จัดการโปรแกรม Change Agent ที่เคยล้มเหลว ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

แทบทุกการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะมีการจัดตั้งคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาดำเนินการ โดยเฉพาะคนที่มีความโดดเด่นทั้งด้านผลงาน และด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กร เพื่อทำหน้าที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านั้น คนเหล่านี้คือ “Change Agent”


โปรแกรม Change Agent ในแต่ละครั้งที่จัดตั้งขึ้นมาส่วนใหญ่ล้มเหลว และไม่มีประสิทธิผลในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างที่องค์กรได้ตั้งใจไว้ บ้างก็หายไปจากภาระงานประจำของตนเองที่มากมาย บ้างก็มองว่าเป็นภาระเพราะบทบาทใหม่ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีความชัดเจนในเรื่องผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม จึงทำให้เมื่อพูดถึง โปรแกรม Change Agent ในองค์กร พนักงานอาจทัศนคติในเชิงลบ และมองว่าเป็นโครงการที่น่าเบื่อ


ดังนั้น องค์กรต้องคิดใหม่ทำใหม่ในการบริหารจัดการ โปรแกรม Change Agent เพื่อให้โปรแกรม Change Agent เป็นสิ่งที่พนักงานอยากมีส่วนร่วมและช่วยองค์กรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง โดยเริ่มจาก..


📌 1. สร้างคุณค่าของ Change Agent ที่มีต่อองค์กร


ไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนก็ตาม Change Agent ที่ทำหน้าที่เต็มเวลาถือว่าเป็นทรัพยากรที่ต้นทุนสูง เพราะไม่ได้เป็นเพียงการจัดคนเข้าร่วมโครงการเพื่อทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง แต่เป็นการใช้คนคนที่ดีที่สุดและมีศักยภาพที่สุดขององค์กร องค์กรต้องมั่นใจว่า โปรแกรมดังกล่าวสามารถทำให้ Change Agent ได้ส่งมอบคุณค่าที่มากกว่าต้นทุนที่สูญเสียไป ซึ่งควรจะส่งมอบได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และมีความยั่งยืนในระยะยาว และองค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เหล่าบรรดา Change Agent ด้วยวิธีการ การจัดการ และการสนับสนุน อย่างชาญฉลาดได้.


• องค์กรต้องแยกการให้ความสำคัญกับ การให้งบประมาณออกจากกัน


เพราะโครงการที่มีงบประมาณสูงรองรับ จะทำให้ผู้จัดการมองข้ามเรื่องจำนวนของ Change Agent ที่ถูกคัดเลือกเข้ามา จึงทำให้พบว่ามีพนักงานจำนวนหนึ่งไม่มีความเหมาะสมต่อความสามารถที่มี และออกจากโปรแกรมไปในช่วงเริ่มต้น ซึ่งในความจริงแล้วองค์กรควรให้ความสำคัญกับคุณภาพด้วย เพราะ คนที่เป็น Change Agent ในกลุ่มแรกจะกลายเป็นผู้นำ และผู้ถ่ายทอดทักษะให้แก่ กลุ่มถัดไปในอนาคต ซึ่งมีความสำคัญพอๆกับการสร้างเสริมความแข็งแกรงให้แก่ Change Agent ในช่วงที่เริ่มต้นโครงการ.


• องค์กรควรกำหนดบทบาทใหม่ที่ชัดเจนให้แก่ Change Agent


โดย Change Agent แต่ละคนสามารถหลายบทบาทที่แตกต่างกันได้ บางคนอาจมุ่งเน้นเรื่องของปัญหาด้านเทคนิค ในขณะที่ บางคนทำหน้าที่เป็นโค้ช หรือ Facilitator ดัวอย่างเช่น Agent จะรายงานผลของโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงไปที่ผู้จัดการทีม Chang Agent ซึ่งไม่ใช่หัวหน้างานของตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งผู้จัดการทีม Change Agent จะคอยช่วยเหลือพนักงานคนอื่นๆด้วย เช่น ตรวจสอบให้มีความมั่นใจว่าในแต่ละแผนก หรือแต่ละพื้นที่ มี Change Agent ประจำอยู่อย่างน้อย 2 คน เป็นต้น.


