5 ปัญหาเมื่อที่ประชุมไม่เป็นดั่งใจ (ใครสักคน) พร้อมแนวทางแก้ไข

ทุกวันนี้ เวลาที่ใช้ไปกับการประชุม ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ และคุ้มค่ากับเวลาอยู่หรือไม่? ….⁣⁣⁣⁣
หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาที่น่าหนักใจหรือมีความรู้สึกอึดอัดใจเมื่อถึงเวลาประชุม ไม่ว่าจะเป็น “ประชุมทีไรก็พูดแต่เรื่องเดิม ๆ” “เข้าไปก็นั่งฟังอย่างเดียว พูดไปเขาก็ไม่ฟัง” “ไม่เห็นจะมีใครสนใจใคร คนพูดก็พูดไป คนฟังก็ทำงานอื่น” หรือประเด็นปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมันคงจะดีกว่า ถ้าเวลาที่ทุกคนเลือกให้ไปกับการประชุมนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและน่าถึงพอใจได้อย่างคุ้มค่า ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
คุณ Paul Axtell ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบริหารจัดการประชุมให้มีประสิทธิภาพในองค์กร ได้รวบประเด็นปัญหาที่พบในที่ประชุม ไว้ใน HBR ออกมาเป็น 5 ประเด็นปัญหาหลัก ๆ และที่สำคัญมาพร้อมกับแนวทางการแก้ไขอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละปัญหา เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนี้ ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
===================⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
🔰 1. ที่ประชุม เป็นเวทีของคนเพียงไม่กี่คน⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
ถ้าหากมีเวลา 60 นาที กับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 10 ท่าน เรามีเวลาให้แต่ละท่านจริง ๆ กี่นาที ⁣⁣⁣⁣
ซึ่งถ้าหากว่ามีใครบางคนในที่ประชุม มักจะพูด หรือแสดงความคิดเห็นของตัวเองอยู่ตลอด หรือใช้เวลานานกว่าคนอื่น ๆ อาจนำมาซึ่งความรู้สึกขุ่นเคืองใจ และไม่พอใจได้มาก ๆ ที่ไม่เคารพและเอาเวลาอันมีค่าของผู้อื่นไปจนเกือบหมด ซึ่งด้วยเวลาที่มีจำกัดมาก ๆ เช่นนี้ เรายิ่งไม่สามารถให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น หรือให้ข้อมูลได้อย่างทั่วถึง ถ้าหากว่าเราปล่อยให้ใครสักคน เอาที่ประชุมไปเป็นเวทีของเขาเพียงคนเดียว (หรือ 2 – 3 คน) ⁣⁣⁣⁣
ซึ่งมีวิธีการ ที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับเวลา และได้ข้อมูลความคิดเห็นอย่างทั่วถึง ดังนี้⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
• ก่อนเริ่มประชุม เป็นช่วงสำคัญที่จะชี้แจ้งเพื่อทำความเข้าใจ และตกลงร่วมกัน โดย⁣⁣⁣⁣

  • บอกกล่าวถึงความคาดหวังว่า อยากให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็น แสดงข้อมูลต่าง ๆ ในทุกหัวข้อที่จะเกิดขึ้น ⁣⁣⁣⁣
  • ขออนุญาตที่ในระหว่างบทสนทนา อาจจะขอความช่วยเหลือ หรือ ถามหาความคิดเห็น หากต้องการมุมมองอื่นเพิ่มเติม⁣⁣⁣⁣
  • จะยังไม่ปล่อยผ่านหัวข้อใด ถ้าหากผู้ร่วมประชุมยังมีคำถาม หรือ สิ่งที่ต้องการนำเสนอเพิ่มเติม ⁣⁣⁣⁣
  • ขอความร่วมมือในการเก็บงานและอุปกรณ์อื่น ๆ ลง เพื่อให้ความสำคัญอยู่ที่หัวข้อการประชุม และให้ความสนใจไปยังผู้พูดอย่างเต็มที่⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    • ระหว่างประชุม ให้ความสนใจไปยังพูดผู้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เขาได้พูดในสิ่งที่ต้องการสื่อสารอย่างครบถ้วน และ หากทุกคนทำเช่นนี้ โอกาสที่จะมีคนแทรกแซงก็จะน้อยลง แต่ในทางกลับกันหากไม่ได้มีใครตั้งใจฟังใคร การแทรกแซงหรือขโมยบทสนทนาไปพูดต่อ ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ⁣⁣⁣⁣
  • ถ้าหากคุณสังเกตเห็นว่ามีคนที่พูดบ่อยเกินไป หรือไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็น คุณสามารถบอกเขาได้ว่า “ขออนุญาตถามคนอื่น ๆ ก่อน แล้วจะกลับมาที่คุณอีกครั้ง โอเคไหม?” ⁣⁣⁣⁣
  • ถ้าคุณสังเกตเห็นได้ว่ามีคนโดนแทรกแซง คุณสามารถชวนให้เขาได้พูดจนจบ โดนถามเขาว่า “เมื่อกี้มีอะไรที่คุณตั้งใจจะพูดอยู่หรือเปล่า” ⁣⁣⁣⁣
