 หนังสือ Built to Last ที่เขียนโดย Jim Collins และ Jerry I. Porras ได้เปิดเผยเคล็ดลับที่ทำให้องค์กรอย่าง 3M, Amex, Ford, Walt Disney, Walmart เป็นต้น สามารถยืนระยะได้อย่างยิ่งใหญ่นับร้อยปี หนึ่งในเคล็ดลับเหล่านั้นคือ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ก่อร่างมาจากอุดมการณ์หลัก (Core Ideology) ที่ชัดเจน ซึ่งนับจากนั้นมา องค์กรชั้นนำทั่วโลกก็ได้ตื่นตัวในการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และ ค่านิยมขององค์กร (Values) เพื่อสื่อสารกับคนภายในองค์กร ลูกค้า และผู้ถือหุ้น และจากข้อสังเกตุของ Patrick M. Lencioni ผู้เขียนบทความ Make Your Values Mean Something ลงพิมพ์ใน Harvard Business Review ในปี 2002 พบว่ามีกลุ่มบริษัท Fortune 500 ในจำนวนน้อยมากที่เอาจริงเอาจังกับค่านิยมที่ได้สื่อสารออกไป โดยส่วนใหญ่จะกำหนดค่านิยมจากสิ่งที่ผู้บริหารคิดว่าองค์กรจำเป็นต้องมีมากกว่าที่จะคำนึงถึงตัวตนขององค์กรหรืออุดมการณ์ที่ยึดถือ ซึ่งทำให้ค่านิยมเหล่านั้นเป็นเพียงป้ายที่แขวนอยู่ตามผนังห้องประชุมโดยที่พนักงานไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใด หรืออาจอยู่ในวีดิโอที่องค์กรใช้ในการสื่อสารกับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
.

และตัวอย่างสุดโต่งกรณีหนึ่งก็คือ Enron บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เคยเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 7 ในปี 2000  โดยมียอดขายสูงสุดถึงปีละ 3 ล้านล้านบาท โดยเฉลี่ยแล้วเติบโตปีละ 65%  แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อถูกตรวจพบว่า Enron ตกแต่งตัวเลขทางบัญชีโดยสร้างรายได้และกำไรปลอม แถมยังปกปิดหนี้สินจากการได้รับความร่วมมือจากบริษัทตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ Arthur Anderson (ซึ่งได้ถูกถอนใบอนุญาตตรวจสอบบัญชี เมื่อปี 2002) ต่อมาบริษัทถูกลดเครดิตลงและจำเป็นต้องขอยื่นล้มละลายในปลายปี 2001 และผู้บริหารต้องโทษในหลายคดีและเดินเข้าสู่เรือนจำในที่สุด
.

Enron ได้ประกาศค่านิยมขององค์กรต่อสาธารณชนไว้ 4 ประการคือ Communication. Respect. Integrity. Excellence. โดยข้อความดังกล่าวได้ถูกสลักไว้อย่างสง่างามที่โถงล๊อบบี้ของบริษัท แต่สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงของ Enron คิดและปฏิบัติกลับสวนทางกับค่านิยมในทุกๆประการ มีการคอรัปชั่นกันในระดับผู้บริหาร ปกปิดข้อมูลและการหลอกลวง หลายครั้งที่พนักงานตั้งคำถามในความโปร่งใสต่างๆ กลับได้รับการเพิกเฉยและหลายคนถูกให้ออกจากงาน ผู้บริหารหยั่งรากลึกความหวาดกลัวลงไปในวัฒนธรรมองค์กร
.

นอกจาก Enron แล้วยังมีตัวอย่างอีกหลายองค์กรที่เขียนวิสัยทัศน์และค่านิยมไว้อย่างสวยหรู ลงทุนไปกับการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูน่าเชื่อถือแต่ท้ายที่สุดสิ่งต่างๆเหล่านั้น ไม่ได้เชื่อมโยงไปถึงการปฎิบัติที่แท้จริง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ล้วนต้องใช้กระบวนการและเวลา โดยต้องเริ่มจากสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรก่อนนั่นคือ “ผู้บริหารต้องทำได้ ต้องเป็นแบบอย่างได้ ต้องสะท้อนตัวตนของผู้นำ ” เพราะค่านิยมที่ไม่สะท้อนถึงตัวตนผู้นำ ผู้ตามที่ไหนจะอยากทำตาม อย่างเช่นกรณี Enron….
.
A cup of Culture

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search