3 สิ่งสำคัญของการเป็นองค์กร Data-driven ในปี 2023


การมาถึงของ  ChatGPT เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของทุก ๆ วงการเลยก็ว่าได้ เพราะด้วยความทรงพลังของเจ้า AI ตัวนี้ที่สามารถทำทุกอย่างให้เราได้ตั้งแต่งานเขียน งานวิจัย การเขียนโค้ด หรือเรียกได้ว่าทุกอย่างที่สามารถเป็นตัวอักษะได้ ChatGPT ทำแทนมนุษย์ได้แทบทั้งหมด ประเด็นนี้ไม่เป็นที่น่าสงสัยอีกต่อไป และผลกระทบอีกอย่างของ ChatGPT คือการที่หลายองค์กรกลับมาตื่นตัวกับพลังของ Data และ AI อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เคยตื่นตัวกันมาแล้วเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว


และนอกเหนือจาก ChatGPT แล้วหลาย ๆ องค์กรเองก็รู้สึกว่าตัวเองกำลังก้าวหน้าในด้านของ Data มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในงานสำรวจของ NewVantage Partner survey ครั้งที่ 11 พบว่า เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้วผู้บริหารส่วนใหญ่มองอนาคตเกี่ยวกับ Data ขององค์กรไว้ดีกว่าเดิมมาก และเกือบทุกองค์กรที่สำรวจมองว่า 2023 จะเป็นปีที่การลงทุนด้าน data ของพวกเขาจะเริ่มทำกำไร


ด้วยตัวแปรทั้งหมดนี้ยิ่งทำให้มีองค์กรจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เริ่มลงทุนเกี่ยวกับ data โดยในปี 2023 จะมีองค์กรกว่า 80% ที่จะลงทุนเพิ่มเติมในงาน data แต่ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่การลงทุนเหล่านี้มีโอกาสจะสูญเปล่าสูงมาก นั่นเป็นเพราะแม้เทคโนโลยีเกี่ยวกับ AI และ Data จะได้รับการพัฒนมาไกลมากกว่า 10 ปีที่แล้วหลายเท่า แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง และอาจจะถดถอยด้วยซ้ำก็คือด้านเกี่ยวกับตัวแปรมนุษย์


::::::::::::::::::::::::

เหล่าบรรดาองค์กรใหญ่ ๆ ที่ลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Data มานานมีความเห็นค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกันว่าสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จเกี่ยวกับการลงทุนกับข้อมูลคือ วัฒนธรรมองค์กร คน และกระบวนการทำงาน ไม่ใช่เทคโนโลยี และที่น่ากลัวคือแม้แทบจะทุกองค์กรพยายามลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลในองค์กร แต่มีองค์กรไม่ถึง 1 ใน 4 ที่สามารถเรียกได้ว่าตัวเองนั้นมี Data Culture ที่ดี


นั่นเป็นเพราะเมื่อเราเข้ามาดูสิ่งที่แต่ละบริษัทให้ความสำคัญในการลงทุนจะพบว่างบประมาณแทบจะทั้งหมดจะอยู่ที่ในด้านของการพัฒนาสินค้า และเทคโนโลยี แต่มีส่วนน้อยมาก เพียงแต่ 2% เท่านั้นที่ระบุถึงการลงทุนเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับ data ให้พนักงาน นั่นทำให้องค์กรขนาดใหญ่ที่ลงเงินไปกับ data ไปมหาศาลไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนเหล่านี้ได้


ดังนั้นต่อไปนี้คือ 3 สิ่งสำคัญที่ต้ององค์กรทำเพื่อจะ data-driven ให้ได้จริง:


1\.  ผู้บริหารต้องทำมากกว่าแค่พูด


ให้ความสนใจกับระบบ นโยบาย และการกระทำ มากกว่าสิ่งที่พูด หลายครั้งที่ผู้บริหารชอบใช้วิธีใส่คำว่า data ลงไปในอีเมล หรือรายงานประจำปี แต่นอกจากนั้นไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ ตรวจสอบให้ดีว่าองค์กรของเรากำลังเป็นอย่างนี้อยู่หรือไม่ และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตรงจุด


2\. เตรียมตัวกับภารกิจระยะยาว


การสร้าง data culture เป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด นั่นทำให้การพยายามมองหาทางลัดเป็น mindset ที่ขัดขวางการสร้าง data culture เช่น เมื่อองค์กรรีบร้อนต้องสร้างผลลัพท์ด่วน ๆ เพื่อให้ยังแข่งขันในตลาดได้ จนต้องหาทางลัดด้วยการเริ่มต้นแบบผิด ๆ เช่น ลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วก็ไม่ได้ใช้ หรือ kick-off โปรเจ็คที่ไม่ได้มีการทำอะไรต่อ


ดังนั้นถ้าจริงจังกับการสร้าง [[Data-driven]] culture องค์กรต้องยอมรับให้ได้ว่ามันจะไม่ง่าย และจะเป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด และเริ่มต้นให้ถูกจุดอย่าเพิ่งเล่นใหญ่ ลงทุนเมื่อสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้โดยตรง และค่อย ๆ ขยายมันออกไป เก็บ quick win เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ


3\. อยู่กับความเป็นจริง


ตำแหน่งงาน CDO เป็นตำแหน่งผู้บริหารที่มี turnover สูงที่สุด โดยมีอายุงานเฉลี่ยน้อยกว่า 3 ปี นั่นเป็นเพราะหลายองค์กรขาดความรู้เกี่ยวกับ data และมักจะมีความคาดหวังที่ไม่ตรงกับความเป็นไปได้จริงที่มอบหมายให้กับ CDO เช่น ทำให้องค์กร [[Data-driven]] ให้ได้ภายใน 90 วัน


นอกจากนั้นแล้วหลายองค์กรยังประเมินสถานการณ์ตัวดีกว่าความเป็นจริง โดยหลายองค์กรมองว่าตัวเองมีแนวทางในการพัฒนา data ในองค์กรอย่างดีอยู่แล้ว (ซึ่งมักจะไม่จริง) และมักจะปิดกั้นที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะการศึกษา best practice จากองค์กรที่ทำได้สำเร็จในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือมีปัญหาคล้าย ๆ กัน


:::::::::::::::::::::::::

ดังนั้นการพัฒนา [[data culture]] ในองค์กรให้ได้นั้นต้องเริ่มจากการยอมรับความเป็นจริงเพื่อที่จะตั้งเป้าหมายได้ตรงจุด และพร้อมที่จะเปิดรับการเรียนรู้จากแหล่งภายนอก


การสร้างองค์กรที่ใช้ data ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นเส้นทางที่ยาวนานที่องค์กรจะต้องยอมรับ การหันเหความสนใจโดยการลงทุนกับเทคโนโลยีแพง ๆ มาใช้มักเป็นสิ่งที่อาจจะดูดีในช่วงแรก แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะมาให้องค์กรกลายเป็น [[Data-driven]] ขึ้นมาได้ ถ้าไม่ลงทุนกับวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้สิ่งที่ต้องรู้คือนี่คือการเดินทางไกล ควรหยุดมองหาทางลัด เพราะทางที่เร็วที่สุดคือการตรงไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ และมั่นคง


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture


References:

https://sloanreview.mit.edu/article/action-and-inaction-on-data-analytics-and-ai/

https://sloanreview.mit.edu/article/why-culture-is-the-greatest-barrier-to-data-success/

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search