  • ถ้าคุณโดนขัดจังหวะเอง คุณสามารถที่จะพูดออกมาได้ ว่า “จริง ๆ ยังพูดไม่จบ ขอแชร์ความคิดเห็นส่วนที่เหลือต่อก่อน แล้วจะขอฟังความคิดเห็นของคุณด้วย” ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    • หลังประชุม หากในการประชุมครั้งนั้น มีคนที่ใช้เวลาในการพูดและแสดงความคิดเห็นมากกว่าที่ควร คุณควรที่จะเข้าไปคุยกับเขาตรง ๆ เพื่อให้เขาได้รู้ตัว โดยสามารถบอกกับเขาได้ว่า “เราขอบคุณและชื่นชมในการแสดงความคิดเห็นของเขามาก แต่เราตั้งใจมากเช่นกันที่จะให้ผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมมากกว่านี้ เพราะฉะนั้น จะช่วยได้มาก หากเขาสามารถที่จะรอให้คนอื่นได้พูดก่อนแล้วค่อยเสริม หรือ เขาสามารถช่วยเชิญชวนให้คนที่ยังไม่ได้แสดงออกได้แชร์มุมมองของเขาด้วย” ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    🔰 2. หัวหน้ายังไม่ใช่ผู้นำประชุมที่ดี⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ถ้าหากหัวหน้าไม่ได้มีทักษะในการนำประชุม หรือ facilitate ได้ดี คุณสามารถเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ได้ โดยเสนอหัวหน้าในการช่วยเตรียมกำหนดการ ข้อหัวการประชุม และผลลัพธ์ที่คาดหวัง หรือถ้าเป็นไปได้ หากคุณเป็นคนที่ผู้เข้าร่มประชุมให้ความเคารพ และคุณเต็มใจ คุณสามารถเสนอเป็นผู้นำประชุมให้ หรือ ถ้าหากบทบาทของคุณอาจยังไม่เหมาะสม คุณสามารถแนะนำคนที่คุณคิดว่าเหมาะในการนำประชุมให้กับหัวหน้าได้ โดยอธิบายกับหัวหน้าว่า การที่หัวหน้าเป็นผู้นำสูงสุดในที่ประชุมไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องนำประชุมหรือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ในอีกทางหนึ่ง สิ่งที่ช่วยและมีประโยชน์มาก ๆ คือการถามคำถามเพื่อสร้างความชัดเจนว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการประชุมครั้งนี้ และช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถให้สิ่งเหล่านั้นได้ เช่นเมื่อเริ่มประชุมคุณอาจจะขออนุญาตและถามว่า “อะไรคือสิ่งที่หัวหน้ามองหา และต้องการจากการประชุมครั้งนี้ และพวกเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณได้สิ่งนั้นแล้ว” ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    🔰 3. ใช้เวลาไปกับการอัพเดตข้อมูลข่าวสาร และไม่คุยกันในเรื่องที่สำคัญ ๆ ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    การใช้เวลา 10 – 15 นาทีในการอัพเดตข้อมูลข่าวสาร ในการประชุม 90 นาทีไม่ใช่ปัญหา แต่การใช้เวลาทั้ง 90 นาทีในการอัพเดตข้อมูลที่จริง ๆ แล้วสามารถสื่อสารผ่านทางอีเมลได้ ต่างหากที่เป็นปัญหา หากเรื่องสำคัญ ๆ ไม่ถูกหยิบมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในที่ประชุม อาจนำมาซึ่งปัญหาที่ลุกลามโดยไม่ทันรู้ตัว และแก้ไขได้ยากขึ้นกว่าเดิม ⁣⁣⁣⁣
    เราสามารถสำรวจและมองถึงประเด็นต่าง ๆ ที่อาจเป็นเรื่องสำคัญที่ถูกละเลย และควรนำมาเป็นข้อหัวการประชุม ด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ ⁣⁣⁣⁣
  • มีอะไรที่ทีมจำเป็นต้องพูดคุยกัน⁣⁣⁣⁣
  • อะไรคือสิ่งที่ช่วยให้ทีมสามารถเริ่มทำงานได้ และอะไรคือสิ่งที่ขัดขว้าง ⁣⁣⁣⁣
  • อะไรคือสิ่งที่ทีมจำเป็นต้องเรียนรู้⁣⁣⁣⁣
  • อะไรคือสิ่งที่ทีมต้องการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ⁣⁣⁣⁣
  • อะไรคือสิ่งที่ทีมเป็นกังวลในช่วงนี้⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    หากค้นพบประเด็นสำคัญ และได้หัวข้อที่ควรพูดคุยในที่ประชุมแล้ว แนะนำให้กำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง และเวลาที่ต้องการใช้เพื่อให้บรรุเป้าหมาย และหากทำได้ดีในการพูดคุยถึงสิ่งเหล่านี้ในที่ประชุมอย่างจริงจังสัก 1 – 2 ประเด็นแล้ว เชื่อว่า เวลาที่ใช้ไปในการอัพเดตข้อมูลจะน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    🔰 4. ต่างคนต่างทำงานตัวเอง หรือสนใจสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่การประชุม⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    เราสามารถยอมรับได้ถ้าหาก การขัดจังหวะ หรือสิ่งรบกวน เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ แต่ถ้าหากว่าเมื่อไรที่มีการตอบอีเมล เช็คข้อความ อยู่กันเป็นปกติ นั่นหมายถึงเรากำลังทำลายความหมายของการประชุมและการมีส่วนร่วม