ครั้งที่แล้วเราคุยกันถึง Tech company ในยุคแรก ๆ อย่างบริษัท IBM ที่วัฒนธรรมองค์กรของเขาถูกถ่ายทอดมาจาก DNA ของผู้ก่อตั้ง จากนั้นเราคุยกันถึงแนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสรรหาคนที่ “โคตรเก่ง” หรือ Talent intensity มาร่วมงานด้วยกับบริษัท Netflix
.

วันนี้เราจะไปรู้จักกับต้นตำรับของประโยคสุดฮิต “WOW experience”

.
เหตุผลที่ A Cup of Culture อยากหยิบเรื่องนี้มาพูดคุยก็เพราะว่า การจะทำธุรกิจให้สามารถเอาชนะคู่แข่งในยุคปัจจุบัน ไม่ใช้การทำเพียงแค่ให้ได้ “มาตรฐาน” แต่ต้องทำให้ “เหนือมาตรฐาน” ซึ่งกลุ่มคนแรก ๆ ที่เริ่มมาตรฐานนี้คือ “Zappos”

.
.
…..
หนังสือ “Delivering Happiness” ของ Tony Hsieh (โทนี่ เซ) CEO ของบริษัท Zappos (ฉบับแปลไทย ใช้ความสุขทำกำไร) ได้บอกเล่าประวัติว่าตัวเขาเป็นคนจีนที่เกิดและเติบโตในอเมริกา เขาเป็นคนที่สนใจด้านธุรกิจ การค้าการขายมาตั้งแต่เด็ก ๆ ถึงขนาดว่าในช่วงหนึ่งที่เขาเรียนที่ฮาร์วาร์ด เขาเคยลงทุนเปิด Food stand ขายอาหารใต้บริเวณหอพักที่อาศัยอยู่ เนื่องจากพบปัญหาว่าเพื่อน ๆ ของเขาต้องใช้เวลาเดินทางไกลเพื่อไปกินที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัย
.
หลังเรียนจบ โทนี่ เซ ก็ได้เข้าทำงานที่บริษัท Oracle แต่ก็ทำได้ไม่นานเนื่องจากรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ซ้ำซาก เลยตัดสินใจลาออกมารับทำเว็บไซต์ และเกิดไอเดียธุรกิจ “แลกเปลี่ยนลิงค์โฆษณา : Link Exchange ( คือ การนำลิงค์โฆษณาขององค์กรเราไปแสดงผลที่หน้าเว็ปไซต์ขององค์กรหนึ่ง และลิงค์โฆษณาขององค์กรหนึ่ง มาแสดงผลที่เว็ปไซต์องค์กรเรา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและผู้สนใจได้เข้าถึงเว็ปไซต์ของกันและกัน) ธุรกิจนี้ส่งผลให้บริษัทของเขาเติบโตอย่างรวดเร็วและถูกไมโครซอฟท์ซื้อไปในราคา 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แทนที่โทนี่จะมีความสุขการได้ทำงานภายใต้ไมโครซอฟท์ เขากลับรู้สึกว่าบริษัทกำลังเติบโตอย่างไร้ระบบและเน้นผลกำไรเป็นหลัก
.
ในท้ายที่สุด เขาจึงตัดสินลาออกจากไมโครซอฟท์ และมาเปิดบริษัทลงทุนขนาดเล็กชื่อว่า Venture Frogs โดยเป็นบริษัทที่เน้นลงทุนในธุรกิจ Startup ใหม่ ๆ โดยหนึ่งในธุรกิจที่เขาลงทุนด้วยคือ Zappos.com ซึ่งเป็นบริษัทขายรองเท้าออนไลน์ จากเป็นแค่นักลงทุนในช่วงแรกกลายมาเป็น CEO ในช่วงถัดมา ในช่วงเวลานั้นบริษัทเผชิญปัญหามากมายทั้งจากวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหตุการณ์ 9/11 และการย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ลาสเวกัส ทำให้ โทนี่ เซ ได้เรียนรู้บางอย่างจากเหตุการณ์เหล่านี้และนำพาเขาไปสู่ความสำเร็จต่อจากนั้น

.
.
…..
โทนี่ เซ มีความเชื่อและให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก ถึงขนาดว่าเขาไม่สนใจเลยว่าพนักงานจะทำงานอย่างไร ขอให้ลูกค้าพึงพอใจเป็นใช้ได้ไม่ว่าจะเป็น การจัดส่งที่รวดเร็ว เช่น สั่งของตอนเที่ยงคืน ได้รับสินค้า 8 โมงเช้า การส่งสินค้าคืนฟรีโดยไม่คิดค่าไปรษณีย์ในกรณีไม่พึงพอใจ หรือการอบรมพนักงานให้สื่อสารกับลูกค้าเหมือนเพื่อนช่วยเพื่อน ยินดีให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเรื่อง ๆ อื่นด้วยนอกเหนือจากเรื่องรองเท้า เคยมีการบันทึกสถิติการคุยที่ยาวนานที่สุดคือ 10 ชั่วโมง เป็นต้น
.
เมื่อลูกค้าได้รับความพึงพอใจก็เกิดการบอกต่อ ยิ่ง Zappos บริการลูกค้าได้ดีมากเท่าไหร่ ลูกค้าก็ยิ่งจงรักภักดีต่อแบรนด์ของเขามากขึ้นเท่านั้น จากลูกค้าทั่วไปกลายเป็นลูกค้าประจำ จากลูกค้าที่ไม่เคยใช้บริการก็เริ่มสนใจจะทดลองประสบการณ์สุด Wow กับ Zappos เพิ่มมากขึ้น โทนี่ เซ ยอมทุ่มเงินให้กับการบริการ แทนที่ผลลัพธ์จะทำให้เขาขาดทุนแต่กลับกลายเป็นเขาดึงดูดผู้คนให้หันมามอง Zappos เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจของเขาเติบโตอย่างก้าวกระโดด
.
เมื่อธุรกิจเติบโต โทนี่ เซ ก็เริ่มตระหนักถึง วัฒนธรรมองค์กรที่จับต้องได้เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่เขาทำคือ การส่งอีเมลล์ถึงพนักงานทุกคน แล้วถามคำถามแนบไปว่า “คุณคิดว่าพนักงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานที่ Zappos มีคุณลักษณะอย่างไร” แล้วก็กลั่นจนได้คุณลักษณะของคน Zappos ออกมา หรือที่เรียกกันว่า “Zapponian”

.
.
…..
โทนี่ เซ มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจนมาก นั้นคือ การตั้งใจจะส่งมอบประสบการณ์สุดWow ให้กับลูกค้าของเขา ซึ่งการที่ลูกค้าจะ Wow ได้นั้น พนักงานของเขาก็ต้องรู้สึก Wow ด้วยเช่นกัน ครั้งหน้าเราจะมาเจาะลึกกันว่า วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่เกิดขึ้นกับชาว Zapponian กัน
.
ท้ายสุดนี้… “ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”
.
.
…..
A Cup of Culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search