ออกแบบคำถามและตัวชี้วัด เพื่อวัดผลวัฒนธรรมองค์กร!

ปี 2023 เป็นปีทองของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร หลายองค์กรที่ไม่เคยสนใจเรื่องนี้ ก็เริ่มกลับมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น การศึกษาพบว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรล้วนเริ่มจาก “ผู้นำองค์กร” ต้องเอาด้วยหรือเป็นตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มทำเรื่องนี้


ถึงแม้การศึกษาหลายชิ้นจะระบุว่า “วัฒนธรรมองค์กร” มีส่วนสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมองค์กรกลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ ทำให้เป็นเรื่องยากในการวัดและประเมินผล


บทความจาก Diligent ซึ่งเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ได้กล่าวว่าวิธีการหนึ่งที่ดีที่สุดในการวัดและประเมินผลวัฒนธรรมองค์กร คือ การสำรวจ (Survey Method) ผ่านการ “ออกแบบคำถามที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือพฤติกรรมที่สะท้อนวัฒนธรรมองคกรที่เราต้องการวัด” ฉะนั้น การสร้างคำถามจึงเป็นงานที่สำคัญมากเพราะเราอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่างๆ ของข้อคำถาม


ดังนั้น การสร้างข้อคำถามจึงควรคำนึงถึง ดังนี้
– ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ

– ใช้ข้อความที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ

– แต่ละคำถามควรมีนัย เพียงประเด็นเดียว

– ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

– หลีกเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ

– ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบนานเกินไป


และต้องคำนึงถึงการตั้งค่าระบบการตอบ (Metric) ที่เป็นมิตรกับผู้ตอบ สุดท้าย ควรมีการวางแผนการสื่อสารก่อนทำการสำรวจ เพื่อให้พนักงานมั่นใจว่าข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ


:::::::::::::::

การวัดค่าเชิงจิตวิทยา (เช่น ความพึงพอใจ หรือมุมมองของคน) อาจยังไม่มีเครื่องมือวัดค่าได้ละเอียดเหมือนการวัดค่าเชิงปริมาณ ดังนั้น การวัดค่าเชิงจิตวิทยาจึงต้องใช้วิธีการประมาณค่าจากความรู้สึกของผู้ตอบเป็นรายบุคคลไป เรียกว่า มาตราประมาณค่า (Rating Scale) โดยที่นิยมใช้คือ มาตรา ลิเคิรท (Likert scale) โดยกำหนดหมายเลขและคำอธิบาย ดังนี้ 1 = น้อยที่สุด 2 = น้อย 3 = ปานกลาง 4 = มาก 5 = มากที่สุด


ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการวัดมุมมองของพนักงานเกี่ยวกับ “ความพยายามขององค์กรในการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน” เราก็จะออกแบบส่วนของคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้และออกแบบการวัดค่าจากสิ่งที่พนักงานสังเกตเห็น  โดยเรียงจากน้อยที่สุดถึงมากที่สุด 1 – 5 เป็นต้น


ตัวอย่างคำถามวัดผลวัฒนธรรมองค์กร

– สภาพแวดล้อมการทำงานที่นี้กระตุ้นให้ฉันอยากมาทำงานทุกวัน ?

– ฉันรู้สึกพึงพอใจที่ได้ทำงานที่นี้เพราะฉันรู้สึกมีคุณค่า ?

– ฉันรู้สึกพึงพอใจที่ได้ทำงานที่นี้เพราะฉันมีโอกาสในความก้าวหน้า ?

– ฉันใช้ประโยชน์จากโอกาสที่บริษัทสนับสนุนให้ในการพัฒนาอาชีพของฉัน ?

– การตรวจสอบประจำปี สะท้อนถึงผลงานของฉันได้อย่างถูกต้อง ?

– แผนกของฉันมักเฉลิมฉลองความสำเร็จร่วมกัน ?

– ผู้บังคับบัญชาให้ฟีดแบคเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของฉัน ?

– ผู้บังคับบัญชาเปิดรับข้อเสนอแนะของฉัน ?

– ฉันรู้สึกเครียดกับงาน ?

– ฉันมีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ?

– ฉันรู้สึกว่าฉันเป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าของทีม ?

– องค์กรมีความยืดหยุ่นเมื่อฉันต้องการไปทำกิจธุระอันจำเป็นของครอบครัว ?


:::::::::::::::::::

ขั้นตอนสุดท้ายนี้ องค์กรควรทำให้การวัดและประเมินผลมีความโปร่งใสให้มากที่สุด และควรแชร์ผลลัพธ์จากการสำรวจให้พนักงานได้รับรู้ด้วย ข้อดีในมุมของพนักงาน คือ เขาจะได้รู้ว่าความคิดเห็นของตัวเขาตรงกับเพื่อนร่วมงานและเป้าหมายของบริษัทหรือไม่ ในมุมขององค์กรก็จะได้ใช้จังหวะนี้ในการสื่อสารความตั้งใจในการปรับปรุงวัฒธรรมองค์กร และยังได้ใช้โอกาสนี้ในการสื่อสารเป้าหมายองค์กรและสื่อสารให้พนักงานได้รับรู้ว่าองค์กรมีความตั้งใจจริงในการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://www.diligent.com/insights/corporate-culture/how-measure-monitor-corporate-culture/
https://www.siamsurvey.com/th/web_page/questionnaire
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search