5 องค์ประกอบ เพิ่มขีดความสามารถ L&D ด้วย Superlearning

จาก Global Human Capital Trends 2020 ของ Deloitte แสดงให้เห็นว่าองค์กรชั้นนำต่างให้ความสำคัญกับ Superjobs และ Superteams เพื่อก้าวให้ทันแนวคิดเหล่านี้ L&D จึงต้องปรับตัวในการสนับสนุนการเรียนรู้แบบ Superlearning เพื่อให้มีความสามารถเพียงพอในการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ในบริบทที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแบบก้าวกระโดด.Superjobs และ Superteams เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพงานโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับคน เช่นการพัฒนาระบบการทำงานอัตโนมัติเพื่อทดแทนแรงงานคน การเพิ่มกำลังคนด้วยเทคโนโลยีเพื่อสร้าง Superjobs ไปจนถึงการส่งเสริมการทำงานร่วมกันด้วยเทคโนโลยีเพื่อสร้าง Superteams.


นับว่าเป็นบทบาทที่ท้าทายของ L&D ในการออกแบบการเรียนรู้ แบบ Superlearning ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลในด้าน Cost และ Value ซึ่งหมายถึงการเพิ่มความสามารถในระดับบุคคล ทีม และองค์กรที่จะนำไปสู่คุณภาพและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่มี Meaning ที่มาจากความเข้าใจความต้องการและสิ่งที่พนักงานให้คุณค่า ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านอื่น ๆ รวมถึงการดึงดูด Talent และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างแท้จริง.เพื่อส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว Deloitte ค้นพบ 5 องค์ประกอบสำคัญ ที่ L&D สามารถพิจารณาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาไปสู่ Superlearning ได้แก่


1. Data: ใช้ข้อมูลวิเคราะห์วางแผนการเรียนรู้


การพัฒนาความรู้และทักษะใหม่อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์หาความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ที่ตรงจุดและทันสมัยอยู่เสมอ ประโยชน์หลัก ๆ ที่จะได้จากการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ออกแบบการเรียนรู้ ได้แก่
• ได้ข้อมูลรายบุคคลที่ตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทในการทำงาน เช่น ลักษณะการทำงาน โครงการ กิจกรรม ชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา รวมถึงความสนใจของพนักงานแต่ละคน
• การวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ร่วมกับข้อมูล Talent เพื่อวางกลยุทธ์ในการรักษาและพัฒนาคนเก่ง
• เชื่อมโยงข้อมูลกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ที่สอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์องค์กรในเชิงรุก
• การเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอกเพื่อวางแผนการพัฒนาอย่างเท่าทัน..


2. Process: ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่


เพื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบ Digital การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนใน 2 มิติได้แก่
• ปรับจากการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-driven) เป็นการเริ่มต้นด้วยประสบการณ์ของผู้เรียน (Learner’s experience) โดยการกำหนดกลุ่มผู้เรียนเช่น ฝ่ายผลิต admin ฝ่ายขาย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จากนั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ที่แตกต่างไปตามกลุ่มผู้เรียน เช่น โปรแกรม onboarding การพัฒนาภาวะผู้นำ หรือขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
• ปรับจากการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความรู้ภายใน (Internal) สู่การเรียนรู้ภายนอก (External) โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เพิ่มมูลค่านอกเหนือจากสิ่งเดิม ๆ ที่เคยมีในองค์กร ด้วยการศึกษาจากองค์กรตัวอย่าง (Best practice) การเปรียบเทียบกับองค์กรที่มีรูปแบบธุรกิจใกล้เคียง (Benchmarking) หรือการร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนรู้ (Networking) วิธีการเหล่านี้จะช่วยสร้างความท้าทาย และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากยิ่งขึ้น ..


3. Content: กำหนดเนื้อหาและแหล่งความรู้ให้เข้าถึงได้ในเวลาที่ต้องการ


แม้ว่าในปัจจุบันองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับ Microlearning แต่ด้วยความจำกัดของบริบทที่แตกต่างจึงยังคงใช้ Macrolearning ควบคู่กันไป ความท้าทายก็คือแนวโน้มความต้องการในการเปลี่ยนแปลงจากการจัดการเรียนรู้ตามระดับตำแหน่ง เป็นการจัดตามระดับของงานกำลังเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องการเนื้อหาแบบ Microlearning ซึ่งต้องสั้น กระชับ และเพียงพอที่จะหยิบไปใช้เพื่อตอบโจทย์งานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถค้นหาเนื้อหาที่เหมาะสมหรือจำเป็นต่องานที่ทำอยู่ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ (Just in time learning)..


4. Technology: ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้


ตัวช่วยที่สำคัญในการวางระบบการเรียนรู้แบบ Superlearning ก็คือเทคโนโลยี ตั้งแต่กระบวนการการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ จัดเก็บ จนถึงรูปแบบและช่องทางที่เอื้อต่อการเข้าถึงของผู้เรียน ในช่วงที่นวัตกรรมกำลังเติบโต มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย สิ่งที่ L&D สามารถทำได้คือการสำรวจหาทางเลือกที่หลากหลาย และทำการทดลองโดยเริ่มจาก Pilot Project เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับบริบทในองค์กรและการพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้อย่างดีที่สุด ..


✅ 5. People: เสริมความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนบทบาทสำคัญของทีม L&D


บทบาทของทีม L&D ทุกวันนี้ไม่ได้เป็นเพียงการจัดการโปรแกรมการเรียนรู้หรือหลักสูตรการฝึกอบรมอีกต่อไป แต่ทีม L&D จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการสร้างบุคลากรคุณภาพ โดยการออกแบบและส่งมอบประสบการณ์การเรียนรู้ ตลอดจนการนำการเรียนรู้เข้าสู่กระบวนการทำงาน ทักษะใหม่ ๆ ของ L&D จึงมีความจำเป็นเพื่อความเป็น Business Partner อย่างแท้จริง โดยการริเริ่มและผลักดันการเรียนรู้ที่สนับสนุนเป้าหมายองค์กร เก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อตอบโจทย์ความต้องการการเรียนรู้ได้อย่างตรงจุด สรรหาความรู้ทางเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับระบบการเรียนรู้ รวมถึงการค้นหาผู้เชี่ยวชาญ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรอย่างไม่หยุดนิ่ง .


การผลักดันให้เกิดการเรียนรู้แบบ Superlearning โดยการบูรณาการการเรียนรู้เข้ากับขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ จะช่วยสร้าง Impact ให้กับองค์กรทั้งในเชิงโอกาสในการแข่งขันและการพัฒนา รวมไปถึงความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต การปรับเปลี่ยนนี้จะเกิดขึ้นได้จากการผสมผสานของหลากหลายองค์ประกอบ และใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะจนกว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม และแน่นอนว่าองค์กรที่ได้เปรียบคือองค์กรที่คิดและลงมือทำได้ก่อน

A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.

ขอบคุณข้อมูล
https://www2.deloitte.com/us/en/insights/focus/technology-and-the-future-of-work/reskilling-the-workforce.html
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search