• องค์กรสามารถกำหนดเส้นทางอาชีพให้แก่ Change Agent ก่อนที่จะเริ่มโครงการ


เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในคุณค่าที่ Change Agent จะส่งมอบให้แก่องค์กรในระยะยาว โดยทำงานร่วมกับแผนก HR ในการสร้างกำหนดเส้นทางอาชีพที่เป็นไปได้ให้แก่ กลุ่มคนที่เป็น Change Agent หลังจากจบโครงการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้การเข้ามาเป็น Change Agent มีความดึงดูด และยังลดการสูญเสีย Change Agent ที่ได้รับการฝึกฝนและมีความสามารถสูงให้กับองค์กรอื่นด้วย.


• ควรใช้กระบวนการจัดการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรในโปรแกรม Change Agent


เช่น หากองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงการจัดการแบบลีน ก็ควรใช้กระบวนการที่เรียบง่ายและเป็นมาตรฐาน ลดการจัดการที่ไม่มีความจำเป็นและสร้างระบบภายในที่เอื้ออำนวยต่อ การนำวิธีการหรือกระบวนการใหม่ๆเข้ามาใช้ได้ในโปรแกรม Change Agent เช่นกัน เพื่อให้สามารถต่อยอดไปยังการทำงานในองค์กรได้..


📌 2. สร้างแรงจูงใจ และรักษาไว้ซึ่งบทบาทของ Change Agent


การรักษาคนที่เป็น Change Agent ที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะยาวเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เราไม่ควรเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคนกลุ่มนี้เพื่อให้ออกไปยังองค์กรอื่นเมื่อจบโครงการ ดังนั้น เพื่อให้โครงการนำร่องที่จัดขึ้นเพื่อกลุ่มคนเหล่านี้ประสบความสำเร็จ องค์กรต้องมีข้อเสนอที่มีคุณค่าที่น่าสนใจเพื่อจูงใจแต่ละคนเข้าร่วมโปรแกรม และเมื่อ Change Agent เข้ามาอยู่ในโปรแกรมแล้ว โปรแกรมต้องสนับสนุนการพัฒนาตามความสนใจส่วนตัวเพื่อส่งเสริมให้แต่ละคนได้ใช้ศักยภาพสูงสุดในงานของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดว่า Change Agent ที่เข้ามา ทำบทบาทหน้าที่ในโครงการได้อย่างเต็มที่ หากพบว่ามีใครที่ไม่เหมาะสมกับบทบาทนี้ในโครงการต้องดำเนินการให้ออกจากโปรแกรมในทันทีเช่นกัน.


• ให้ความสำคัญในการค้นหาคนที่จะมาเป็น Change Agent


การประชาสัมพันธ์ในองค์กรเพื่อสรรหาคนที่จะมาเป็น Change Agent เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งโปรแกรมที่มีความสำเร็จขึ้นอยู่กับการทุ่มเทในเรื่องการสื่อสารจากจากผู้นำอาวุโสในองค์กร ให้เป็นกระแสปากต่อปาก เพื่อแสดงให้เห็นว่า โปรแกรม Change Agent เป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ กระแสดังกล่าวจะสามารถดึงพนักงานภายในองค์กรที่มีศักยสูง รวมไปถึงบุคลากรภายนอกที่มีทักษะสูงที่องค์กรต้องการ


ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร ความต้องการ Change Agent ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โปรแกรมที่ดึงดูดจะต้องเริ่มตั้งแต่วันแรก เพื่อที่จะจัดการ pipeline ในเฟสอนาคตได้ ไม่ใช้การหาแบบทันทีทันได้ในวันที่ต้องการ การจัดการ pipeline เป็นกระบวนการเพื่อให้ทำให้มีพนักงานที่เป็น Change Agent ในจำนวนที่ต้องการตลอดการเปลี่ยนแปลงที่กิดขึ้น เพื่อให้บางคนที่เข้ามาในโครงการแล้วไม่ต้องการไปต่อได้ถูกแทนที่ได้ในบางครั้ง


