ปรับตัวสู่โลกที่ไม่แน่ไม่นอนไปกับวัฒนธรรมองค์กรที่ Disrupt และ Sustain

องค์กรต่าง ๆ กำลังปรับตัวเพื่อสอดรับเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงโลกของ VUCA ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและต้องปรับตัวให้ไว บางที่กำลังเริ่มทำ Corporate Innovation หรือการส่งเรือเล็กออกจากฝั่งเพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่มี Potential คล้ายกับการทำ Startup อย่างไรก็ตามแม้โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุก ๆ องค์กรในยุคนี้ โอกาสทางธุรกิจเก่า ๆ ที่มีอยู่แล้ว หรือ Cash Cow ขององค์กรก็ทิ้งไม่ได้เช่นเดียวกัน คำถามคือ เราจะทำอย่างไรจึงจะ Balance สองอย่างนี้ได้⁣

🔰 VUCA คืออะไร?⁣

Volatile, Uncertain, Complex และ Ambiguous คือ นิยามของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยความที่เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดตลอดเวลา นั่นทำให้โครงสร้างตลาด และโอกาสทางธุรกิจถูก Disrupt กันอย่างต่อเนื่อง นั่นทำให้หลาย ๆ โมเดลทางธุรกิจอาจจะไม่สามารถที่จะนิ่งนอนใจได้อีกต่อไปว่าธุรกิจเราจะอยู่ได้ถึง 3 ปีข้างหน้าอีกหรือไม่ ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์จึงพยายามสร้าง Innovation Program ต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับองค์กร ซึ่งแม้จะเป็นกลยุทธ์ชาญฉลาดมากสำหรับโลกยุคนี้ แต่บนอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์กรก็จะต้องสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน⁣

องค์กรส่วนใหญ่ที่ก่อตั้งมานานแล้วมักจะมีข้อได้เปรียบที่องค์กรอย่าง Startups ไม่มี เช่นข้อได้เปรียบด้าน Supply Chain ที่แข็งแรงเพราะมีการต่อตั้งมานานแล้ว ข้อได้เปรียบด้านของพาร์ทเนอร์ ฐานลูกค้า กำลังคน และข้อได้เปรียบด้าน Ecosystem อื่น ๆ และที่สำคัญมีระบบการทำงานมีทำสิ่งที่มีอยู่แล้วได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความแข็งแกร่ง และข้อได้เปรียบเหล่านี้เป็นสิ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ที่ตามหา New Business ได้เปรียบ Startups อย่างมาก ⁣

แต่เช่นเดียวกับที่หลาย ๆ องค์กรอาจจะเคยประสบในระหว่างการทำ Innovation Program คือการที่ความสามารถที่ช่วยให้พนักงานเราใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเหล่านี้ได้ อาจจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคุณสมบัติที่เหมาะกับโลก VUCA เลย โดยเฉพาะลักษณะงานที่จำเป็นต้องอาศัยความถูกต้องแม่นยำมาก ๆ เพราะมีความเสี่ยงสูง เช่น โรงงาน หรือสถาบันทางการเงิน ความละเอียด และระเบียบเป๊ะอาจจะเป็นคุณสมบัติที่ลูกค้าเลือกที่จะไว้ใจเรา แต่เมื่อเราพยายามส่งเสริม Innovation ผ่านการฝึกให้พนักงานคิดไว ทำไว หรือ Agile มากขึ้นอาจจะส่งผลเสียต่อธุรกิจหลักของบริษัทด้วย นั่นคือความท้าทายหลักของการที่องค์กรจะปรับตัวสู่โลก VUCA ได้ในมิติของด้านคน ว่าเราจะพัฒนาคนของเราให้เก่งในธุรกิจเดิม หรือให้เป็น Innovator ที่จะสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับองค์กร⁣

