รู้จักกับข้อดี-ข้อเสียของ Hybrid Work ทั้ง 5 แบบ

การทำงานแบบ Hybrid ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว แต่ละที่มีความหลากหลาย ดังนั้นความ Hybrid จึงสามารถแบ่งออกเป็นระดับ ๆ ได้ และก่อนหน้านี้เราพาทุกท่านรู้จักกับ Hybrid ทั้ง 5 ประเภทกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันว่าแต่ละแบบเหมาะกับเราหรือไม่ โดยในรายละเอียดของทั้ง 5 รูปแบบทุกท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Link: แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงลักษณะแบบคร่าว ๆ พร้อมกับข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 5 แบบ


🔰 รูปแบบที่ 1: Remote-Friendly


เป็นรูปแบบการทำงานที่อยู่ในขั้วของออฟไลน์ และยืดหยุ่นน้อยที่สุด คือการที่องค์กรคาดหวังให้พนักงานเข้าออฟฟิศกันเป็นส่วนใหญ่ในเวลางาน ยกเว้นกรณีพิเศษที่จะประกาศ หรือต้องมีการขออนุญาต เช่น วันที่ฝนตกหนักน้ำท่วม
⁣⁣
เรียกได้ว่าเป็นขั้นต่ำที่สุดที่จะสามารถเรียกตัวเองว่าเป็น Hybrid ได้ หรือมักจะเกิดจากการต้องยอมประณีประนอมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยที่หลัก ๆ ยังต้องการการทำงานในรูปแบบเดิมอยู่

ข้อดี:
-อาศัยการปรับตัวน้อยที่สุดจากการทำงานรูปแบบเดิม ๆ

ข้อเสีย:
-อาจจะทำให้พนักงานไม่พอใจมากกว่าเดิม
-ไม่ได้ตอบโจทย์พนักงานต้องการความยืดหยุ่น และคล่องตัว
-ขยายช่องว่างระหว่างสิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องการกับสิ่งที่พนักงานคาดหวัง


🔰 รูปแบบที่ 2: Fixed Hybrid⁣⁣ (Hybrid แบบเฉพาะกลุ่ม)


คือการ Hybrid แบบแบ่งกลุ่มพนักงานตามแต่ละบทบาทหน้าที่ จะออกมาในลักษณะของการที่มีบางทีมที่ทำงานแบบเข้าออฟฟิศเป็นปกติ และบางทีมทำงานนอกสถานที่ เช่น ทีม HR ประจำอยู่ออฟฟิศ ทีม Sales ทำงานออนไลน์

ข้อดี:
-ยืดหยุ่นกว่ารูปแบบที่ 1
-อาศัยความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย
-ตอบโจทย์ความยืดหยุ่นกับบางแผนกได้จริง

ข้อเสีย:
-มักจะเป็นการแบ่งโดยหัวหน้างาน โดยคนทำงานไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจ
-สร้างความไม่เท่าเทียมที่เห็นได้ชัดในที่ทำงาน
-ปิดโอกาสในการสำรวจวิถีการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่อาจเป็นไปได้


🔰 รูปแบบที่ 3: Collaboration Days⁣⁣


คล้ายกับรูปแบบ Remote-Friendly รูปแบบนี้จะเน้นให้พนักงานทำงานที่ออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่ให้ความยืดหยุ่นกับพนักงานในการเลือกที่จะทำงานข้างนอกได้ ซึ่งแตกต่างจาก Remote-Friendly ตรงที่ปล่อยให้ทีมได้มีการกำหนดวันได้ว่าจะ Remote ในวันไหนบ้างของสัปดาห์ หรือเดือน
⁣⁣
ข้อดี:
-ให้ความยืดหยุ่นกับทีมมากขึ้น
-มีความสม่ำเสมอในการมาเจอกัน
-ยังคงรักษาบรรยากาศการทำงานร่วมกันในสถานที่ไว้ได้

