3 ปัจจัยรับมือกับยุคที่คนไม่อยากทำงาน

กระแสการพูดถึงพนักงานรุ่นใหม่ว่าไม่ค่อยกระตือรือร้นกับงาน ถึงขนาดที่บางคนใช้คำว่า “ขี้เกียจ” กันไป สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมา คือ “ความรู้สึกว่า… พนักงานในยุคปัจจุบันมีความทะเยอทะยานที่ลดน้อยลงกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด! โดยเฉพาะหลังยุคโควิด” วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันถึงสาเหตุ และวิธีรับมือกับเรื่องนี้กัน


ความทะเยอทะยานที่ลดลงของพนักงานในยุคปัจจุบันนี้กำลังสร้างปัญหาให้กับหลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะในบริบทของการทำงานระหว่างเจเนอเรชั่น ที่ผู้จัดการหลายคนกำลังเอือมระอากับทีมงานที่ไม่ค่อยจะกระตือรือร้นเท่าไหร่ แต่นอกเหนือจากการบ่น หรือพยายามกวดขันให้มากขึ้นแล้ว การพิจารณาถึงแรงกระตุ้นที่เปลี่ยนไปของยุคปัจจุบันก็เป็นหนึ่งในสิ่งดีที่องค์กรควรลองพิจารณา


::::::::::::::::::::

ความทะเยอทะยานเป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากว่าเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีกันแน่ เมื่อพูดถึงระดับของความทะเยอทะยานที่พอเหมาะแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของเราคือเราล้วนต่างต้องการบางสิ่งบางอย่างให้ฟันฝ่า แต่ไม่ใช่เราจะอยากพยายามไปกับทุกสิ่งอย่างโดยเฉพาะเมื่อมันส่งผลต่อสุขภาพกายและใจเรา


และนอกจากนั้นยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความทะเยอทะยานของเรา ตั้งแต่การที่เราอยู่ในโลกที่สะดวกสบายกว่าเดิมขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงอายุขัยของมนุษย์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้เราในปัจจุบันไม่ต้องรีบอะไรมากขึ้นจนวัย 30 ในปัจจุบันเพิ่งจะเหมือน 18 สมัยก่อน


นอกจากนั้นแล้วงานวิจัยยังพบว่าคนเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานเท่ากับเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว 36% ระบุว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาความอยากก้าวหน้าในอาชีพการงานเริ่มลดลง ในขณะที่ 52% รายงานว่าความทะเยอทะยานของพวกเขาไม่ได้ติดอยู่ที่ตัวองค์กรใดองค์กรหนึ่ง และสุดท้ายแล้ว 56% รายงานว่าการใช้เวลากับครอบครัวนั้นสำคัญกว่าการทำงานหาเงิน


สังเกตได้ว่าเมื่อเรามองในมุมนี้แล้วเราจะเห็นว่าเบื้องหลังพนักงานที่เราเรียกว่าขี้เกียจนั้น ส่วนประกอบสำคัญหนึ่งคือความทะเยอทะยานที่ลดลงทั้งตลาดแรงงาน ดังนั้นสิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อรับมือกับสถานการณ์แบบนี้คือหาทางใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงนี้ หรือคือการส่งเสริมระดับความทะเยอทะยานให้พอดี


:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ความทะเยอทะยานที่มากไป โดยเฉพาะกับสิ่ง’นอกตัว’ เช่น พยายามหาเงินเยอะ ๆ มักนำมาสู่การ burnout ความสัมพันธ์ที่แย่ และชีวิตที่เสื่อมถอยในทุก ๆ ด้าน หรือในนิยามของนักจิตวิทยา Richard Ryan เรียกความทะเยอทะยานที่เกินไปในอีกชื่อว่าเป็น ‘ความโลภ (Greed)’ ในขณะที่ความทะเยอทะยานที่น้อยเกินไปทำให้ชีวิตไม่ไปไหน และทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ

ความทะเยอทะยานในระดับที่พอดี จะช่วยให้ความมีชีวิตชีวากับชีวิตมากขึ้น พร้อมกับความสำเร็จที่มากับการลงแรง ความพึงพอใจในชีวิต และที่ทำงาน ความทะเยอทะยานที่พอดีนี่แหละคือสิ่งที่ควรเป็นเป้าหมายที่องค์กรส่งเสริม

โดยมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ


Purpose


ความทะเยอทะยานในการไล่ตามสิ่งภายนอกอย่างเช่นอำนาจ เงิน หรือชื่อเสียงมักนำไปสู่ความเครียด และการ burnout แต่ความทะเยอทะยานที่พอดีคือการเป็นแรงขับในการตามทำเพื่อจุดประสงค์บางอย่างที่มากกว่าแค่เพื่อตัวเอง หรือคือการทำงานในองค์กรที่มี purpose ชัดเจนให้กับพนักงานได้ใช้แรงขับเหล่านั้นไปในทิศทางที่ถูกต้อง


