กรณีศึกษาของ Microsoft: องค์กรที่ก้าวข้ามคำว่า Engagement ไปแล้ว ตอนที่ 2

ในตอนที่แล้ว เราพูดกันถึงว่า Microsoft ได้ก้าวข้ามจากคำว่า engagement มาสู่ thriving ได้อย่างไร โดยมีหลักการใหม่ในการวัดความพึงพอใจของพนักงาน ที่ล้อไปกับ Maslow’s Hierarchy of Needs เรียกว่า The 5P’s ว่าด้วย 5 มิติแห่งความพึงพอใจ ได้แก่ pay, perks, people, pride และ purpose⁣⁣
⁣⁣
โดยเมื่อนำมาตรชี้วัดใหม่นี้ไปสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อ ก็ได้ผลลัพธ์เฉลี่ยที่ 77/100 คะแนน และเพื่อใช้ข้อมูลที่ได้มานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เข้าใจพนักงานให้ได้มากที่สุด ทีม People Analytics จึงวิเคราะห์ลึกลงไปถึงคำตอบของคำถามปลายเปิด และพบว่ามีอยู่สามเรื่องที่โดดเด่นออกมากว่าใครเพื่อน⁣⁣
⁣⁣
:::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔵 1) วัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่สำคัญ (Culture matters)⁣⁣
⁣⁣
เชื่อหรือไม่ว่าทั้งพนักงานที่รู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจในการทำงาน กับพนักงานกลุ่มที่ห่อเหี่ยว แห้งเฉา ล้วนพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วยกันทั้งสิ้น แต่ในบริบทที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง⁣⁣
⁣⁣
พนักงานกลุ่มแรก กลุ่มที่มีความสุข พูดย้ำ ๆ ในแบบสอบถามถึงสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความร่วมมือ (collaborative environment) ตลอดจนว่าเขาและเพื่อนร่วมงานมี teamwork ที่ยอดเยี่ยมอย่างไร ทั้งยังเรื่องของอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงาน สำคัญที่สุด คือ สภาพแวดล้อมที่อนุญาตให้ทุกคนพูดสิ่งที่คิดได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่กลัวถูกตัดสิน มุ่งเน้นที่วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง⁣⁣
⁣⁣
ในทางตรงกันข้าม พนักงานกลุ่มที่สอง พูดถึงอย่างมากเกี่ยวกับระบบงาน siloes ที่มีลำดับขั้นซับซ้อน และปราศจากซึ่งความร่วมมือ แทบทุกคนเปรียบตนเองเป็นเพียงหนูถีบจักรที่มาทำงานให้เสร็จไปวัน ๆ เท่านั้น⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔵 2) ผู้จัดการคือผู้เล่นคนสำคัญ⁣⁣
⁣⁣
หนึ่งในมาตรชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าพนักงานพึงพอใจกับชีวิตประจำวันของตนเองในบริษัทหรือไม่ คือ ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการนำทางพนักงานไปสู่เส้นทางของความเจริญรุ่งเรืองท่ามกลางความไม่แน่นอนในปัจจุบัน⁣⁣
⁣⁣
ซึ่ง Microsoft ให้ความสำคัญกับบทบาทของตำแหน่งผู้จัดการมาอย่างยาวนาน และคะแนนประเมินโดยอิงจาก The 5P’s ก็ยืนยันเช่นนั้น ผู้จัดการปฏิบัติต่อฉันด้วยความให้เกียรติและเคารพ ได้คะแนนเฉลี่ยจากพนักงานทั้งองค์กรสูงถึง 93% นั่นหมายความว่าพนักงานเกือบทั้งหมดในทุกภาคส่วนกาช่องเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับข้อเท็จจริงในแบบสอบถามนี้ นอกจากนี้ คะแนนความพึงพอใจต่อตัวผู้จัดการของพนักงานในมิติอื่น ๆ ก็สูงไม่แพ้กัน เช่น ฉันมีความมั่นใจในศักยภาพและฝีมือของผู้จัดการ ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 87% หรือ ผู้จัดการสนับสนุนให้ฉันได้เติบโตในสายอาชีพที่ 85% ตามลำดับ⁣⁣
⁣⁣
ภารกิจของ Microsoft ไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะองค์กรต้องการทำให้แน่ใจว่าความพึงพอใจต่อผู้เล่นคนสำคัญอย่างหัวหน้างานนี้ต้องกระจายไปสู่พนักงานทุก ๆ คนอย่างทั่วถึง นั่นหมายความว่าเราอาจจะเห็น 93 คะแนนขยับเข้าใกล้ 100 คะแนนเต็มมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือ 80 กว่าคะแนนที่พร้อมจะทะยานสู่ 90 คะแนนขึ้นไปในเร็ววันนี้⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔵 3) Thriving กับ Work-Life Balance คือคนละเรื่องกัน⁣⁣
⁣⁣
Thriving ซึ่งหมายถึงความฮึกเหิม เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ณ ขณะที่กำลังทำงาน กับ work-life balance ซึ่งโฟกัสไปที่สัดส่วนของเวลางานกับเวลาส่วนตัว นั้นถือเป็นคนละเรื่องกัน เพราะจากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่มี thriving score สูง ก็อาจให้คะแนน work-life balance ของตัวเองน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม พนักงานที่รู้สึกว่าตัวเองบริหารเวลางานและเวลาส่วนตัวได้ดีเยี่ยม ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมีพลังเวลาทำงานได้เช่นเดียวกัน⁣⁣
⁣⁣
เพื่อคลำหาต้นตอสำคัญของสองคำนี้ให้เจอ ทีม People Analytics จึงได้ทำการเปรียบเทียมกลุ่มประชากรที่ให้คะแนนสูงทั้งเรื่อง thriving และ work-life balance ซึ่งมีอยู่ 56% กับกลุ่มประชากรที่ให้คะแนนสูงเรื่อง thriving แต่กลับให้คะแนน work-life balance ต่ำ ซึ่งมีอยู่ 16%⁣⁣
⁣⁣
เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน จึงพบว่าพนักงานที่ให้คะแนนสูงทั้งสองข้อ หรือที่เรียกว่า the best of both worlds มีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 5 ชั่วโมง มีชั่วโมงที่ต้องติดต่อประสานงานหรือประชุมกับเพื่อนร่วมงานน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่อีก 5 ชั่วโมง มีเวลาโฟกัสกับงานตรงหน้าตัวเองมากกว่าค่าเฉลี่ย 3 ชั่วโมง และมี internal network size หรือคนที่ต้องพูดคุยด้วยน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 17 คน⁣⁣
⁣⁣
:::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
ข้อมูลข้างต้นทำให้เห็นว่า collaboration ที่มากเกินไปก็ส่งผลกระทบเชิงลบได้เช่นเดียวกัน คือประชุมถี่จนไม่มีเวลาทำงานของตัวเองให้ดี สุดท้ายก็ต้องนำเวลาส่วนตัวมาสะสางงานคงค้างจนเสีย work-life balance ในที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งตัวเราและคนในทีมจะต้องบริหารเวลาที่ใช้ร่วมกันอย่างพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะเรื่องนี้ส่งผลต่อชีวิตการทำงานของเราได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture
.
.

Resources:
https://hbr.org/2022/06/why-microsoft-measures-employee-thriving-not-engagement

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search