3 สัญญาณเตือน! คนในทีมหมดไฟ

ในชีวิตของมนุษย์มักจะมีวันสำคัญอยู่ 2 วัน คือ “วันที่ดี กับ วันที่แย่” ในวันที่ดีคงไม่ต้องกล่าวถึงมากเพราะในห้วงเวลานั้นชีวิตคุณคงเต็มไปด้วยความสุข ในทางตรงข้ามหากวันนั้นเป็นวันที่แย่ คุณคงพยายามมองหาใครสักคนเพื่อพูดคุยหรือเติมกำลังใจกัน…. แต่หากในวันนั้นคนรอบตัวคุณก็มีสภาวะย่ำแย่ไม่ต่างจากคุณละ? จะไปต่ออย่างไรดี!??


บทความจาก Fast Company กล่าวว่า “ก่อนที่สถานการณ์เชิงลบจะเกิดขึ้นกับทีมงาน ทำไมคุณไม่เริ่มจากการอ่านสัญญาณให้เป็นก่อน ก่อนที่จะปล่อยให้ทีมเผชิญกับสภาวะ “Burned out” ล่ะ??… และนี่คือ “3 ธงแดงที่ควรระวัง คนในทีมหมดไฟ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีบทบาทในฐานะผู้นำ

—————-


1) มีอาการเฉยชา ไม่แยแส (WIDESPREAD APATHY)


คุณเคยประชุมในช่วงบ่ายวันศุกร์หรือไม่? การประชุมเริ่มขึ้นและไม่มีใครส่งพลังใดๆ เลย ทุกคนพยายามมีส่วนร่วมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เพราะกลัวการประชุมจะยืนยาว) หากสิ่งนั้นเกิดขึ้นในบ่ายวันศุกร์ ก็ไม่มีเหตุอะไรให้คุณต้องตื่นตระหนก แค่เพียงปล่อยให้ทุกคนกลับบ้านพักผ่อนให้เพียงพอและกลับมาใหม่ในวันจันทร์ที่พลังงานเติมเปี่ยม


แต่… หากพนักงานมีอาการแบบนี้ในทุกการประชุมล่ะ? เริ่มมีอาการเหมือนบ่ายวันศุกร์? นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่าภาวะหมดไฟกำลังมาเยือน


2) ไม่ใส่ใจในรายละเอียด (INATTENTION TO DETAIL)


ไม่ใช่ทุกองค์กรจะเต็มไปด้วยสัญญาณแห่งความสุข ยิ่งในสภานการณ์ที่ต้องทำงานจากระยะไกล อาจเป็นเรื่องยากที่จะรับรู้ถึง “ระดับพลังงานที่แท้จริงของผู้คน” ผ่านซูมคอลหรือแฮงเอาท์วิดีโอ ยิ่งหากคนที่คุณทำงานด้วยเป็นคนที่ไม่ชอบเรียกร้องความสนใจ เรายิ่งไม่สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขาได้เลย


แต่คุณสามารถสังเกตสัญญาณบางอย่างจากงานของพวกเขาได้ เช่น โครงการที่รับผิดชอบมีการเคลื่อนไหวน้อย มีรายละเอียดเล็กน้อยที่ผิดพลาดหรือถูกมองข้ามมากมาย หรือแม้แต่งานไม่สำเร็จตามเวลา นี่อาจถึงเวลาที่คุณต้องกลับมาใส่ใจพนักงานมากขึ้น


3) เติมเชื้อเพลิงในทุกกองไฟ (GASOLINE ON EVERY FIRE)


จุดสำคัญของ “ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน” (resilience at work) คือ ความสามารถในการรับรู้สถานการณ์ปัจจุบัน ว่ามันกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่? รวมทั้งลดหรือป้องกันไม่ให้ปัญหาเล็กน้อยกลายเป็นปัญหาใหญ่ —ในทางตรงกันข้าม หากทีมงานของเรามักเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์เชิงลบแถมยังชอบเติมไฟให้เหตุการณ์นั้นมากขึ้น ย่อมไม่ดีนักต่อคนอื่นในองค์กร เพราะผู้คนจะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ความโกรธ หรือความคับข้องใจ


ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือการมี “วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” และเปิดโอกาสให้มีการฟีดแบค รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า สิ่งนี้จะทำให้เรามีทักษะในการลดพลังงานทางลบในสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั่นเอง

—————-


บทสรุป — ในฐานะผู้นำที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบทีม การหมั่นคอยสังเกตสถานการณ์หรือคอยตรวจสอบสภาวะหมดไฟอยู่สม่ำเสมอ ก็อาจช่วยให้ทีมงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานร่วมกันได้ดี รวมทั้งสามารถเปลี่ยนตนเองไปสู่โหมดพลังงานเชิงบวกได้

A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

Reference:
https://www.fastcompany.com/90906003/red-flags-team-burned-out
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search