รับคนไม่ตรงกับวัฒนธรรมองค์กรส่งผลร้ายจริงหรือ?

เมื่อเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีส่วนในการประเมินวัฒนธรรมองค์กร ตามงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของ Stanford และ Berkeley โดยใช้เทคโนโลยีทาง Data analytics มาวิเคราะห์การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็คโทรนิคส์เช่น email และ Slack  ของพนักงาน 600 คนในองค์กร High Tech แห่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการด้วยกันในเชิงวัฒนธรรมองค์กร
.

ปกติการรับคนเข้าทำงาน เป็นธรรมดาเราที่จะอยากได้คนที่ทั้งเก่งและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร อยู่แล้ว แต่ผลการวิจัย Data Analytics นี้พบว่า กลุ่มพนักงานที่มีบทบาทผลักดันความสำเร็จขององค์กรคือ พนักงานที่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้  (cultural adapters) แม้เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้มีคุณสมบัติที่ตรงตามวัฒนธรรมองค์กรตั้งแต่แรกทั้งหมด
.

งานวิจัยยังเจาะลึกไปอีกว่า คนที่มีตัวตนที่สอดคล้องกับ core values ขององค์กรจะมีความผูกพันกับองค์กรมากกว่าคนในกลุ่มอื่นๆ สามารถสร้างบรรยากาศเชิงบวกในที่ทำงานและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี แต่ปัจจัยบวกต่างๆนี้กลับไม่ได้ส่งผลต่อผลสำเร็จขององค์กรมากนัก แตกต่างจากกลุ่มนักปรับตัวเก่งที่กลับส่งผลต่อความสำเร็จมากกว่ากว่าในระยะยาว แม้ในช่วงแรกพวกเขาต้องใช้เวลาสักพักในการปรับทัศนคติและพฤติกรรมให้เข้ากับขนบที่เป็นอยู่ และต้องอยู่ในช่วงยากลำบากในการทำงานเพราะเป็นคนที่ผิดแผกไปจากคนส่วนใหญ่
.

สาเหตุสำคัญของการที่กลุ่มหลังมีผลต่อความสำเร็จมากกว่าในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพราะการที่พวกเขามีมุมมองที่แตกต่างๆจากคนอื่น ๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดี อีกทั้งยังเป็นเหตุให้เกิดความหลากหลายทางความคิดและการตีความสถานการณ์ต่าง ๆ  ซึ่งแม้อาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งและบรรยากาศที่เป็นลบ แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรมีผลลัพธ์ที่ดี
.

นักวิจัยได้ให้คำแนะนำต่อผู้ที่มีหน้าที่สรรหาพนักงานว่า การให้ความสำคัญกับคนที่มีค่านิยมส่วนตัวที่ตรงกับวัฒนธรรมองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่ดีโดยเฉพาะหากท่านเป็นองค์กรที่เน้นความผูกพันและจงรักภักดีของพนักงาน แต่หากองค์กรของท่านมุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจและถูกผลักดันด้วยนวัตกรรม ควรให้น้ำหนักกับกลุ่มคนที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรมากกว่า เพราะพวกเขาเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งมุมมองที่แตกต่างในการทำงาน อีกทั้งการปรับตัวเก่งของเขายังเป็นผลดีเมื่อองค์กรมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม
.

ทาง A Cup of Culture ขอเสนอให้เพิ่มข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงเข้าไปด้วยในช่วงสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้สมัครได้แสดงทัศนคติ ซึ่งอาจช่วยให้ช่วงการสรรหาตัวมีข้อมูลต่อการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น
.
.
A Cup of Culture

แหล่งที่มาของบทความ The New Analytics of Culture จาก Harvard Business Review, January–February 2020 Issue

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search