“คงจะไม่เกิดไอเดียดีๆ ขึ้นแน่นอน หากคนผู้นั้นกำลังวิ่งหนีเสือแบบไม่คิดชีวิต”

นี่คือคำพูดของหนึ่งในกรรมการบริษัท Tesla เช่นเดียวกันหากคนในทีมกำลังอยู่ภาวะตื่นตระหนกว่าจะถูกลงโทษหรือกำลังจะถูกทำเสียหน้า ก็คงไม่มีใครกล้าแสดงความเห็น ทดลองอะไรใหม่ๆ หรือแม้แต่ถามคำถามอะไรทั้งสิ้น


Dr. Amy Edmondson จาก Harvard กล่าวในหนังสือ Fearless Organization ของเธอชัดเจนว่า เพียงแต่เราปรับเปลี่ยนรูปแบบและคุณภาพของการพูดคุยในทีม คุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้ก็จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง Psychology Safety จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคเรื่องนี้ได้ ( https://www.brightsidepeople.com/what-is-psychological-safety/) แนวคิดเรื่อง Psychology Safety ตามมุมมองของ Fearless Organization ที่ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยของทีมที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 25 ปีได้แบ่งเป็นสี่มิติได้แก่


ความเต็มใจช่วยเหลือ

หากขาดเรื่องนี้ ความเป็นทีมจะขาดไปทันทีเพราะจะต่างคนต่างทำและไม่ได้ประโยชน์จากการรวมกันเป็นทีม นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าท้อแท้ ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดจากตัวบุคคลเองหรืองานที่หนักเกินไปจนไม่สามารถหยิบยื่นความช่วยเหลือผู้อื่นได้


การยอมรับกันและกัน

ทีมที่ให้ค่าการยอมรับกัน (inclusion) จะสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย (diversity) ทางความคิดความสามารถได้อย่างเต็มที่ ไม่เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นมลภาวะต่างๆ


ทัศนคติที่มีต่อความเสี่ยงและความล้มเหลว

การมีมุมมองอย่างสร้างสรรค์ต่อความเสี่ยงและความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทีมที่มีผลงานที่โดดเด่น ทีมเหล่านี้จะสร้างสมดุลย์ได้ดีในการใช้ประโยชน์จากความเสี่ยง ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้และไม่มีการปิดบัง ไม่นำไปสู่การลงโทษและให้ร้ายกัน


การพูดคุยแบบเปิดอก

การสื่อสารคือลมหายใจของทีม การหายใจแบบติดๆขัดๆจะนำคุณภาพชีวิตที่ดีมาให้ได้อย่างไร การที่คนในทีมกล้าพอที่จะนำเรื่องยากๆหรือปัญหาออกมาพูดได้อย่างอิสระด้วยวิธีการที่ดีเป็นหัวใจของ Psychological Safety ไม่เลือกที่จะเงียบในเวลาที่ควรจะพูดเพราะเกิดความกลัวอะไรบางอย่าง


และจากสี่มิตินี้ Dr.Amy Edmondson ได้ออกแบบข้อคำถาม 7 ข้อเป็นแบบสอบถามให้องค์กรนำไปใช้ในการประเมินสุขภาพ Psychological Safety ในทีมหรือองค์กรของท่าน ดังนี้

  1. หากคุณทำอะไรผิดพลาด จะไม่มีใครในทีมนี้จับผิดคุณ
  2. คุณสามารถยกปัญหาทุกปัญหาในงานมาพูดคุยได้โดยไม่ต้องลังเล
  3. ความเห็นที่แตกต่างของคุณถูกรับฟังแม้จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม
  4. คุณรู้สึกปลอดภัยที่จะทำอะไรเสี่ยงๆในทีมนี้
  5. เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยที่คุณจะขอความช่วยเหลือจากคนในทีมนี้
  6. ไม่มีใครเลยในทีมจงใจบั่นทอนความพยายามของคุณ
  7. ทักษะและจุดแข็งของคุณถูกนำมาใช้ในทีมได้อย่างเต็มที่


หากคะแนนอยู่ในระดับ 4-5 เป็นส่วนใหญ่ก็แสดงว่าทีมคุณพร้อมแล้วที่จะลุยไปข้างหน้าที่จะทำอะไรใหม่และได้ปลดปล่อยศักยภาพของกันและกันอย่างเต็มที่

A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>

แหล่งที่มาของข้อมูล https://fearlessorganization.com/

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search