วัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้ “หมดไฟ” Burnout Culture


คำว่า “Burnout” หรือ “หมดไฟ” มักถูกมองว่าเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล แต่การศึกษาล่าสุดพบว่าปัจจัยตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟมาจาก “เงื่อนไขเชิงลบจากระบบการทำงาน” ตัวอย่างเช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่ไม่เท่าเทียม การขาดความยืดหยุ่น การรู้สึกไม่มีตัวตนในที่ทำงาน การขาดการสนับสนุนจากหัวหน้า รวมถึงคุณค่าส่วนตนไม่ตรงกับองค์กร…


คำถามคือ “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าองค์กรนั้นๆ หรือองค์กรใหม่ที่เรากำลังจะไปอยู่ มีวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้หมดไฟ (Burnout Culture) อยู่หรือเปล่า?” ซึ่งการศึกษาวิจัยของคุณ Michael P. Leiter และ Christina Maslach. ได้ให้ข้อสังเกตในการค้นหาสัญญาณ Burnout Culture ผ่านตัวอย่างคำถามทั้ง 6 ชุดนี้ (คำถามมีการเชื่อมโยงกับสาเหตุของภาวะหมดไฟ) และวิธีประเมินคำตอบ ดังนี้


1) Lack of Autonomy (ขาดความเป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเอง)


ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟคือ คุณรู้สึกว่าตนเองไม่มีทางเลือกในรูปแบบการทำงานและเวลาทำงานเท่าไหร่ รู้สึกไม่มีความยืดหยุ่น
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรต่อความเป็นอิสระ :
– ฉันมีความยืดหยุ่นในการทำงานระหว่างวันหรือไม่?
– คุณประเมินชั่วโมงทำงานของฉันอย่างไร?
– คุณมีวิธีกำหนดภาระงานและกำหนดเวลางานอย่างไร?


วิธีประเมินคำตอบ: สังเกตคีย์เวิร์ดสำคัญเช่น เปิดกว้าง ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ และไม่ยิบย่อย (Micromanage) มีการตั้งความคาดหวังที่สอดคล้องกันทั่วทั้งทีมและพนักงาน


2) Lack of Fairness (ขาดความยุติธรรม)


เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการทำงานหนักของคุณไม่มีค่าหรือคุณไม่รู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงาน คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหมดไฟได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรเกี่ยวกับความยุติธรรม :
– คุณใช้การประเมินหรือใช้ระบบเมตริกไหน?
– คุณมีระบบการตัดสินใจเรื่องการเลื่อนตำแหน่งอย่างไร?
– คุณมีวิธีรายงานผลเป้าหมายที่มีความหลากหลายอย่างไร?


วิธีประเมินคำตอบ: สังเกตจากอาการสะดวกใจที่จะตอบคำถามนี้หรืออาการบ่ายเบี่ยง รวมถึงการเลี่ยงที่จะพูดถึงวิธีการเก็บข้อมูล วิธีการประเมินเป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน


3) Misaligned Values (ค่านิยมที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน)


เราชอบที่จะรู้สึกว่า “งานของเรามีความหมาย” และปัญหาจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อค่านิยมที่เรารับรู้ไม่ไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่เราเข้าใจ
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรเกี่ยวกับค่านิยม :
– คุณช่วยอธิบายค่านิยมขององค์กรให้ฟังหน่อย?
– คุณช่วยอธิบายค่านิยมขององค์กรให้ฟังหน่อย?
– การทำงานของทีมส่งผลต่อเป้าหมายของบริษัทอย่างไร?
– ฉันจะถูกวัด OKRs ใดในการทำงาน?


วิธีประเมินคำตอบ: ผู้สัมภาษณ์สามารถสื่อสารค่านิยมของบริษัทได้อย่างชัดเจนหรือไม่?


4) Lack of Reward (ขาดการส่งเสริมรางวัล)


มนุษย์ทุกคนต้องการรู้สึกว่า “ความพยายามของเราได้การตอบรับหรือผลตอบแทนบางอย่าง” ไม่ว่าจะผ่านการจ่ายเงิน การเลื่อนตำแหน่ง การชมเชย หรือสิ่งจูงใจอื่นๆ
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรเกี่ยวกับการส่งเสริมรางวัล :
– หลักเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นและวิธีการส่งเสริมรางวัลเป็นอย่างไร?
– คุณมีงบประมาณในการพัฒนาหรือเทรนนิ่งให้กับบุคลากรหรือไม่?
– มีระบบเมนเทอร์หรือโค้ชชิ่งในช่วงแรกๆ ของการทำงานหรือไม่?


วิธีประเมินคำตอบ: การพูดถึงขั้นตอน เกณฑ์มาตรฐาน และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่ง การให้รางวัล และการฝึกอบรม คือคีย์เวิร์ดหลักที่คุณต้องมองหา


5) Unsustainable Workload (ปริมาณงานที่ไม่แน่นอน)


จากการศึกษาของ Gallup survey พบว่าพนักงานมีโอกาสเกิดสภาวะหมดไฟน้อยลงถึง 70% เมือพวกเขารู้สึกว่ามีเวลาเพียงพอในการทำงาน
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรเกี่ยวกับคุณค่าของเวลา :
– ต้องทำงานในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มากน้อยแค่ไหน?
– คุณคาดหวังให้ตอบกลับอีเมล์หรือแชทในเวลากี่นาที/หรือชั่วโมง?
– คุณจัดลำดับความสำคัญของงานอย่างไร?


วิธีประเมินคำตอบ: สิ่งที่คุณต้องมองหาจากการพูดคุยคือ “แนวทางในการป้องกันปัญหาพนักงานทำงานหนัก” จนเกินไป ไม่ใช่วัฒนธรรมองค์กรที่เร่งรีบซึ่งทุกคนต้องอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาตลอด 24 ชั่วโมง


6) Lack of Community Support (ขาดคอมมูนิตี้ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน)


การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยที่จะมีส่วนร่วม ไม่กังวลที่จะผิดพลาด และไม่ถูกตัดสินว่าไร้ความสามารถหากกระทำผิด
ตัวอย่างคำถามเพื่อประเมินทัศนคติองค์กรเกี่ยวกับการช่วยเหลือสนับสนุน :
– คุณมีวิธีให้ฟีดแบคกับพนักงานอย่างไร?
– คุณมีวิธีจัดการกับความขัดแย้งในทีมอย่างไร?
– คุณมีวิธีประเมินขวัญและกำลังใจของทีมอย่างไร?


วิธีประเมินคำตอบ: ให้ประเมินจากความรู้สึกที่คุณได้รับจากการพูดคุย ตัวอย่างเช่น คุณรู้สึกได้รับการมองเห็น ได้ยิน และเคารพหรือไม่? คนที่คุณพบพยายามทำให้คุณสบายใจหรือไม่? พวกเขาถามเกี่ยวกับความสนใจของคุณนอกเวลางานหรือไม่? พวกเขาแสดงทักษะการฟังอย่างกระตือรือร้นหรือไม่? หรือ คุณถูกครอบงำการสนทนาหรือขัดจังหวะ?


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://hbr.org/2023/03/how-to-tell-if-a-potential-employer-has-a-burnout-culture?utm_medium=email&utm_source=newsletter_weekly&utm_campaign=insider_activesubs&utm_content=signinnudge&deliveryName=DM265197
https://hbr.org/2021/02/beyond-burned-out
arm
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search