อย่าปล่อยให้ชีวิตพังเพราะ Busy Culture กับ 3 แนวทางแก้ไข

เคยเจอไหมที่คนรอบตัวเราดูงานยุ่งไปซะหมด นอกเหนือจากเราแล้วทุกคนดูมีอะไรต้องทำเยอะเหลือเกิน หรือเราว่างเกินไป ต้องหาอะไรทำเพิ่มไหม ? เราเชื่อว่าสถานการณ์เหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Busy Culture และตรงกันข้ามกับชื่อ มันอาจจะเป็นสิ่งที่กำลังกัดกินประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานเรา วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และหาทางแก้ไขมันกัน⁣

Busy Culture นี้เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน แต่ไม่ว่าที่ไหน มันมักจะส่งผลตรงข้ามกับสิ่งที่เราตั้งใจเสมอ โดยเรามักจะคิดว่ายิ่งเรายุ่งเท่าไหร่ เรายิ่งทำอะไรได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้ามเลย เพราะมันสามารถทำร้ายได้ทั้งประสิทธิภาพการทำงานของเรา จนไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบตัว⁣

และเช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมองค์กรทุกประเภท Busy Culture มันมักจะเริ่มต้นมาจากข้างบน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จำเป็นจะต้องเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรในด้านของความสำเร็จ และความมีประสิทธิภาพ แต่ในอีกฝากหนึ่งวัฒนธรรมแห่งความงานยุ่งนี้ก็มีรากมาจากพนักงานใหม่เช่นกัน เมื่อรุ่นน้องต้องพยายามที่จะโดดเด่นเพื่อให้ได้เติบโตในองค์กร ⁣และอีกองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มันโตได้ดีในองค์กรคือในเรื่องของขอบเขคการทำงาน หรือ Work-life boundaries ที่เทคโนโลยียุคปัจจุบันทำให้มันง่ายขึ้นที่จะติดต่อหากันได้ทุกที่ ตลอดเวลา⁣

และถ้า Busy Culture นี้กำลังเกิดขึ้นกับท่าน หรือองค์กรของเรา วันนี้เรามี 3 กลยุทธ์ในการจัดการกับวัฒนธรรมองค์กรแห่งความ ‘งานยุ่ง’ มาฝาก⁣

Incentivize boundary-setting. ให้รางวัลกับการเซ็ตขอบเขต

สิ่งที่จะช่วยต้าน Busy Culture ได้ความเอาจริงขององค์กรในการจัดการมัน เริ่มต้นจากการให้รางวัลพนักงานที่รักษาขอบเขตการทำงานได้ดี หรือพูดง่าย ๆ คือการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้พนักงานว่างขึ้น อาจจะเป็นหลักการที่ฟังดูแปลก แต่มีงานวิจัยพบว่าพนักงานของสหรัฐอเมริกากว่า 80% ส่งอีเมลงานในวันหยุด เกือบ 60% ส่งวันพักร้อน และกว่าครึ่งยังคงเช็คอีเมลหลัง 5 ทุ่ม ด้วยความรุนแรงของปัญหาระดับนี้ ความจริงจังในระดับเดียวกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้พนักงานของเรายังคงมีสุขภาพที่ดี และยังคง Productive ได้⁣

มี Tech Company องค์กรหนึ่งที่ชื่อว่า FullContact ที่ให้พนักงานที่ลาพักร้อนสามารถรับเงินค่าขนมได้ถึง 2 แสนบาทต่อปี ถ้าสามารถทำตามกฏ 3 ข้อนี้ได้ระหว่างที่ลา คือ ห้ามเช็คอีเมลงาน ห้ามทำงาน และห้ามอยู่บ้าน (ข้อสุดท้ายนี้ยกเลิกไปแล้ว) โดยภายในองค์กรเรียกสิ่งนี้ว่า Paid, Paid Vacation ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สามารถติดตามได้ผ่านการแชร์รูปถ่ายการไปเที่ยวกัน หรือการตรวจสอบช่องทางการสื่อสารขององค์กรเพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานไม่ได้แอบทำงาน ⁣

ภายหลังจากเริ่มต้นโปรแกรมนี้ FullContact ได้รายงานผลกับ Washington Post ว่ามันดีกับองค์กรพวกเขามากเลย เพราะเขาพบว่าพนักงานที่กลับจากลาพักร้อนนั้นทำงานหนักขึ้นในเวลางาน มีความสุขมากขึ้นกับองค์กร และตื่นเต้นกับการกลับมาทำงานมากกว่าก่อนลาพักร้อน⁣

