4 ปัจจัยหลักที่ทำไมทำงานแบบครอบครัวถึงไม่เวิร์ค

คำว่า “ทำงานแบบครอบครัว” ดูเป็นคำที่ช่วยสร้างอารมณ์หวานชื่นให้กับองค์กร เพราะข้อดีของมันคือ การช่วยสร้าง sense of belonging ให้กับทุกคน ซึ่งหากดูเผิน ๆ แล้วมันคงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ใช้ชีวิตในการทำงานเสมือนการได้อยู่กับครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้วผลการศึกษาจาก Rivers State University กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม 4 ประการ ได้แก่ ⁣⁣
⁣⁣
=============⁣⁣
⁣⁣
❗1. คำว่า “ครอบครัว” ทำลายพื้นที่ส่วนตัว⁣⁣
⁣⁣
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงานในระดับใกล้ชิด รวมไปถึงไม่ได้ต้องการให้ชีวิตตัวเองถูกตั้งอยู่บนองค์กร แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับต้องการสงวนชีวิตส่วนตัวไว้สำหรับอย่างอื่นนอกจากการทำงาน แต่เมื่อองค์กรมีวัฒนธรรมในแบบของ “ครอบครัว” นั่นทำให้พื้นที่ส่วนตัวของพนักงานมักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องเปิดเผยไปโดยปริยาย⁣⁣
⁣⁣
มีงานศึกษาที่พบว่าเมื่อองค์กรใช้คำว่าครอบครัวเข้ามาในการทำงานทำให้พนักงานมีแรงจูงใจมากขึ้นในการทำงาน ผูกพันธ์กับองค์กรมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างการทำงาน แต่อีกสิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้รับสิทธิ์ในการมีพื้นที่ส่วนตัวเลย⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
❗2. พนักงานมักโดนเอาเปรียบจากคำว่า”ครอบครัว”⁣⁣

⁣⁣
ในวัฒนธรรมแบบครอบครัวพนักงานพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานอย่างทันทีเมื่อมีใครต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงอาจจะยื่นมือเข้าช่วยก่อนที่จะถูกขอด้วยซ้ำ แต่งานศึกษาก็พบเช่นกันว่าพนักงานกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการทำผิดศีลธรรมเพื่อปกป้องคนในองค์กร รวมถึงมีความเสี่ยงในการโดนเอาเปรียบจากนายจ้าง เช่น การโดนขอให้ทำงานนอกเวลาโดยไม่มีค่าคอบแทน หรือนอกเหนือจากความรับผิดชอบที่กำหนด จนถึงขั้นถูกขอให้รักษาความลับบางอย่างขององค์กร⁣⁣
⁣⁣
และเมื่อพนักงานทำงานด้วยความคิดแบบนี้ การ burnout จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นนำไปสู่วัฒนธรรมที่มีการ burnout เป็นเรื่องปกติ และถ้าใครยังไม่เหนื่อยไม่ล้าถือว่ายังทำเพื่อ “ครอบครัว” ไม่พอ⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
❗3. คำว่าครอบครัวทำให้เกิดโครงสร้างองค์กรแบบแปลก ๆ ⁣⁣
⁣⁣
เมื่อเราบอกว่าองค์กรนี้คือครอบครัวนั่นหมายถึงความสัมพันธ์แบบพ่อ-แม่-ลูกที่ตามมา เพราะนายจ้างมักจะสวมบทบาทของพ่อ-แม่เสมอ นั่นทำให้พนักงานในวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัวไม่ได้รู้สึกว่าได้รับสิทธิในการตัดสินใจเท่าที่ควรเป็น เพราะพ่อ-แม่มักจะเป็นคนตัดสินใจในครอบครัว และไม่รู้สึกว่าได้รับการ empower ในการทำงานด้วยตนเอง และแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ นั่นทำให้รูปแบบการทำงานเป็นไปในลักษณะของการที่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับนายจ้าง มากกว่าการที่พนักงานจะทำงานได้ด้วยตนเอง⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
❗4. การฟีดแบคเป็นเรื่อง personal เสมอในครอบครัว⁣⁣
⁣⁣
เพราะความเป็นครอบครัวที่ให้ความรู้สึกเหมือนสิ่งถาวร เมื่อเอามาใช้ในการทำงานนั่นสร้างความรู้สึกของการต้องทนอยู่ร่วมกันให้ได้ นั่นช่วยลดทอนการกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล แต่ในขณะเดียวกันทำให้ constructive feedback ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง ⁣⁣
⁣⁣
วัฒนธรรมการทำงานแบบครอบครัวนั้นช่วยสร้าง sense of belonging และความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร แต่หลายครั้งที่ข้อดีเหล่านี้มันไม่คุ้มกับปัญหาที่ตามมา เช่น เมื่อเส้นแบ่งการทำงานกับชีวิตส่วนตัวไม่ชัด โอกาสเข้าใจผิดก็จะเกิดขึ้นได้มากขึ้น นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานแบบครอบครัวมักจะดีต่อนายจ้างมากกว่าลูกจ้าง เพราะความกำกวมนี้มักจะเปิดโอกาสให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างไปโดยไม่ได้ตั้งใจได้ง่าย⁣⁣
⁣⁣
=================⁣⁣
⁣⁣
และในยุคปัจจุบันพนักงานน้อยคนนักที่จะอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเกิน 5 ปี และยิ่งเวลาผ่านไปเทรนด์นี้ยิ่งสั้นขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นนายจ้าง และพนักงานเองควรที่จะยอมรับความเป็นจริงนี้ให้เร็วที่สุด เพราะความสัมพันธ์แบบครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่เหนียวแน่น แต่ความเหนียวแน่นนั้นมักจะไม่ใช่เรื่องดีต่อการเติบโตทั้งสำหรับองค์กร และพนักงาน⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
———–⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
Corporate culture⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣⁣
Organizational culture⁣⁣⁣
.
.
>>>>

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.researchgate.net/publication/325615497_organizational_family_culture_theoretical_concept_definition_dimentions_and_implication_to_business_organizations
.
.
>>>>

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search