องค์กรที่ดึงแรงขับของพนักงานมาใช้ในการทำยอดขาย หรือทำกำไรเพียงอย่างเดียว สร้างวัฒนธรรมองค์กรของการทำเพื่อเงิน ซึ่งแม้จะแน่นอนว่าเป็นจุดประสงค์ของการทำธุรกิจ แต่การทำเพื่อเงินเพียงอย่างเดียวนั้นมักสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานพากัน burnout และลาออก


สิ่งสำคัญคือการที่องค์กรต้องกำหนดเป้าหมายที่นอกเหนือไปจากยอดกำไร เพื่อให้พนักงานได้มีสิ่งที่พวกเขามุ่งมั่น และตั้งหน้าตั้งตาพยายามไปสู่เป้าหมายนั้นคือการใช้ความทะเยอทะยานไปในทิศทางที่ดีในระยะยาว


Core Values


สิ่งสำคัญถัดมานอกเหนือจาก purpose แล้วก็คือ Core Values องค์กร นั่นเป็นเพราะแม้องค์กรจะกำหนดเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาแล้วก็ตาม ถ้าพนักงานใช้วิธีการใด ๆ ก็ตามเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย ก็เป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ที่องค์กรจะหลงทาง และกลับมาตามไล่ล่าเป้าหมายเชิงตัวเลขที่จับต้องได้มากกว่าแทน


Core Values จะช่วยเป็นตัวกำหนดถึงสิ่งที่เรา โอเค และไม่โอเค ที่จะทำ และคอยกำกับให้เส้นทางการไปสู่ purpose ขององค์กรนั้นไม่หลงทาง ดังนั้น Core Values ที่ดีขององค์กรควรที่จะสอดคล้องกับ purpose และออกแบบมาเพื่อให้ทั้งองค์กรไม่ออกนอกลู่นอกทาง และความทะเยอทะยานไม่กลายเป็นความโลภ


Focus on Result


นอกเหนือจากการหลงลืม Value แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรมักหลงลืมคือ สิ่งที่สำคัญต่อผลลัพท์ไม่ใช่ชั่วโมงการทำงาน แต่เป็นคุณภาพของผลงาน หลายองค์กรติดกับดักว่าพนักงานที่ทำงานยุ่ง ๆ ตลอดเวลาคือพนักงานที่ดี ในขณะที่พนักงานที่ทำงานตามเวลาคือพนักงานที่ขี้เกียจ โดยไม่ได้มองไปยังผลลัพท์ที่พนักงานทั้งสองแบบให้แตกต่างกัน


โดยงานวิจัยชี้ชัดว่าพนักงานมักถูกมองว่า ‘ขี้เกียจ’ นั้นคือพนักงานมักจะมี IQ สูงกว่า และเบื่อง่ายกว่ากลุ่มพนักงานดูขยัน โดย Bill Gates เองก็มองว่าพนักงานกลุ่มนี้คือกลุ่มพนักงานที่ดีกว่า และจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าพนักงานที่ขยัน


::::::::::::::::::::::::::::::::::;;

ดังนั้น หนึ่งในสิ่งที่องค์กรต้องทำเพื่อรับมือกับปัญหาพนักงานขี้เกียจคือ การตรวจสอบให้ดีว่าพนักงานที่เรามองว่าขี้เกียจนี้เป็นข้อเสียจริง ๆ หรือพวกเขากำลังสร้างผลลัพท์ที่ดีโดยใช้เวลาน้อยกว่าคนขยัน

และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อรับมือกับระดับความทะเยอทะยานของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป คือการตั้งเป้าหมายเป็นการส่งเสริมความทะเยอทะยานที่ถูกจุดโดยการมี purpose ที่น่าตื่นเต้นมากกว่าตัวเงินให้พนักงานได้พยายามฟันฝ่า พร้อมกับมี Core Values ที่ช่วยกำกับไม่ให้องค์กรหลงทางในการไปสู่เป้าหมายนั้น และสุดท้ายคือมองไปที่ผลลัพท์ที่พนักงานสร้าง มากกว่าแค่เรียกร้องให้เขาใช้เวลากับงานให้มากขึ้น


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture


References:

https://hbr.org/2020/04/how-ambitious-should-you-be

https://www.wundermanthompson.com/insight/new-trend-report-generation-z-building-a-better-normal

top
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search