เมื่อเทคโนโลยีมาเป็นผู้ประเมินวัฒนธรรมองค์กร

เมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทแทนมนุษย์มากขึ้น ในงานหลาย ๆ อย่างมีการใช้ระบบ automation, machine learning, data analytics หรือ AI เข้ามาทำงานแทนการทำงานของพนักงานในองค์กรเพราะใช้ต้นทุนในระยะยาวที่ถูกกว่า รวดเร็วและแม่นยำกว่า แต่อย่างไรก็ดี เรายังมีความเชื่ออยู่เสมอว่า ชิ้นหนึ่งของงานที่สำคัญในองค์กรซึ่งเทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์คงมาทำงานแทนมนุษย์ได้ยากมากคือ การสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสิ่งที่เคยคิด มันไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป
.

ปกติแล้วการประเมินวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละแห่งมักใช้แบบสอบถาม (Employee Survey) เป็นเครื่องมือหลัก พนักงานแสดงความคิดเห็นผ่านข้อคำถามต่าง ๆ ถึงค่านิยม (Core Values) หรือสิ่งที่แต่ละคนให้ความสำคัญ แต่ในระยะหลัง เริ่มมีข้อกังขาว่า สิ่งที่พนักงานตอบในแบบสำรวจจะตรงกับพฤติกรรมจริงๆหรือไม่ หรือคำตอบนั้น ๆ อาจเพียงสะท้อนความคิดเห็นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือเป็นเพียงสิ่งเท่าที่ระลึกได้ในช่วงเวลานั้นเท่านั้น (Episodic Memory) ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของวัฒนธรรมองค์กรที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง
.

จึงเกิดงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของ Stanford’s Graduate School of Business และ Berkeley’s Haas School of Business โดยใช้ Big-Data และ Machine Learning มาในการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรโดโดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะเข้าไปวิเคราะห์ข้อความการสื่อสารทางอีเล็คโทรนิคในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น email, Slack และการรีวิวของพนักงานผ่าน Glassdoor (application ที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ใช้ในการรีวิวองค์กรของตัวเองอย่างอิสระ) โดยระบบจะไปศึกษาภาษาที่ใช้ในข้อความเหล่านั้นว่าสะท้อนหรือขัดแย้งกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่อย่างไร เช่น การใช้คำว่า “we” อาจสะท้อนความเป็นทีมมากกว่าคำว่า “I” เป็นต้น การใช้คำสบถ คำบ่น หรือคำชมเชย เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้สามารถสะท้อนวิธีคิดหรือพฤติกรรมจริงของพนักงานที่ตรงกว่าการใช้แบบสำรวจแล้วให้พนักงานเป็นผู้ตอบได้ในเวลาอันรวดร็ว และยังสามารถติดตามความสามารถในการปรับตัวของพนักงานให้เข้ากับวัฒนธรรมเมื่อเวลาผ่านไป
.

โดยการวิจัยนี้ทำกับพนักงานประมาณ 600 คนขององค์กรแห่งหนึ่งในระยะ 5 ปีติดต่อด้วยกัน พบว่าสามารถประเมินและรายงานมิติเชิงวัฒนธรรมองค์กรต่าง ๆ เช่น การสรรหาคนให้ตรงกับวัฒนธรรมองค์กร ระบบจะทำการวิเคราะห์การกรอกข้อมูลในใบสมัครและจะทำนายผลออกมาว่าผู้สมัครสามารถไปได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรได้หรือไม่ เช่น

  • การประเมินความเหมาะสมต่อวัฒนธรรมองค์กร (Culture Fit) โดยใช้ machine learning ในการระบุภาษาที่ใช้ที่อาจสะท้อนถึงความเข้ากันได้ถึงพฤติกรรมของบุคคลและค่านิยมขององค์กร
  • การวิเคราะห์ความเข้ากันได้เชิงวัฒนธรรมหลังการควบรวมกิจการ โดยวิเคราะห์เนื้อหาemail ก่อนและหลังการควบรวมกิจการและสำรวจว่ารูปแบบนั้นส่งผลต่อผลงานในเชิงบวกหรือลบอย่างไร
  • การวิเคราะห์ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงาน (Career Mobility) โดยใช้ machine leaning ในการวิเคราะห์การใช้ภาษาใน email เพื่อดูถึงความเหมาะสมในการปรับโอนย้ายพนักงานไปสู่ตำแหน่งงานต่างๆที่มีความต้องการ
    .

อย่างไรก็ตามในการวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรักษาความลับส่วนบุคคลอีกทั้งดูแลประเด็นเชิงจริยธรรมเป็นอย่างดีตลอด 5 ปี ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการให้บริการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรมากยิ่งขึ้น ซึ่งการล่วงความเป็นส่วนบุคคลน่าจะเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามหากไม่สามารถจัดการได้อย่างดี
.
.
…..

A Cup of Culture
……

แหล่งที่มาของบทความ

  1. https://www.comp-culture.org/
  2. บทความ The New Analytics of Culture จาก Harvard Business Review, January–February 2020 Issue
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search