6 ทักษะ MUST-HAVE ที่ทีมงานต้องมี เพื่อสร้างองค์กร Resilience

ท่ามกลางวิกฤตที่ไม่มีเวลาได้ตั้งตัว ทุกองค์กรทั่วโลก (ย้ำอีกทีว่า ทั่วโลก!) ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ถูกบังคับให้ต้องออกจาก Comfort Zone และทำ Mission หลายอย่างที่ในยามปกติไม่มีทางทำได้ หลายสายการผลิตสามารถเร่งการผลิตจนทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า การทำงานแบบ Remote Work ช่วยหลายธุรกิจเพิ่ม Productivity ได้แบบไม่เคยเป็นมาก่อน ค้าปลีกหลายแห่งสามารถสามารถเปิด Online Store และ Direct-to-customer sales ของตัวเองได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน⁣

องค์กรทั่วโลกเกิดแนวคิดการทำงานที่ไกลไปกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “ทำอย่างไรจะรักษา Speed, Mindset, Team Spirit และ Sense of Purpose แบบนี้โดยไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤต” ⁣

ในฝั่งของธุรกิจได้มีการเตรียมการสร้าง Operations Resilience โดยคำนึงถึงการออกแบบ Operations และ Supply Chains โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะปกป้อง Disruptive events ต่างๆ ที่ต้องมาอีกแน่ๆ ในอนาคต การสร้างสมดุลย์ของ Efficiency และ Resiliency ที่เหมาะสมควรอยู่ตรงไหน (ขยายความ: จากอดีตถึงปัจจุบันระบบ Supply chain ได้มุ่งเน้นเรื่องต้นทุนที่ถูกที่สุด แต่หลังจากนี้ไป Efficiency จะไม่ใช่เป้าหมายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะหากมีมหันตภัยในลักษณะนี้ขึ้นอีก Supply chain จะสะดุดทันทีแบบที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน)⁣

แต่การสร้าง Resilience ในฝั่ง Operations เป็นหลักอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาได้จริงหากคนในองค์กรไม่ได้คิดและปฏิบัติในแนวทางนี้ ไม่ต่างอะไรกับเปลี่ยน Hardware ในขณะที่ยังใช้ OS และ Software ชุดเดิม หากแต่ควรคำนึงถึงการสร้างวัฒนธรรมแบบ Resilience ที่ทุกคนจะหล่อหลอมให้ทุกคนเกิดความหยุ่นตัวมากพอในการตอบสนองสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงการคาดการณ์อนาคตหรือการวางกลยุทธ์อย่างที่แล้วมาแต่เพียงอย่างเดียว⁣

…………………….⁣

เมื่อหลายปีก่อน PWC ได้นำเสนอแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ #Resilience โดยให้นิยามว่า “ความสามารถขององค์กรที่จะคาดเดาและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบโดยมุ่งหวังที่จะวิวัฒน์ (Evolve) ไม่ใช่เพียงแค่เอาตัวรอด (Survive)” ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในที่นี้ PWC อ้างอิงจาก Megatrends ที่กำลังเขย่าเศรษฐกิจโลก แม้จะไม่ได้รวม Virus pandemic ไว้ในนั้น แต่ก็สามารถปรับใช้กับทุกการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี⁣

วัฒนธรรมองค์กรแบบ resilience ตามนิยามของ PWC จะประกอบไปด้วย 6 คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยสามประการแรกจะเป็นความสามารถภายในองค์กร และสามประการหลังเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย⁣

ความสามารถภายในองค์กร⁣

🔸Coherence ⁣
ความสามารถในการทำงานและตัดสินใจร่วมกันเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย มองส่วนรวมมากกว่าตนเอง องค์กรมาก่อนทีม และทีมมาก่อนตัวเองเสมอ⁣

🔸AdaptiveCapacity⁣
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว การรับและขอ feedback จากคนรอบข้างและนำมาปรับตัวได้อย่างดี รวมถึงการเรียนรู้ตลอดเวลาที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ⁣

🔸 Agility⁣
ความสามารถในการลงมือทำและปฏิบัติตามแผนที่ผ่านการตัดสินใจแล้วได้อย่างรวดเร็ว ไวต่อสัญญานต่างๆทางธุรกิจและเคลื่อนที่ให้ไวในการตอบสนอง⁣

ทักษะความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย⁣

🔹 Relevance ⁣
ความสม่ำเสมอในการส่งมอบตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) คาดการณ์และทำความเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนของความต้องการที่มีอยู่ตลอดเวลา⁣

🔹 Reliability⁣
ความสม่ำเสมอในการส่งมอบได้ตามคุณภาพที่คาดหวังอย่างทันเวลา รักษาความน่าเชื่อถือไปได้ในทุกสถานการณ์ แม้อยู่ในวิกฤต⁣

🔹 Trust⁣
ความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์ที่คุ้มต่อการลงทุนลงแรง เวลาและทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าหากเราจัดสรรไปให้กับความสัมพันธ์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ก็สามารถทำให้เราดูแลความสัมพันธ์นั้นได้จริง⁣ นอกจากนั้นความไว้วางใจยังช่วยให้องค์กรรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งต่อองค์กร และดึงดูดลูกค้าหรือนักลงทุนรายใหม่ได้แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤต



…………………………⁣


ในความเป็นจริงการสร้างให้องค์กร Agile, Adaptive, Trustworthy, Relevant, Reliable และ Coherent ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรนั้นทำได้โดยความเอาจริงเอาจังของผู้บริหารเบอร์ต้นๆ ขององค์กรที่ต้องประเมินว่า จะได้การสนับสนุนจากคนในองค์กรมาได้อย่างไร อะไรที่จะทำให้เราไขว้เขวไปในระหว่างทางบ้าง อะไรคือสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเพื่อให้วัฒนธรรม Resilience คงอยู่ในระยะยาว และการตอบคำถามของบอร์ดในเพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้เห็นภาพใหญ่ของเรื่องนี้⁣

ก่อนหน้าการมาของ Covid-19 มีกูรูทั่วโลกทำนาย Megatrends ของโลกไว้หลายมิติ แต่แทบไม่มีสำนักใดเลยที่พูดถึงการแพร่ระบาดของโลกที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกม การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงและพร้อมต่อการ Resilience จึงดูเหมือนเป็นคำตอบในการรับมือสถานการณ์ใดๆก็แล้วแต่ที่จะเกิดขึ้น เพราะในที่สุดแล้ว Culture eats strategy for breakfast ตามที่ปรมาจารย์ Peter Drucker ได้ย้ำนักหนา⁣


A Cup of Culture⁣
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture

.
.
>>>>>

.
.
>>>>

แหล่งที่มาของบทความ

https://www.pwc.nl/nl/assets/documents/pwc-enterprise-resilience-the-emerging-capability-every-business-needs.pdf

https://pwc.blogs.com/files/the-case-for-resilience1.pdf

https://www.mckinsey.com/business-functions/operations/our-insights/jump-starting-resilient-and-reimagined-operations

https://www.bsigroup.com/globalassets/Global/revisions/Org-Resilience-Exec-summary2–FINAL-25Nov15.pdf


Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search