เมื่อสองเราเข้ากันไม่ได้… วัฒนธรรมองค์กรหลังควบรวมกิจการ

ข่าวใหญ่ในแวดวงธุรกิจของอเมริกาข่าวหนึ่งในปี 2017 คือ การที่ Amazon ซื้อกิจการของ Whole Foods หากชื่อ Whole Foods ยังไม่คุ้นหูท่าน ขอขยายความแบบนี้ เครือข่ายซุปเปอร์มาเก็ตรายใหญ่รายนี้ขายอาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ตั้งแต่การเสาะแสวงหาแหล่งผลิตที่มีคุณภาพสูงสุดแล้วมาจำหน่ายผ่าน Storytelling ที่ทรงพลังในสาขาหลายร้อยแห่งของตัวเอง จนสามารถสร้างให้บริษัทเติบโตจนเข้าตลาด NASDAQ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวของ Whole Foods มีความน่าสนใจมากขึ้นคือ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเอกลักษณ์ที่เน้นความสุขของพนักงานเป็นที่ตั้ง การกระจายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานทำงานได้อย่างอิสระ ไม่เน้นกฎระเบียบเพราะเชื่อว่าจะเป็นเหตุทำให้พนักงานไม่มีความสุขในการทำงานและส่งผลต่อลูกค่าในที่สุด นับว่าเป็นองค์กรในฝันของหลายๆคน
.

ดีลขนาดมูลค่ากว่า 39,000 ล้านบาทนี้สำเร็จด้วยความต้องการที่จะขยายธุรกิจของ Whole Foods หลังจากผ่านช่วงหดตัวของส่วนแบ่งตลาดและต้องการเดินไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดด ด้วยความแข็งแกร่งด้านการค้าปลีกและเทคโนโลยีสุดล้ำของ Amazon บวกรวมกับการที่ Amazon เองก็ต้องการมีช่องทางการขายสินค้านอก ecommerce ด้วย ทำให้หลายคนมองว่าการเจรจาดีลกันทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความพึงพอใจ แต่เมื่อผ่านช่วงฮันนีมูนอันหอมหวานไปได้ระยะหนึ่งความเป็นตัวตนของ Amazon ก็เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น กฏระเบียบเริ่มเข้มข้นขึ้นในหลาย ๆ มิติขององค์กรอย่างไม่เคยปรากฏกับ Whole Foods มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการทำงานของพนักงานด้วยตัวชี้วัดแบบเข้มข้นตามสไตล์เจ้าพ่อ ecommerce การบริการจัดการสินค้าคงคลังโดยใช้เทคโนโลยีสุดล้ำเข้ามาจัดการ นอกจากนี้สวัสดิการและผลประโยชน์ต่าง ๆ ถูกลดลง รวมไปถึงข่าวการลดจำนวนพนักงานแล้วทดแทนด้วยเทคโนยีและโมเดลใหม่ๆ ในการจัดการอัตรากำลัง
.

จากบทความ One Reason Mergers Fail: The Two Cultures Aren’t Compatible ใน Harvard Business Review ได้วิเคราะห์และให้คำแนะนำที่น่าสนใจว่า วัฒนธรรมแบบน้ำกับน้ำมันที่เข้ากันไม่ได้โดยสิ้นเชิงนี้น่าจะถูกคาดเดาได้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว Amazon เป็นองค์กรที่เชื่อเรื่องการทำงานแบบเป็นระบบและใช้กฏระเบียบอย่างเข้มงวด ตัว Jeff Bezos เจ้าของ Amazon ก็เป็นคนมีมาตรฐานในการทำงานที่สูงมากและมีบุคคลิกแบบสั่งการในแนว top-down ที่ชัดเจน  ส่วน Whole Foods มาจากองค์กรที่เน้นการให้อำนาจพนักงานในการตัดสินใจค่อนข้างมาก ไม่มีโครงสร้างการทำงานและตัวชี้วัดซับซ้อน และนี่อาจเป็นเหตุให้องค์กรขาดประสิทธิภาพและทำให้ผลประกอบการไม่ดีในช่วงหลัง  
.
จากงานวิจัยที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 1989 จนถึง 2013 พบว่า หากวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันในลักษณะฝั่งหนึ่งเข้มงวดและอีกฝั่งเป็นไปแบบผ่อนปรนมารวมตัวกัน มักจะมีผลที่ตามมาในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทั้งในด้านผลประกอบการในภาพรวม แต่ถ้าองค์กรมีการเตรียมการและวางแผนล่วงหน้าไว้อย่างดี ก็จะส่งผลให้การรวมกันนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากจะต่อรองเรื่องตัวเลขในการซื้อขายแล้ว ควรตกลงกันให้ชัดเจนเรื่องวัฒนธรรมที่ดีของแต่ละฝ่ายที่ควรรักษาไว้หรือที่เรียกว่า flexible tightness และ structured looseness และระบุเป็นรายลักษณ์อักษร จากนั้นสื่อสารให้พนักงานทราบแต่เนิ่นๆ ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีของทั้งสองฝ่าย และท้ายสุดควรเตรียมใจว่าจะต้องมีการทดลองและปรับแก้กันไปจนกว่าจะลงตัวซึ่งไม่ต่างอะไรกับการใช้ชีวิตคู่
.
.
A Cup of Culture

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search