ซึ่งการจะสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (เช่นเดียวกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร) เริ่มต้นจากข้างบน นั่นหมายถึงผู้นำจะต้องเป็นแบบอย่างในที่ประชุม ในการแสดงออกทั้งภาษาพูดและภาษากาย หากผู้นำ ทำงานอื่น ตอบข้อความ อยู่กับอุปกรณ์เทคโนโลยีของตัวเองในระหว่างประชุมไปด้วย นั่นหมายถึงว่าเขากำลังสื่อสารไปยังทุกคนในที่ประชุมนั้นว่า การประชุมนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก และนำไปสู่การสร้าง ‘วัฒนธรรมในที่ประชุมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ’ ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และทำได้ ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    เพื่อหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เริ่มต้นได้ด้วยการสื่อสารไปตั้งแต่ตอนต้น ว่า เราต้องการให้ผู้เข้าร่วมทำอย่างไร และมันสำคัญอย่างไร เช่นคุณสามารถบอกกับผู้เข้าร่วมได้ว่า “เราอยากให้ผู้เข้าร่วมทุกคนให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมกันการประชุมครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้น รบกวนตรวจสอบเครื่องมือสื่อสาร และจัดการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มประชุม เพื่อไม่ให้รบกวนผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ รวมถึงตัวเขาเองด้วย และการมีส่วนร่วมของเขามีความสำคัญต่อเรา ต่อเพื่อน และต่อคุณภาพการประชุมครั้งนี้มาก ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    🔰 5. คุยเรื่องซ้ำ ๆ เพราะไม่เกิดอะไรขึ้นหลังจากประชุมเสร็จ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    หากมีประเด็นปัญหาที่ถูกยกขึ้นมาพูดคุยในที่ประชุมและยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ควรทำ คือ ต้องมั่นใจว่า มีการกำหนดแผนการและขั้นตอนพร้อมผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ว่าจะเกิดอะไรบ้างขึ้นหลังจากนี้ตั้งแต่ในที่ประชุม เพื่อสามารถเกิดการลงมือทำได้เลย โดยที่ควรส่งสรุปการประชุมไปยังผู้เข้าร่วมทุกท่านภายใน 1 ชั่วโมงหลังจบ หรือ อย่างช้าที่สุดคือภายในวันที่มีการประชุมนั้น และมอบหมายให้มีผู้ติดตามและอัพเดตความคืบหน้าไปยังทุกคน ว่ามีการดำเนินการไปอย่างไรในส่วนต่าง ๆ ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย ซึ่งความคืบหน้าของงานควรอยู่ ที่ 85% ถ้าหากว่าน้อยกว่านั้น ให้พูดคุยกับทีมว่าเกิดอะไรขึ้น และทำอย่างไรเพื่อให้พวกเขาสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ===========================⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    เราอาจจะไม่สามารถขจัดปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปให้หมดได้ แต่เราสามารถลดสถานการณ์เหล่านั้นให้น้อยลงได้ และถ้าหากเราเป็นคนหนึ่งที่กำลังเดือดร้อนหรือประสบปัญหาความท้าทายใด อย่าลืมว่าเราเองก็เป็นคนหนึ่งที่สามารถมีอิทธิพลและสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องประชุมไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ด้วยการเลือกที่จะพูดถึงประเด็นดังกล่าวและสิ่งที่คาดหวังอยากให้เป็นอย่างตรงไปตรงมาและจริงใจ พร้อมกับเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตัวในแบบที่เราอยากเห็น⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    เพราะอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กร (รวมถึงในที่ประชุมด้วย) ก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมในแบบที่เราอยากเห็นกันล่ะ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣⁣
    A Cup of Culture⁣⁣⁣⁣
    ———–⁣⁣⁣⁣
    วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣⁣⁣
    corporate culture⁣⁣⁣⁣
    culture⁣⁣⁣⁣
    ⁣⁣⁣.
    .
    >>>>
ข้อมูลอ้างอิง⁣⁣⁣⁣
https://hbr.org/2018/06/5-common-complaints-about-meetings-and-what-to-do-about-them ⁣⁣⁣⁣

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search