กรณีศึกษาของ Microsoft: องค์กรที่ก้าวข้ามคำว่า Engagement ไปแล้ว ตอนที่ 1

วันนี้ A Cup of Culture ขอนำบทความดี ๆ เกี่ยวกับบริษัท Microsoft มาแบ่งปันกับทุกท่าน องค์กร tech ยักษ์ใหญ่เบอร์ต้นของโลกที่พึ่งพา data ในการบอกว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้พนักงานมีชีวิตที่ดีและมีความสุข โดยเร็ว ๆ นี้ คุณ Dawn Klinghoffer, Head of People Analytics ของบริษัท ได้ออกมาแบ่งปันว่า ⁣⁣
⁣⁣
“สิ่งหนึ่งที่จริงแท้แน่นอนที่สุด คือ เราทุกคนในวันนี้ เปลี่ยนไปเป็นคนละคนโดยสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับเราในช่วงปลายปี 2019 ก่อนโควิด” เมื่อตัวเราหรือพนักงานทุกคนเปลี่ยนไปกันหมดแล้ว วิธีการในการดูแลคนก็ต้องเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงด้วยหรือเปล่า? ⁣⁣
⁣⁣
ด้วยการตั้งคำถามนี้เอง ทำให้ในที่สุดทีม People Analytics ค้นพบวิธีการวัดผลความยึดโยงของพนักงานใหม่ที่เป็นขั้นกว่าของ engagement เรียกว่า thriving คำ ๆ นี้แปลเป็นภาษาไทยได้ยากทีเดียว หมายถึงได้ทั้งความเจริญรุ่งเรือง ความเฉิดฉาย และการเติบโต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่ออ่านบทความนี้จบ เราทุกคนจะเข้าใจความหมายของคำว่า employee thriving ได้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้นครับ⁣⁣
⁣⁣
:::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
🔰 ทำไม thriving ถึงเป็นแสงดาวเหนือนำทางดวงใหม่? (Why Thriving Is the New North Star)⁣⁣

⁣⁣
ก่อนหน้านี้ เฉกเช่นบริษัททั่ว ๆ ไป Microsoft ก็ทำแบบประเมินความพึงพอใจพนักงานเพียงปีละหนึ่งครั้ง ใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ในการเก็บและย่อยข้อมูล ตลอดจนคลอดแผนการต่าง ๆ ที่จะตามออกมาโดยอ้างอิงจากผลประเมินประจำปีนั้น ๆ ⁣⁣
⁣⁣
กระนั้นก็ตาม บริษัทกลับรู้สึกว่า เมื่อเทียบกับเวลาที่ทุ่มลงไป ก็ยังเหมือนเกาไม่ถูกที่คัน เพราะแม้ดูเผิน ๆ ผลประเมิน employee engagement จะออกมาดูดีอยู่ทุกปี แต่เมื่อลงไปดูในรายละเอียด พนักงานเป็นจำนวนมากก็ยังคงมีปัญหาจิปาถะที่ส่งผลต่อความรู้สึกยึดโยงต่อองค์กรอยู่ดี⁣⁣
⁣⁣
ตรงนี้เองที่ Microsoft ตระหนักแล้วว่าปัจจัยชี้วัดสุขภาวะกายใจของพนักงานที่มีผลต่อความรู้สึกยึดโยงนั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์ คือ พลาดปัจจัยบางอย่างไป หรือที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่ นั่นทำให้องค์กรศึกษาหา how to ใหม่ ๆ อย่างเอาจริงเอาจัง จนในที่สุดคุณ Kathleen Hogan, Chief People Officer ของ Microsoft ก็ค้นพบมาตรชี้วัดที่ไปไกลกว่าคำว่า engagement survey เรียกว่า The 5P’s ⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
The 5P’s ซึ่งมีแนวคิดคล้าย ๆ กับ Maslow’s Hierarchy คือ แบ่งสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการของพนักงานออกเป็นห้าด้าน ได้แก่ pay, perks, people, pride, และ purpose มัดห้าข้อนี้รวมกันเรียกว่า employee thriving พร้อมนิยามเฉพาะตัวว่าหมายถึง ความรู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจที่จะทำงานที่มีคุณค่า (to be energized and empowered to do meaningful work)⁣⁣
⁣⁣
นิยามนี้ ในบริบทของทีม People ที่ Microsoft ก็คือการผลักดันตนเองให้ทำดีที่สุดในทุก ๆ วัน เพื่อสร้าง sense of purpose หรือรู้ว่าตนเองมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไรให้กับพนักงานทุกคน เพราะ thriving ไม่ใช่แค่เรื่องของความสามารถในการฟื้นฟูตนเองจากผลกระทบของโควิดอย่างเดียว แต่หากหมายรวมถึงว่าแล้วทุกคนจะเจริญงอกงามได้ดียิ่งกว่าเดิมได้อย่างไร⁣⁣
⁣⁣
เมื่อได้มาตรชี้วัดตัวใหม่อย่าง 5P’s มาแล้ว Microsoft ก็ได้จัดทำแบบประเมินชุดใหม่ขึ้นมาทันที โดยมีคะแนนให้ประเมินตั้งแต่ strongly disagree ซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ ไล่ไปจนถึง strongly agree ซึ่งมีค่าเท่ากับหนึ่งร้อย ผลสำรวจแสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยความ thrive ของคนทั้งองค์กรอยู่ที่ 77 คะแนน⁣⁣
⁣⁣
ในพาร์ทที่สอง เราจะมาดูกันว่าเมื่อ Microsoft ขุดลึกลงไปในชุดข้อมูลเพื่อหาที่มาที่ไปของ 77 คะแนน พวกเขาเจออะไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นมีวัฒนธรรมองค์กรอยู่ด้วย⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search