โฟกัสกับหน้าที่หลัก⁣

การแก้ปัญหา Busy Culture หมายถึงการที่พนักงานในองค์กรต้องเรียนรู้ที่จะปฏิเสธงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลัก และตัวผู้นำเองต้องทำให้เป็นแบบอย่าง จนกว่าที่พนักงานจะเริ่มเห็นผู้นำปฏิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ พวกเขาก็จะยังไม่สะดวกใจที่จะทำเช่นกัน⁣

หนึ่งในวิธีตรวจสอบว่าตอนนี้เรากำลังโฟกัสกับหน้าที่หลักของเราหรือไม่สามารถเริ่มได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลองถามเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ทำงานโดยตรงกับเราดู ว่าตอนนนี้พวกเขาเข้าใจว่างานหลักของเราคืออะไร ?⁣

Derek Sivers ผู้ที่เป็น Co-founder ของบริษัท CD Baby เขาพบว่าเมื่อเขาถามคำถามนี้คำตอบส่วนใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่เขาคิด และเขาพบด้วยว่าโอกาสประเภทที่ทำร้ายธุรกิจมากที่สุดไม่ใช่โอกาสแย่ ๆ แต่กลับเป็นโอกาสกลาง ๆ ดังนั้นเขาจึงเริ่มต้นใช้มาตรการที่ว่าผู้นำองค์กรควรที่จะตอบตกลงเฉพาะกับเรื่องที่สำคัญที่สุด 10% แรกเท่านั้น ที่เหลือต้องปฏิเสธไป เพื่อเป็นการสื่อสารว่าหน้าที่หลัก คือสิ่งที่สำคัญที่สุด และการปฏิเสธงานอื่น ๆ คือสิ่งสำคัญต่อการสื่อสารหลักการนี้ออกไป⁣

ใช้ประโยชน์จากอิทธิพลภายในและภายนอก⁣

วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่สร้างอย่างไม่เป็นทางการ ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน ไม่มีคนใดคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กได้ด้วยตัวคนเดียว สิ่งที่ทำให้มันได้ผลคือแรงกดดันทางบวกจากเพื่อนร่วมงานผ่านปฏิสัมพันธ์ มากกว่าเป็นผลจากการสั่งจากข้างบน⁣

Stephen Dalby ผู้ก่อตั้ง Gabb Wireless ผู้นำด้านการออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับเด็ก ประสบกับปัญหาว่าตัวเขาเองไม่สามารถวางโทรศัพท์ตัวเองได้เลยแม้กระทั่งเวลาอยู่กับครอบครัว ทั้ง ๆ ที่งานหลักของเขาคือช่วยให้เด็กใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือน้อยลง ⁣

คุณ Dalby จึงได้เริ่มนโยบายขององค์กรให้พนักงานทุกคนมีช่วงเวลาที่จะไม่แตะมือถือเลย เช่น ช่วงมื้ออาหาร และตอกย้ำความสำคัญนี้โดยการเอาเรื่องบนโต๊ะอาหารของที่บ้านตัวเองมาเล่าให้พนักงานคนอื่นฟัง เพื่อย้ำเตือนความสำคัญของการปิดโหมดงาน⁣

Productivity กับ Busy เป็นสิ่งที่คล้ายกันจนเราอาจจะตีความมันเป็นสิ่งเดียวกันได้ง่าย ๆ แต่ความแตกต่างนี้ส่งผลมหาศาลต่อชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวเรา งานวิจัยพบแล้วว่าจริง ๆ ความงานยุ่งนั้นไม่ได้ช่วยให้เราทำงานได้เยอะขึ้น แต่กลับหมายถึงว่าเรายังไม่สามารถจัดการ Priorty ได้จริง ๆ ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรแบบ Busy Busy จึงหมายถึงวัฒนธรรมองค์กรที่การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และถ้าเราสามารถแก้ไขมันได้องค์กรของเราจึงจะสามารถเป็นที่ที่ทั้ง Productive และ Healthy ได้จริง ๆ ⁣

A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
culture

อ้างอิง
https://techtalk.gfi.com/survey-81-of-u-s-employees-check-their-work-mail-outside-work-hours/⁣
https://hbr.org/2020/09/how-to-defeat-busy-culture⁣

.

>
>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search