ทำไมบริษัทของคุณถึงตัดสินใจผิดพลาดเสมอ?

“แม้แต่ผู้นำที่ดียังมีตัดสินใจผิดพลาด ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ฉลาด แต่เพราะพวกเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนเราๆ ⁣⁣
การให้ทีมของคุณมีส่วนร่วมในกระบวนการจะช่วยให้องค์กรของคุณตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น” การตัดสินใจถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพที่สุด คุณสามารถเห็นภาพวัฒนธรรมขององค์กรโดยรวมได้จากการสังเกตกระบวนการตัดสินใจของทีม เนื่องจากจะสามารถทำให้เห็นถึงสิ่งที่ทำมาอย่างต่อเนื่องหรือปัญหาเชิงระบบได้⁣⁣
⁣⁣
การตัดสินเป็นส่วนสำคัญของความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ แต่องค์กรส่วนใหญ่กลับมีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะองค์กรต่าง ๆ มักมองว่าการก้าวไปข้างหน้าให้ทันการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำได้ด้วยการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเท่านั้น ทำให้การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างภาระและทำให้กระบวนการช้าลงกว่าเดิม แต่เราจะรีบเดินหน้าไปทำไมหากจะจบลงที่การตัดสินใจที่ผิดๆ?⁣⁣
⁣⁣
แล้วเพราะอะไรถึงทำให้บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องได้ในหลายๆครั้ง?⁣⁣
⁣⁣
🔰 1. สมาชิกของทีมไม่ได้ตกลงกันเรื่องวิธีการที่จะใช้ในการตัดสินใจ⁣⁣
ทีมส่วนใหญ่มักมองข้ามการตกลงกันในเรื่องนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคนทำงานบนพื้นฐานความเข้าใจที่แตกต่างกัน ผู้นำทีมบางคนเข้าใจผิดว่าตัวเองกำลังเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ สมาชิกทีมบางคนเข้าใจผิดว่าตัวเองมีอำนาจในการจัดการมาก คนส่วนใหญ่มักคิดว่ามุมมองส่วนตัวของพวกเขาไม่สำคัญ และเจ้านายส่วนใหญ่มักจะมองข้ามสิ่งที่ทีมตกลงกันมาแล้ว⁣⁣
⁣⁣
การขาดความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันเช่นนี้ถือเป็นภัยต่อทีมของคุณ⁣⁣
⁣⁣
🔰 2. องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการมอบอำนาจมากกว่าการบ่มเพาะ⁣⁣
การมอบอำนาจมาจากความเชื่อที่ว่าคนในองค์รกรนั้นไร้อำนาจและจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อผู้นำมอบให้เท่านั้น ความคิดดังกล่าวคือการมองว่าอำนาจ หรือความสามารถในการคิดและกระทำ เป็นสิ่งที่ต้องได้รับมอบ ไม่ใช่อบรมบ่มเพาะ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว แรงจูงใจในการทำสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากภายในบุคคล ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับจากเจ้านาย⁣⁣
⁣⁣
ลำดับชั้นไม่ได้หมายถึงระดับความฉลาด และการมีตำแหน่งไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะสามารถตัดสินใจได้ดีกว่าคนอื่น ดังนั้น ผู้นำไม่จำเป็นต้องทำให้คนในองค์กรรู้สึกได้รับอำนาจ แต่ควรจะทำให้เค้ามีสิทธิในการตัดสินใจตั้งแต่แรก⁣⁣
⁣⁣
🔰 3. ผู้นำพูดอย่างแต่ทำอีกอย่าง⁣⁣
แนวทางการให้คนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นมากกว่าแค่การถามความคิดเห็น แต่คุณต้องมองพวกเขาเป็น input จริง ๆ ไม่ใช่แค่รับฟังเพียงอย่างเดียว หากทุกคนได้โหวตเพื่อตัดสินใจบางสิ่ง ตัวผู้จัดการเองก็ไม่ควรถือความคิดเห็นของตัวเองเป็นหลักและมองข้ามสิ่งที่ทุกคนได้ตกลงกันไว้ หากเพียงต้องการขอคำปรึกษาก็ควรทำให้ชัดเจน คุณกำลังอยากได้คำแนะนำจริง ๆ เผื่อมีสิ่งที่คุณอาจไม่ได้นึกถึง หรือ คุณเพียงต้องการทำให้คนอื่นรู้สึกมีส่วนร่วม คุณต้องทำให้คนอื่นเห็นเจตนาของคุณอยากชัดเจน เพื่อให้ไม่เกิดความคิดที่ว่า “เจ้านายของฉันไม่สนใจความคิดเห็นของฉันเลย”⁣⁣
⁣⁣
🔰 4. เหล่าผู้จัดการต้องการการตัดสินใจที่ไร้ที่ติ⁣⁣
