ทำไมบางคน Burn Out กับงาน ในขณะที่อีกคนไม่!?


คำว่า “Burnout” หรือ ภาวะหมดไฟ เป็นคำที่เราได้ยินเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้นกับคนคนหนึ่ง ไม่ใช่เพียงแค่ ‘ความรู้สึกหมดแรงที่ใช้เวลาพักผ่อน 1-2 วันแล้วก็หาย’ แต่มันเป็น ‘ความรู้สึกหมดพลังใจ’ ที่ต้องอาศัยการกลับมารับรู้ตนเองภายในถึงจะนำไปสู่การบริหารจัดการตนเอง ไปสู่ทางออกได้…


ซึ่ง ภาวะหมดไฟ มักเกิดจากความรู้สึกต่อตนเองว่า “ฉันไม่สามารถจัดการงานต่าง ๆ ได้ทันเวลา หรือไม่สามารถทำทุกอย่างได้สำเร็จตามที่คาดหวังไว้” ทำให้มีความเครียดสะสม ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน “ภาวะหมดไฟ” ก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นและทำให้คนผู้นั้นเริ่มมีการแสดงออกผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ และความคิด…

  • ด้านร่างกาย เช่น เหนื่อยล้า ไม่สดชื่น หลับยาก หรือไม่อยากกินอาหาร
  • ด้านพฤติกรรม เช่น แยกตัว อยากอยู่คนเดียว หรือขาดความรับผิดชอบในงาน
  • ด้านอารมณ์ เช่น หดหู่ เศร้า น้อยใจ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน
  • ด้านความคิด เช่น มองงานในแง่ลบ มองคนอื่นในแง่ร้าย หรือสงสัยความสามารถตนเอง


บทความจาก Harvard Business Review ได้ศึกษาผลวิจัยที่ชื่อว่า Leading Through Burnout (การนำไปสู่ภาวะหมดไฟ) โดย K. Wiens Dissertation ที่ได้ลงไปประเมินระดับความเครียดของหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ (Chief Medical Officers: CMOs) ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 35 แห่ง สิ่งที่เขาพบคือ หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์มากกว่า 69% ประเมินระดับความเครียดตนเองในเกณฑ์มีความเครียดมาก – เครียดสูง – เครียดอย่างถึงที่สุด แต่หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์เหล่านี้กลับระบุว่า “พวกเขาไม่ได้มีภาวะหมดไฟในการทำงานเลย เพราะเขารู้วิธีจัดการอารมณ์ภายในตนเอง” ซึ่งข้อสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้ที่สามารถช่วยให้เราจัดการภาวะหมดไฟในการทำงานได้คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น อันนำไปสู่ความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม


ภาวะหมดไฟในการทำงานจัดการอย่างไร?


“ภาวะหมดไฟ” เป็นผลมาจากความกดดันภายจิตใจและอารมณ์ของตัวเราเอง หลายคนใช้วิธีหลีกหนี (flight) ด้วยการแยกตัว ใช้สารเสพติดหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นทางออก ในขณะที่อีกคนยอมรับ (Fight) พยายามค้นหาสาเหตุของความเครียดและแก้ไข และอีกมากที่ใช้วิธีเก็บกด ระงับ หรือหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โทษผู้อื่นเพื่อให้รู้สึกสบายใจ (ซึ่งแก้ไขได้ชั่วคราวก็จะกลับมาเครียดอีก) ซึ่งจากบทความนี้นำเสนอ 6 วิธี ที่จะช่วยเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ และช่วยจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงานได้ได้แก่


1. อย่าเป็นต้นเหตุของความเครียดเสียเอง

โดยเฉพาะคนที่มีความคาดหวังสูงในการจะบรรลุเป้าหมายและไปให้ถึงความสำเร็จที่ต้องการ หรือคนที่มีลักษณะ Perfectionist กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มสูงมากที่จะสร้างความเครียดให้กับตนเอง ฉะนั้น อย่าให้ความคาดหวัง ความเพอร์เฟ็คมาเป็นสาเหตุของความเครียด


2. รู้ข้อจำกัดของตนเอง

การรู้จุดแข็ง จุดอ่อน หรือข้อจำกัดของตนเอง จะช่วยให้เรารู้ว่าเราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อใด


3. กลับมาอยู่กับลมหายใจ

การสูดลมหายเข้าลึก – ออกยาว ช่วยชะลออัตราการเต้นของหัวใจและช่วยลดระดับความตึงเครียดภายในลงได้ ดังนั้น ในการใช้ชีวิตประจำวันให้คุณคอยกลับมาตามรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่เสมอ และคอยกลับมารับรู้ลมหายใจเข้าออก


4. ประเมินมุมมองของตนเองต่อสถานการณ์ตรงหน้า

มุมมองของคุณที่ว่า “สถานการณ์นี้คือภัยคุกคาม? หรือสถานการณ์นี้คือสิ่งที่ต้องแก้ไข?” ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับแตกต่างกัน เพราะมุมมองและวิธีคิดของคุณนำพาไปสู่วิธีการที่คุณจะตอบสนองต่อสถานการณ์ผลลัพธ์ที่จะได้รับ


5. ลองเอาตนเองเข้าไปอยู่บทบาทผู้อื่น

ปัญหาความขัดแย้งในทีทำงาน ไม่ว่าจะเป็นทะเลาะกับหัวหน้า เป็นศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน หรือมีปัญหากับป้าแม่บ้านประจำออฟฟิศ ล้วนนำพาไปสู่ความเครียดได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่หากความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหาวิธีลดระดับความขัดแย้งให้เร็วที่สุด เช่น พยายามทำความเข้าใจมุมมองขออีกฝ่าย ไม่เพิ่มระดับความขัดแย้งให้มากขึ้น ฝึกทักษะความเห็นอกเห็นใจในตัวเอง เป็นต้น


6. พิจารณาข้อดี-ข้อเสียของการลาออก

หากท้ายสุดแล้วภาวะหมดไฟยังคงอยู่ ให้ประเมินตนเองและงานที่ทำอยู่ เพื่อดูว่าเรายังเหมาะสมกับงานที่นี้หรือไม่? โดยเริ่มจากการกลับมาถามตนเองว่า “งานที่ทำอยู่มีผลดีต่อตนเองอย่างไรบ้าง? และเกิดผลเสียต่อตนเองอย่างไรบ้าง?” สำคัญคือต้องตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติ

:::::::::::::::

บทสรุป – การรู้เท่าทันภาวะหมดไฟในการทำงาน ยิ่งรู้ไวเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะแปลว่าคุณจะได้สามารถจัดการได้อย่างทันถ่วงที สุดท้าย “ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น อันนำไปสู่ความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม” ไม่ใช่สิ่งที่สร้างวันนี้แล้วพรุ่งนี้จะแข็งแกร่งเลย ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ความอดทน การให้อภัยต่อตนเอง(หากวันนี้ยังทำไม่ได้) และความใจดีต่อตนเองเป็นอย่างมาก


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://hbr.org/2016/11/why-some-people-get-burned-out-and-others-dont
https://www.slideshare.net/KandiWiens/leading-through-burnout-k-wiens-dissertation
https://www.happinessisthailand.com/2022/10/28/burnout-syndrome-spiritualhealth-psychological/
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtafmg/article/download/246394/167520/856042
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search