อย่าให้ค่านิยมขึ้นหิ้ง! 3 วิธีสื่อสารค่านิยมองค์กรให้เป็นวัฒนธรรม

“ค่านิยม” หรือ “Core Values” เป็นจุดตั้งต้นของการสร้างวัฒนธรรมของทุกองค์กรอยู่ก็จริง แต่บ่อยครั้งค่านิยมดังกล่าว ก็ถูกวางทิ้งไว้บนหิ้ง หรือถูกหยิบมาเป็นแค่พร็อพแปะอยู่บนผนังองค์กร บนหน้าเว็บ บนรีพอท และไม่ได้ถูกนำมาทำให้เป็นวัฒนธรรมอย่างแท้จริง. Business School ชั้นนำของโลก อย่าง MIT Sloan ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย Culture 500 ว่าแม้ บริษัทกว่า 80% ได้ระบุและประกาศ Core Value ไว้แล้ว แต่ ในความเป็นจริงนั้น #ค่านิยมที่กำหนดกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ “ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กันเลย” ซึ่งหมายความว่า Core Value และ Culture ใน Day-to-Day ขององค์กรเหล่านี้ มีช่องว่างระหว่างกันอย่างเห็นได้ชัด


แล้วเราจะสามารถขับเคลื่อนค่านิยมเหล่านี้ ให้กลายเป็นวัฒนธรรมอย่างแท้จริงได้อย่างไร ? ก้าวแรกที่สำคัญก็คือ “#การสื่อสารที่ดี” บ่อยครั้งวิธีที่องค์กรเลือกที่จะสื่อสารค่านิยม มักหยุดอยู่แค่การประกาศว่าเรามีค่านิยมอะไรบ้าง ซึ่งจะเป็นคำศัพท์หรือวลีที่สวยงามประมาณ 3-7 ข้อ เช่น Innovation, Agility, Collaboration หรือ Integrity แต่ในองค์กรที่มีผู้คนหลากหลายความคิดและมุมมองนั้น คำศัพท์และนิยามสั้นๆ อาจถูกตีความไปได้หลากหลายรูปแบบ และการตีความที่หลากหลายนี้ จะทำให้วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น ไม่เป็นไปตามค่านิยมที่ตั้งไว้


ดังนั้น A Cup of Culture ขอเสนอ 3 องค์ประกอบในการสื่อสารค่านิยม ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในดึงค่านิยมลงจากหิ้งมาอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งก็คือ:

==================


🔰 1. สื่อสารค่านิยมพร้อมชุดพฤติกรรมที่สามารถลงมือทำได้จริง


การสื่อสารค่านิยมไปพร้อมกับชุดพฤติกรรม หรือ Key Behaviors ที่พึงประสงค์ จะทำให้บุคลากรเห็นภาพที่ตรงกันและชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ Key Behaviors เหล่านี้กลายเป็น Guideline ให้บุคลากรสามารถ “ลงมือ” ดำเนินงานและตัดสินใจต่างๆ ในแต่ละวัน


เช่น บริษัท Biogen หนึ่งในองค์กรเทคโนโลยีชีวภาพระดับต้นๆ ในด้าน Innovation ของ Culture 500 ระบุพฤติกรรมไว้อย่างชัดเจนว่า องค์กรจะสนับสนุนให้บุคลากร “ทดสอบสมมติฐานเพื่อสรรหาไอเดียที่ดีที่สุด” และ “เปิดเผยความไม่รู้ ถามเพื่อให้เข้าใจ” เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรสามารถลงมือทำสิ่งใหม่ๆ อย่างเปิดเผย ด้วย Innovative Mindset ตามที่องค์กรตั้งเป้าไว้ .


