จะวัด ROI ของวัฒนธรรมองค์กรอย่างไรดี?

อย่างที่ทราบกันว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สัมฤทธ์ผลนั้นต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าองค์กรต้องลงทุนทั้งเวลาและเงินทองไปไม่น้อย โดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องใช้ในการระดมสมองของผู้บริหาร เวลาของพนักงานที่ต้องมาร่วมกิจกรรมต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาให้คำแนะนำ จึงเกิดคำถามดัง ๆ ตามมาว่า “หากต้องควักกระเป๋าจ่ายในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ องค์กรจะวัด ROI (Return On Investment) ของความสำเร็จยังไงดี??”
.

เมื่อไม่นานมานี้นิตยสาร Forbes ได้ทำการสำรวจไปยังกลุ่มสมาชิกซึ่งเป็นผู้บริหารด้าน HR ขององค์กรขนาดกลางขึ้นไปในสหรัฐอเมริกา (Forbes Human Resources Council) ถึงแนวทางในการวัดผลตอบแทนเชิงธุรกิจแบบจับต้องได้ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละองค์กร ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้
.

  1. วัดจากผลการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน (Employee Survey) โดยควรทำให้บ่อยและสม่ำเสมอ เพื่อจะทราบถึงมุมมองที่พนักงานมีต่อองค์กรว่าอะไรทำให้พวกเขามีความสุขและผูกพันกับการทำงานหรืออะไรที่ปิดกั้นไม่ให้พวกเขาปลดปล่อยศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่ และผู้บริหารควรลงมือจัดการโดยเร็ว เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงกับผลทางธุรกิจ
    .
  2. ระบุให้ชัดว่าเราต้องการผลลัพธ์อะไรจากวัฒนธรรมองค์กร เช่น ระบุตัวชี้วัดของค่านิยมแต่ละตัวออกมาให้ชัดเจนว่าเราอยากเห็นอะไรในแต่ละช่วงเวลาที่เราใช้ค่านิยมเหล่านี้ เช่น หากเรามีค่านิยมด้านความใส่ใจกันและกัน (Caring) ก็อาจวัดจากอัตราการลาออกที่ลดลงหรือผลคะแนนความผูกพันของพนักงานที่สูงขึ้น หากเป็นเรื่องการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ก็อาจวัดที่ ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าเป็นต้น
    .
  3. วัดจากตัวชี้วัดที่เหตุ (Lead Measure) ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงปราถนา อาจจะเป็นการยากที่เราจะเชื่อมโยงวัฒนธรรมองค์กรไปถึงผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข แต่เราสามารถดูปัจจัยที่วัดได้ง่ายกว่าและเชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์เรื่องตัวเลข เช่น หากเราพบว่าการที่พนักงานขายไปพบลูกค้ารายเดิมทุกสัปดาห์จะมีผลต่อยอดขายแน่ๆอย่างน้อย15% เราก็ไปติดตามและส่งเสริมที่พฤติกรรมนั้นแทน
    .
  4. วัดจากการรักษาคนเก่งไว้ได้ (Employee Retention) เพราะสองสิ่งนี้เป็นผลลัพธ์จากการที่องค์กรหนึ่งๆมีวัฒนธรรมที่ดี มีวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจนและสามารถสื่อสารไปยังพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้พนักงานผูกพันกับองค์กร สนุกไปกับการทำงานและไม่เปลี่ยนงาน ซึ่งจะส่งผลถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะลดลงที่อย่างเห็นได้ชัด
    .
  5. วัดความรู้สึกของพนักงานมีต่อองค์กรในเชิงข้อมูล (Employee Sentiment Data Analysis) โดยปัจุบันได้นำเทคโนโลยีด้าน Data Analytics มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาษาที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็คโทรนิคส์ต่างๆ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหรือพยากรณ์ผลลัพธ์ในการทำงานของพนักงานแต่ละคนได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ
    .
  6. วัดจากการความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากมีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีมักจะส่งผลต่อกำไรด้วยในที่สุด ด้วยตรรกะที่ว่า หากพนักงานร่วมวิสัยทัศน์ขอองค์กร มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรแล้ว ก็มักจะทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มที่ และเป็นไปอย่างต่อไม่สะดุดเนื่องจากมีอัตราการลาออกที่น้อย
    .

และนี่คือแนวทางที่ท่านสามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรของท่านได้เมื่อคิดถึงผลลัพธ์ที่จับต้องได้ของวัฒนธรรมองค์กร
..
..
A Cup of Culture

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search