สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วย Action Learning

Albert Einstein กล่าวไว้ว่า “ถ้าฉันมีเวลา 1 ชั่วโมงในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญมาก ๆ ฉันจะใช้เวลา 55 นาทีในการตั้งคำถามดี ๆ เกี่ยวกับปัญหานั้น และใช้เวลา 5 นาทีในการคิดวิธีแก้ปัญหา” .เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมีประสบการณ์ในการใช้เวลาอันยาวนานเพื่อพูดคุยระดมสมองหาทางแก้ไขปัญหา และท้ายที่สุดก็พบว่าวิธีการแก้ปัญหานั้นมันไม่เวิร์ค สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเรามักจะรีบหาวิธีและลงมือแก้ปัญหาโดยยังไม่มีข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอ และยังไม่รู้ถึงปัญหาที่แท้จริง .


#ActionLearning เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเท่า ๆ กับการเรียนรู้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1940 โดย Reg Revans ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ และได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ The World Institute for Action Learning (WIAL) จนปัจจุบันหลายองค์กรทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความรู้สึกปลอดภัยในทีม (Team Psychological Safety) สร้างทีมประสิทธิภาพสูง และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้แทนที่จะใช้วิธีการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาแบบเดิมๆ กระบวนการ Action Learning พาทีมถอยกลับมาหนึ่งก้าวโดยเริ่มจากการเล่าโจทย์ปัญหา ทีมรับฟัง ถามคำถาม และช่วยกันหาข้อสรุปร่วมถึงปัญหาที่แท้จริง แนวทางการแก้ปัญหา และท้ายที่สุดคือการให้คำมั่นสัญญาถึงสิ่งที่สมาชิกในทีมจะกลับไปลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหานั้น โดยมีโค้ชช่วยสะท้อนการเรียนรู้ระหว่างกระบวนการ .


Action Learning ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้..


📌1. ปัญหา (Problem)
ปัญหาที่เป็นโจทย์ตั้งต้น อาจจะเป็นปัญหาของบุคคล ทีม หรือองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน สำคัญ ยังคิดหาวิธีแก้ไขไม่ได้ และสมาชิกในทีมอย่างน้อยหนึ่งคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหานั้น ยิ่งปัญหาซับซ้อนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของทีมได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น การจัดสรรเวลาเพื่องานและครอบครัว การพัฒนาการให้บริการลูกค้าในช่วง Social Distancing หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นต้น..


📌 2. ทีม (Team)
ทีมประกอบด้วยสมาชิก 4-8 คนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง ผู้เชี่ยวชาญในปัญหานั้น ๆ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหานั้น หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นเลย โดยทั่วไปในการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหา เราจะได้รับความคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะ มากมายจากสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์คล้ายกัน ผู้ที่มีไอเดียดี ๆ และกล้าพูด ในขณะที่สมาชิกบางคนอาจไม่ได้มีส่วนร่วมเท่าที่ควรด้วยเหตุผลหลากหลายประการ กระบวนการ Action Learning จะส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และหาวิธีแก้ปัญหานั้นจริง ๆ ..


📌 3. คำถามและการสะท้อนปัญหา (Questioning and Reflective Listening)
คำถามที่ดีเปิดโอกาสให้ทีมได้คิดในมุมที่ต่าง และท้าทายขีดจำกัด สมาชิกในทีมทุกคนมีจึงหน้าที่ในการรับฟังอย่างตั้งใจ สะท้อนปัญหา และตั้งคำถามดี ๆ เพื่อให้ทีมมี โอกาสได้เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ก่อนจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหา นอกจากนั้นยังช่วยให้ทีมเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจ และความสัมพันธ์ที่ดีในทีม..


📌 4. การลงมือทำ (Action)
การเรียนจะสมบูรณ์จะสมบูรณ์ไม้ได้เลยถ้าปราศจากการลงมือทำ หลังจากที่ทีมช่วยกันตั้งคำถาม รับฟังอย่างตั้งใจเพื่อเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง และนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว กระบวนการ Action Learning จะส่งเสริมให้สมาชิกในทีมนำแนวทางเหล่านั้นไปสู่การลงมือทำจริง..


📌 5. การเรียนรู้ (Learning)
ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ Action Leaning นอกจากวิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ก็คือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่
• การเรียนรู้ระดับบุคคล จากการฝึกสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม หรือค่านิยมที่ต้องการจะส่งเสริม เช่น การคิดรอบด้าน การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้วางใจ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
• ระดับทีม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยการรับฟัง การตั้งคำถาม การทำความเข้าใจปัญหาจากหลากหลายคำถาม หลากหลายมุมมอง
• ระดับองค์กร จากการที่สมาชิกในทีมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ..


📌 6. โค้ช (Action Learning Coach)
โค้ช ทำหน้าที่ในการรักษากฎกติกาของ Action Learning และสะท้อนการเรียนรู้กับทีมด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเช่น การฟังของทีม คุณภาพของคำถาม และการมีส่วนร่วมของทีม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะที่สมาชิกในทีมแต่ละคนต้องการพัฒนา และการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด .แนวคิดดหลักจาก Reg Revans ก็คือ “ไม่มีการเรียนรู้ใดที่จะสมบูรณ์หากปราศจากการลงมือทำ และไม่มีการลงมือทำใดที่จะสมบูรณ์หากปราศจากการเรียนรู้“ และนั่นก็คือที่มาของ Action Learning .


ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Optimizing the Power of Action Learning https://wial.org/
https://www.facebook.com/Wialthailand
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search