🔰 2. สื่อสารความสำคัญของค่านิยม


การสื่อสารความสำคัญของค่านิยม จะช่วยให้บุคลากรเข้าใจถึงความจำเป็นของค่านิยมเหล่านั้ เชื่อมโยงค่านิยมแต่ละข้อไปสู่เนื้องานของตนเอง และสร้าง Buy-In ระดับบุคคลได้ในที่สุด เราสามารถสื่อสารความสำคัญนี้ผ่านการเชื่อมค่านิยมกับเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น ในการขยายความค่านิยม Integrity ธนาคาร Desutsche Bank ได้ระบุว่า “บุคลากรของเรามีบทบาทสำคัญในการใช้ค่านิยมนี้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างเรากับ Stakeholders ที่ลดหายไปในช่วงวิกฤติทางการเงิน” ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญขององค์กรที่พนักงานทุกคนมีส่วนในการขับเคลื่อน


หรือในองค์กรที่มีวัฒนธรรมอันโด่งดังด้วยวิถี No Rules Rules อย่าง Netflix นั้น ค่านิยมที่จะ “หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์” มาพร้อมคำอธิบายว่า ในภาวะที่สถานการณ์ทางการตลาดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ค่านิยมนี้เองจะเป็นตัวช่วยให้องค์กร Agile ซึ่งพนักงานของ Netflix จะสามารถเชื่อมค่านิยมนี้กับเนื้องานของตนได้ว่า No Rules Rule นี้ กำลังเปิดโอกาสให้เขาสามารถลงมือ ปรับเปลี่ยน และพลิกแพลงได้อย่างเต็มที่ .


🔰 3. สื่อไปถึงเอกลักษณ์ขององค์กร


ค่านิยมขององค์กร ควรสื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กรนั้นๆ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรนำค่านิยมไปปรับใช้ในการทำงาน Day-to-Day และสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรที่จะส่งผลต่อธุรกิจในระยะยาว เอกลักษณ์นี้ สามารถปรากฎอยู่ใน Key Behaviors ผ่านการเน้นพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงสำหรับองค์กรของเรา


เช่น Netflix ที่เติมเอกลักษณ์ขององค์กรไปในค่านิยมยอดฮิตเช่น Integrity, Respect, และ Collaboration ผ่านการระบุพฤติกรรมในการ “แชร์ข้อมูลอย่างเปิดเผย กว้างขวาง และด้วยความตั้งใจ” หรือ “ซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาเป็นพิเศษ”


อีกหนึ่งวิธีในการสื่อสารเอกลักษณ์ขององค์กร คือการใช้ภาษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับองค์กรนั้นๆ ในการอธิบายพฤติกรรม เช่น McKinsey ที่ขยายความค่านิยมในการพัฒนา Performance ของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านประโยค “Follow the Top Management Approach” ซึ่งภายใน McKinsey จะเข้าใจกันเองว่าประโยคนี้กำลังบอกให้ Consultant ยึดมุมมองแบบ Top Management ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อภาพรวมมากกว่าเพียงแผนกเดียว

==================


การสื่อสารค่านิยมที่มีพฤติกรรมประกอบชัดเจน ลงมือทำได้จริง มีความสำคัญที่เชื่อมโยงกับเป้าหมาย และเป็นเอกลักษณ์ จะเป็นก้าวแรกที่ช่วยสนับสนุนให้ทุกคนในองค์กรร่วมกันสร้างวัฒนธรรมไปในทิศทางเดียวกันได้ ถึงกระนั้น การสื่อสารนี้ ก็เป็นเพียงก้าวแรก ๆ ของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน ซึ่งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้การสื่อสารล้อมรอบอยู่ด้วย หากชอบบทความนี้และสนใจอยากสร้างวัฒนธรรมในองค์กรสามารถคลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้หรือหากสนใจบทความอื่น ๆ A Cup of Culture ขอแนะนำบทความที่จะต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับค่านิยมในองค์กรได้ตามลิงก์ด้านล่าง
ค่านิยมองค์กรคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ และจะสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
3 สาเหตุที่วัฒนธรรมองค์กรไปไม่ถึงฝั่ง


องค์ความรู้อื่น ๆ ที่จะช่วยให้ค่านิยมที่ได้คัดเลือกมาด้วยความพิถีพิถันและตั้งใจนี้ “ลงจากหิ้ง” และแปลงมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรจริงๆ



A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

สื่อสารค่านิยมองค์กร

แหล่งที่มาของข้อมูล
https://sloanreview.mit.edu/article/when-it-comes-to-culture-does-your-company-walk-the-talk/?og=culture500 https://jobs.netflix.com/culture

.
.
.

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search