ไม่ใช่ว่าทุกการตัดสินใจจะมีค่าเท่ากัน แต่คนที่รักความสมบูรณ์แบบมักจะทำให้การตัดสินใจทุกเรื่องเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย บางครั้งพวกเขาจะใช้เวลาอันมีค่าและพลังงานไปกับสิ่งที่ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น การตัดสินใจก็เหมือนกันการทำอาหาร มีสูตรและวิธีการหลายแบบให้คุณเลือกใช้ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการให้อาหารที่ออกมานั้นดีเลิศแค่ไหน ฉะนั้น บางครั้งคุณก็ควรจะโยนข้อมูลเพียงเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตัดสินใจอย่างรวดเร็ว แต่ในบางครั้ง หากคุณยังไม่มีข้อมูลเพียงพอหรือการตัดสินใจนั้นไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน คุณก็ควรที่จะขยับหม้อนั้นไปไว้ที่เตาหลังและปล่อยมันให้ค่อย ๆ เคี่ยวไปเรื่อย ๆ⁣⁣
⁣⁣
อีกหนึ่งทางที่คุณสามารถทำได้คือการพิจารณาค่าเสียหายจากการไม่เลือกกระทำ หากคุณถามคำถามที่ว่า “ผลกระทบของการไม่ตัดสินใจในครั้งนี้คืออะไร?” คุณจะพบว่าการตัดสินใจบางอย่างสามารถเลื่อนออกไปก่อนได้ แต่บางอย่างอาจทำให้เกิดผลกระทบราคาแพง⁣⁣
⁣⁣
🔰 5. เหล่าผู้จัดการเอาเวลาและพลังงานไปลงผิดที่⁣⁣
องค์กรหลาย ๆ แห่งมักเสียเวลาและพลังงานไปกับกระบวนการในช่วงต้น ไม่ว่าจะเป็นการลากคนมากเกินไปเข้ามาเกี่ยวข้อง การไม่กำหนดบทบาทให้ชัดเจน หรือการพยายามมุ่งเอาชนะการถกเถียงบางอย่าง จนทำให้จบลงที่ต้องเร่งตัดสินใจในตอนท้าย ทำให้เหลือเวลาเพียงเล็กน้อยสำหรับการทบทวนหรือพิสูจน์การตัดสินใจนั้น ทีมของคุณต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและชาญฉลาด แต่อย่าไปเร่งกระบวนการ⁣⁣
⁣⁣
🔰 6. เจ้านายถือครองสิทธิในการตัดสินใจ แต่ไม่รับผิดชอบ⁣⁣
กระบวนการการตัดสินใจทั้งหมดมี 3 ระยะด้วยกันคือ ก่อน ระหว่าง และหลัง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการตัดสินใจนั้นสำคัญพอ ๆ กับตัวการตัดสินใจ ดังนั้น การมีสิทธิในการตัดสินใจจึงมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการหรือสมาชิกทีม ดังนั้นหากคุณเป็นผู้นำ คุณต้องเริ่มจากการรับผิดชอบการตัดสินใจของคุณ และสอนให้ทีมของคุณทำเช่นเดียวกัน⁣⁣
⁣⁣
🔰 7. คุณมองหาความเห็นพ้องมากกว่าความผูกมัด⁣⁣
การตัดสินใจที่ไร้ที่ติก็ไม่มีความหมายหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนอื่น ผู้นำควรสร้างวัฒนธรรมที่เปิดให้มีการถกเถียงและมีความไม่เห็นพ้องกัน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนความเห็นที่ไม่ตรงกันจะทำให้เราสามารถปิดจุดบอดของการตัดสินใจนั้นได้ แต่หากเมื่อทุกคนได้คำตอบสุดท้ายที่เป็นฉันทามติแล้ว ทุกคนในทีมจะต้องผูกมัดกับการตัดสินใจดังกล่าว และไม่มีการเปลี่ยนความคิดหรือตั้งคำถามอีก⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
corporate culture⁣⁣
culture⁣⁣

.
.
>>>

.
.
>>>
แหล่งที่มาของข้อมูล ⁣⁣
https://www.mckinsey.com/business-functions/strategy-and-corporate-finance/our-insights/the-case-for-behavioral-strategy⁣⁣
https://digitalcommons.unomaha.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1119&context=psychfacpub⁣⁣
https://www.businessarticleshub.com/20-of-the-worst-business-decisions-ever-made/⁣⁣
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/why-your-company-makes-bad-decisions-and-how-to-make-better-ones⁣⁣
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/the-decision-making-canvas-how-to-choose-the-right-method-to-make-decisions⁣⁣
Danny Meyer’s Restaurant Empire is Built on Emotional Intelligence – On the Line | Toast POS (toasttab.com)

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search