ก้าวแรกสู่การเป็นองค์กร Agile ด้วย Learning Agility

นาทีนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงแนวคิดแบบ Agile ซึ่งก็คือ #การปรับเปลี่ยนการทำงานให้คล่องตัว #รวดเร็ว #และเห็นผลลัพธ์ในระยะเวลาอันสั้น หลายองค์กรพยายามนำแนวคิดแบบ Agile มาปรับใช้ และก็พบว่าไปไม่ถึงฝั่งฝันเป็นอันต้องพับโครงการกันไป นั่นเป็นเพราะว่า… ขาดการส่งเสริม Learning Agility


Columbia University และ the Center for Creative Leadership ได้ให้คำจำกัดความของ Learning Agility ไว้ว่าคือ วิธีคิดและการรวบรวมแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันที่ช่วยให้บุคคลากรสามารถพัฒนา เติบโต และใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนที่เผชิญในที่ทำงานได้มากขึ้น


สอดคล้องกับที่ Alvin Toffler นักเขียนชาวอเมริกัน ได้พูดถึงความสามารถในการเรียนรู้ โดยการ
Learn: เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
Unlearn: ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา
Relearn: เรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ


==================>>>
กล่าวคือ Learning Agility ไม่ได้หมายถึงแค่การอบรมทักษะความรู้เท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถและความกระตือรือร้นของแต่ละบุคคลในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว และใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการตัดสินใจและแก้ปัญหาใหม่ ๆ ในงานด้วย


ยิ่งในช่วงปีแห่ง Disruption นี้ที่องค์กรต่าง ๆ ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว บุคลากรต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ต้องใช้ทักษะทางเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ๆ และ Soft Skill ที่ใช้รับมือกับปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นล่าสุดของ Korn Ferry หัวข้อ Talent for Tomorrow: Four Secrets for HR Agility in an Uncertain World พบว่าองค์กรที่มี Learning Agility ประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรอื่น ๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ


Korn Ferry ชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบ 5 ด้านที่ใช้ในการวัดระดับ Learning Agility ได้แก่


📌 1. Mental Agility (ความคล่องตัวด้านความคิด)
หมายถึง การยอมรับว่าตัวเองไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง มีความคิดที่รวดเร็ว สนใจเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองใหม่ ๆ ถามคำถามอยู่เสมอและรับฟังเพื่อจะได้คำตอบใหม่ ๆ เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา



📌 2. People Agility (ความคล่องตัวด้านปฏิสัมพันธ์กับคน)
หมายถึง การเปิดใจต่อกลุ่มคนใหม่ ๆ ที่หลากหลาย รับฟัง และตื่นเต้นกับการเรียนรู้วัฒนธรรมหรือวิธีการใหม่ ๆ กล้าที่จะเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์เพื่อมองหาข้อตกลงที่ดีที่สุด



📌 3. Change Agility (ความคล่องตัวด้านการเปลี่ยนแปลง)
หมายถึง ความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ดีในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต จึงมุ่งหวัง ยินดี และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ



📌 4. Result Agility (ความคล่องตัวด้านผลลัพธ์)
หมายถึงการมุ่งส่งมอบผลลัพธ์แม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย รวมถึงการส่งเสริมหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นบรรลุในผลลัพธ์เช่นกัน



📌 5. Self-awareness (การตระหนักรู้ในตนเอง)

หมายถึง การไตร่ตรอง เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง แสวงหาความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึก ค้นหาข้อควรพัฒนาและยอมรับข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ



องค์กรสามารถสนับสนุนให้เกิด Learning Agility ได้โดยการ


👉 1. สื่อสารเป้าหมายภาพรวม สื่อสารให้บุคลากรรับรู้ถึงความสำคัญ ความจำเป็น เป้าหมาย และทิศทางขององค์กรในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กร Agile


👉 2. กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนารายบุคคล ใช้แบบประเมินหรือการทบทวนผลการปฏิบัติงาน และกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนา เปิดโอกาสสำหรับการผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้


👉 3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Agile เช่น การเรียนรู้ข้ามสายงาน (Crossed-functional Learning), การหมุนเวียนงาน (Job Rotation), การให้คำปรึกษาระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Peer Mentoring) เพื่อเปิดโอกาสให้เห็นกระบวนการทำงานจากแผนกอื่น ๆ ช่วยให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เห็นวิธีการ ความเป็นไปได้ และข้อจำกัดที่แตกต่าง เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน รวมถึงการให้รางวัล (Reward and Recognition) สำหรับผลลัพธ์จากการเรียนรู้


👉 4. ใช้แนวคิด Learning Agility ในการสรรหาและคัดเลือก การถามคำถามเพื่อการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มี Learning Agility เช่น• ถามถึงผลลัพธ์ในงาน เช่นผลลัพธ์ในงานของคุณคืออะไร ใช้วิธีการ และวางแผนระยะเวลาอย่างไร?

• ถามถึงปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในฐานะผู้นำ หรือในฐานะทีมงาน เช่นคุณได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือหัวหน้างานอย่างไรบ้าง? คุณได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการพัฒนางานอย่างไร?

• ถามถึงวิธีการจัดการกับปัญหา เช่น คุณมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อนอย่างไร?


• ถามถึงประสบการณ์ในการรับ Feedback เช่นFeedback ที่คิดว่าแรงที่สุดเท่าที่เคยได้รับคืออะไร และคุณมีวิธีการจัดการกับมันอย่างไร?เรียกได้ว่า การจะเป็นองค์กร Agile ที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตั้งแต่การตั้งเป้าหมายองค์กร ทัศนคติในการเรียนรู้ของบุคลากรทุกฝ่าย การให้โอกาสในการเรียนรู้จากหัวหน้างาน รวมถึงระบบการเรียนรู้ และกระบวนการบริหารภายในแบบ Agile


==================>>
คุณผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Agile จาก A Cup of Culture ได้ที่
https://www.facebook.com/108440997253589/posts/317809852983368/
https://www.facebook.com/108440997253589/posts/343772703720416/
.

A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporateculture
culture
.
.
.

.
.
ที่มา:
https://focus.kornferry.com/leadership-and-talent/the-organisational-x-factor-learning-agility/
https://www.digitalhrtech.com/learning-agility/amp/
https://www.ccl.org/articles/leading-effectively-articles/tips-for-improving-your-learning-agility/

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search