องค์กรต้องทำใจและต้องเปิดใจในการสรรหาคนที่จะมาเป็น Change Agent ในขณะที่ อาจจะมองหาจากหัวหน้าทีมหรือ หัวหน้าสายงานที่มีทักษะที่ใช่อย่างที่ต้องการ และแต่อาจจะต้องมองหาพนักงานที่มีศักยภาพสูงจาก ระดับที่ต่ำกว่า หรือจากสายงานอื่นด้วย.


• สร้างเสริมความสามารถให้แก่ Change Agent


ไม่มีองค์กรไหนที่จะมี Change Agent ที่สมบูรณ์แบบจากสภาพปัจจุบันที่องค์กรเป็นอยู่ ดังนั้นองค์กรต้องทุ่มเทเพื่อให้การสนับสนุนทักษะที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งไม่ได้แค่หมายถึงการจัดฝึกอบรมที่เป็นทางการ เรื่องทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโดนตรงเท่านั้น แต่รวมถึง ระบบการขับเคลื่อนที่ไม่เป็นทางการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วย


ตัวอย่างเช่น เสริมทักษะพิเศษที่หลากหลายในกับ Change Agent เพื่อขับเคลื่อนโครงการบางอย่างได้ในทันที ในขณะที่ช่วยให้แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัวที่ครอบคลุมทักษะที่หลากหลายมากขึ้น
นอกจากจะฝึกทักษะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโดยตรงแล้ว ยังควรฝึกทักษะที่เรียกว่า Soft skills เพื่อให้Change Agent สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมีปฏิสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับคนทุกระดับในองค์กรได้.


• พัฒนาทักษะที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์กร


การพัฒนาทักษะ คือ เครื่องมือที่ทรงคุณค่าต่อการรักษา Change Agent เพราะในที่สุด Change Agent จะกลายเป็นที่ต้องการทั้งจากสายงานอื่นภายในองค์กรและองค์กรภายนอก องค์กรต้องพัฒนาทั้งสองอย่างคือ ทักษะที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงกับ ทักษะที่ทำให้ตัว Change Agent เก่งในงานตัวเอง เหมือนมี “บันไดการเรียนรู้”ที่ชัดเจน ที่ระบุโปรแกรมการเรียนรู้ไว้อย่างน่าสนใจ ที่จะจูงใจให้ Change Agent อยากอยู่ในโปรแกรม และบันได้การเรียนรู้ดังกล่าว ควรเชื่อมโยงไปสู่บทบาทที่สูงขึ้นในองค์กร หรือโครงสร้างในการพัฒนาบางอย่างขององค์กร เพราะในทางปฏิบัติพบว่า การให้ความมั่นใจในเรื่องของความก้าวหน้าในอาชีพ จะมีประสิทธิผลในการจูงใจมากกว่าการให้รางวัลที่เป็นตัวเงิน และ หากมีการดึงผู้บริหารเข้ามาร่วมในโปรแกรมการพัฒนาหรือช่วยในการโค้ช จะยิ่งป็นแรงกระตุ้นให้โปรแกรมการพัฒนานี้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น..


ท้ายที่สุด องค์กรต้องมั่นใจว่าจะไม่สูญเสียไปกับการสนับสนุนChange Agent ที่ไม่ใช่ตัวจริง องค์กรต้องมีการประเมินผลงานของ Change Agent เป็นระยะ และเมื่อพบว่ามีบางคนที่ไม่สามารถทำผลงานในบทบาท Change Agent ได้ ควรรีบดำเนินการให้ออกจากโปรแกรม เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดความสูญเสียหรือ ชื่อเสียงในเชิงลบที่มีต่อโปรแกรม..


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
.


.
.
.
อ้างอิงข้อมูลจาก:
https://www.mckinsey.com/business-functions/operations/our-insights/the-change-agent-challenge

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search