🔰 Disrupt หรือ Sustain⁣

จากหนังสือ Zone to Win: Organizing to Compete in an Age of Disruption ของ Geoffrey Moore ที่พูดถึงการแบ่งโซนของธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อการรับมือกับโลก Disruption โดยหลัก ๆ จะแบ่งเป็นซีก Disruptive หรือหน่วยธุรกิจที่ทำในด้านการ Incubation และ Transformation และอีกฟากนึงคือซีก Sustaining ที่โฟกัสกับ Performance และ Productivity โดยแน่นอนว่าธุรกิจในทั้งสองฟากก็จะต้องอาศัยทักษะ และคุณลักษณะที่แตกต่างกัน และกลับมาที่ปัญหาของเราคือการที่เราจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบไหนถึงจะได้ผลลัพท์ที่ดีกับทั้งสองซีกได้ในเมื่อทั้งสองซีกก็เป็นองค์กรเดียวกัน และมีเป้าหมายในระยะยาวไปในทิศทางเดียวกัน⁣

คำตอบคือวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กร หรือวัฒนธรรมองค์กรที่สอดรับกับ Vision/Mission ขององค์กรที่ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนก็ตามในองค์กรก็จะเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพราะวัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่จะเชื่อมโยงผู้คนในองค์กรเข้าด้วยกัน การออกแบบค่านิยมขององค์กรจึงต้องพิจารณาทั้ง Value Proposition ขององค์กรทั้งที่มีอยู่แล้ว และกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นค่านิยมที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจขององค์กรจริง ๆ⁣

แต่แน่นอนว่าการมีค่านิยมที่ครอบคลุมทุกธุรกิจขององค์กรนั้นจะต้องแลกมากับความคลุมเครือของค่านิยมที่จะไม่สามารถเห็นภาพชัด ๆ ได้ว่าพนักงานจะสามารถนำค่านิยมนี้มาใช้ประโยชน์ในงานของพวกเขาได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการออกแบบชุดพฤติกรรมที่ชัดเจนขึ้นมาเพื่อให้พนักงานตีความได้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณากับการออกแบบชุดพฤติกรรมที่ดีคือ #ชุดพฤติกรรมนั้นต้องมีความเป็นสากลมากพอที่จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนขององค์กรจริง ๆ ซึ่งในการออกแบบตรงนี้ต้องอาศัยการพูดคุยกับพนักงานที่อยู่หน้างานของทั้งสองส่วน รวมไปถึงผู้บริหารที่มองเห็นภาพใหญ่ เพื่อสร้างชุดพฤติกรรม และวัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์คนทั้งสองซีกขององค์กรเราได้จริง ๆ ⁣

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราพิจารณาธุรกิจของเราโดยรวมแล้วอาจจะพบว่า Teamwork ควรที่จะเป็นหนึ่งในค่านิยมองค์กรของเรา เพราะไม่ว่าทั้งการสร้างนวัตกรรม หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพก็สำคัญ แต่เท่านั้นยังไม่พอ เราต้องมาออกแบบต่อไปด้วยว่าถ้าอย่างนั้นแล้ว Teamwork นั้นแปลว่าอะไร พนักงานของเราต้องทำพฤติกรรมแบบไหนถึงจะเรียกว่าพวกเขามี Teamwork แล้ว และในขั้นนี้เราต้องพิจารณาทั้งสองบริบทเข้าด้วยกันทั้งฝั่ง Sustaining และ Disruptive เช่น หนึ่งในพฤติกรรมของ Teamwork เราอาจจะเป็นการ “สื่อสารกับทีมเมื่อเจอปัญหาและหาทางออกร่วมกันทันที” และย้อนกลับไปตอบคำถามให้ได้ว่าพฤติกรรมนี้จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่ายในองค์กรจริง ๆ ใช่ไหม⁣

ปัจจุบันองค์กรต้องรับมือกับโลก VUCA ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และการออกแบบวัฒนธรรมองค์กรที่ทั้งเอื้อให้เกิด Innovation ไปพร้อม ๆ กับส่งเสริมธุรกิจเดิมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยความพยายาม และความจริงจังจากทุก ๆ Stakeholders โดยต้องอาศัยการเข้าใจองค์กร และเป้าหมายในระยะยาวอย่างดี และสำหรับใครที่กำลังมองหาแนวทางตั้งต้นว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตได้ดีในโลก VUCA ที่ผ่านมาทางเพจ A Cup of Culture เราเคยได้พูดถึงเรื่องนี้กันไปแล้ว โดยรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ brightsidepeople.com/ผู้นำสายพันธ์ใหม่-ในโลก/


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture

.
.
>>>


Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search