5 ประเภทการฟังในที่ทำงาน เพื่อ “เข้าใจและใกล้ชิด” กันมากขึ้น


แม้ว่าการเรียนรู้ที่จะสื่อสารในสิ่งที่คุณต้องการพูดจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเรียนรู้วิธีฟังในสถานการณ์ต่างๆ ก็ดูจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการฟังจะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น และยังช่วยให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วย ดังนั้น การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective listening) เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งในที่ทำงาน โรงเรียน บ้าน และสังคม


บทความจาก Customers First Academy ได้สรุป 5 ประเภทของการฟังในที่ทำงาน พร้อมทั้งสถานการณ์และคำแนะนำที่สามารถหยิบไปใช้ได้ ดังนี้


#1. Active listening


การฟังแบบ Active listening หรือการฟังอย่างตั้งใจ คือ การฟังที่ผู้ฟังตั้งใจจดจ่ออยู่กับคำพูดของผู้พูด เพื่อทำความเข้าใจความหมายและบริบทของพวกเขา ซึ่งการฟังประเภทนี้จะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับภาษากาย สีหน้า น้ำเสียงของผู้พูด และถามคำถามที่มีความหมาย ซึ่งการฟังแบบ Active listening มีประโยชน์ในด้านการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว และในงานที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นอย่างมาก


เทคนิคการฟังแบบ Active listening:

  • สบตาและใส่ใจกับการแสดงสีหน้าของผู้พูด
  • ตั้งใจฟังคำที่ผู้พูดใช้และพยายามอย่าขัดจังหวะ
  • ทวนคำ ทวนความจากสิ่งที่ผู้พูดพูดเพื่อแสดงว่าคุณเข้าใจ
  • ถามคำถามเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น


#2. Critical listening


การฟังแบบ Critical listening หรือการฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือ การฟังเพื่อวิเคราะห์เหตุผลและแยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น การฟังประเภทนี้จะเป็นประโยชน์มากเมื่อเราต้องการข้อเท็จจริงเพื่อมาประกอบการตัดสินใจบางอย่าง


เทคนิคการฟังแบบ Critical listening:

  • วิเคราะห์สิ่งที่ได้ยินว่าเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ อย่างไร
  • ถามคำถามเพื่อช่วยเคลียร์ความคิดและความรู้สึกของผู้พูด
  • โฟกัสที่ใจความสำคัญ (main points) มากกว่าข้อความที่คุณจะตอบโต้
  • ใช้การฟังแบบนี้ในสถานการณ์ที่เราต้องการ problem-solving


#3. Informational listening


การฟังแบบ Informational listening หรือการฟังเพื่อหาข้อมูล คือ การฟังที่โฟกัสไปที่เนื้อหาใจความ (content) เพื่อรวบรวมข้อมูลในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งให้มากที่สุด


เทคนิคการฟังแบบ Informational listening:

  • เตรียมคำถามที่เกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ
  • ถอดประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถูกต้อง
  • ควรมีการจดโน้ตหรือการบันทึกเสียง


#4. Empathetic listening


การฟังแบบ Empathetic listening หรือการฟังด้วยความเข้าใจ คือ การฟังที่เปิดใจรับฟัง ฟังทุกอย่าง ฟังสิ่งที่เป็นคำพูด และสิ่งที่ไม่ได้พูดออกมา โดยไม่ตัดสินว่าผิดหรือถูก หากมีการถามคำถามก็จะเน้นไปที่การใช้คำถามที่เกี่ยวกับความคิดและอารมณ์ของอีกฝ่าย เพื่อทำความเข้าใจว่าตอนนี้พวกเขาคิดอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไร


เทคนิคการฟังแบบ Empathetic listening:

  • ตั้งใจฟังโดยไม่ขัดจังหวะ และมีสมาธิในการทำความเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่าย
  • ทบทวนสิ่งที่คุณได้ยินด้วยคำพูดของคุณเองเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำหรือบอกอีกฝ่ายว่าพวกเขาควรทำอย่างไร
  • แสดงให้พวกเขารู้ว่าคุณเข้าใจความรู้สึก


#5. Appreciative Listening


การฟังแบบ Appreciative Listening หรือการฟังเพื่อรับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งๆ นั้น คือ การฟังที่ผู้ฟังจะสนใจความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ของผู้พูด และใช้คำพูดสนับสนุนในทางบวก รวมทั้งรู้สึกซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น


เทคนิคการฟังแบบ Appreciative Listening:

  • มองหาข้อดีในสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด แม้ว่าจะหายากก็ตาม
  • ถามคำถามผู้พูดที่แสดงว่าคุณสนใจในความคิดเห็นและความรู้สึกของพวกเขา
  • สร้างความมั่นใจให้ผู้พูดเมื่อพวกเขาแสดงความคิดหรืออารมณ์เชิงลบ ด้วยการทำความเข้าใจโดยไม่ตัดสิน
  • ให้ผู้พูดรู้ว่าคุณชื่นชมความคิดและความรู้สึกของพวกเขาโดยใช้วลี เช่น “ฉันเข้าใจว่าทำไมสิ่งนั้นถึงสำคัญสำหรับคุณ”


บทสรุป – ทั้ง 5 ประเภทการฟังนี้มีประโยชน์มากในการทำงานและในองค์กร เพราะเมื่อเราเข้าใจเรื่องการรับฟัง ก็จะสามารถนำไปใช้แก้ไขข้อขัดแย้ง สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้ดีขึ้น บริหารจัดการทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://customersfirstacademy.com/types-of-listening/
https://www.betterup.com/blog/types-of-listening
https://courses.lumenlearning.com/olemiss-buspublicspeaking/chapter/listening-types/
arm

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search