ข้อเสีย:
-ยังค่อนข้างเน้นการทำงานในออฟฟิศเป็นหลัก
-ยังคงมีพื้นฐานจากความคิดที่ว่าคนเราต้องอยู่ร่วมกันเท่านั้นถึงจะทำงานได้ดี
-การทำงานร่วมกันในรูปแบบนี้ถูกกำหนดโดยตารางเวลา มากกว่าความจำเป็น (Synchronous work)


🔰 รูปแบบที่ 4: Flexible Hybrid หรือ Flexible Schedule⁣⁣


ในโมเดลนี้พนักงานสามารถเลือกได้ตั้งแต่เวลาทำงาน จนไปถึงสถานที่ทำงาน และให้อิสระกับแต่ละทีมในการกำหนดรูปแบบงานให้เหมาะกับสิ่งที่ต้องทำในขณะนั้น

ข้อดี:
-เป็นระดับที่ทำให้สามารถเกิด Asynchronous work ได้ (ทำงานไม่พร้อมกัน)
-มีความยืดหยุ่นในระดับที่พนักงานหลายคนมองหา
-ประสิทธิภาพสูงหากพนักงานเก่ง

ข้อเสีย:
-คาดเดาได้ยากว่าแต่ละคนจะเข้ามาทำงานเมื่อไหร่
-สร้างความซับซ้อนให้กับการจัดงบประมาณด้านพื้นที่ใช้สอย และ การเตรียม facility ต่าง ๆ
-รูปแบบนี้ทำให้เกิด proximity bias คือพนักงานที่บ้านใกล้กันมักจะทำงานด้วยกันบ่อยกว่า มากกว่าอิงจากความจำเป็นในการทำงาน ⁣⁣


🔰 รูปแบบที่ 5: Remote-First ออนไลน์ไว้ก่อน⁣⁣


ในรูปแบบนี้คือพนักงานทุกคนเข้าใจตรงกันว่าพวกเขาถูกคาดหวังให้ทำงานทางไกลเป็นหลัก โดยที่องค์กรอาจจะยังมีการเช่าสถานเป็นครั้งคราวสำหรับวาระโอกาสพิเศษ ๆ เช่น townhall หรือ Sprint แต่นอกจากนั้นพนักงานรวมถึงผู้นำองค์กรควรจะทำงานจากที่อื่นเป็นหลัก⁣⁣

ข้อดี:
-ให้ความยืดหยุ่น แต่ก็ยังยืดหยุ่นไม่เท่ากับ Flexible Hybrid
-ประหยัดต้นทุนด้านสถานที่
-ส่งเสริมให้พนักงานปรับตัวกับวิถีการทำงานแบบใหม่
-เกิด Asynchronous work ได้เต็มรูปแบบ

ข้อเสีย:
-การทำงานที่ออฟฟิศกลายเป็นไม่ใช่ตัวเลือก
-ไม่เข้ากับพนักงานที่ต้องการจะเข้าออฟฟิศบ่อย ๆ
-ไม่ใช่พนักงานทุกคนจะมีพื้นที่ในบ้านพร้อมจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ


ทั้ง 5 รูปแบบนี้อันไหนตอบโจทย์พนักงานสุด ?


คำตอบก็คือรูปแบบที่ 4 Flexible hybrid และรูปแบบที่ 5 remote-first models คือรูปแบบที่ตอบโจทย์พนักงานที่สุด เพราะพนักงานนั้นมักให้ความสำคัญกับการได้ออกแบบชีวิตตนเอง มากกว่าให้งานมาเป็นตัวกำหนด

นอกเหนือจากด้านความต้องการของพนักงานแล้ว เมื่อเราพูดถึงการทำงานแบบ Hybrid หัวใจสำคัญของการทำงานแบบ Hybrid ที่มีประสิทธิภาพคือการที่พนักงานของเราสามารถที่จะทำงานกันได้แบบ Asynchronous คือไม่ต้องทำงานพร้อมกัน ต่างคนต่างทำ ลดการประชุมที่ไม่จำเป็น และโฟกัสงานได้มากขึ้น และมีเพียงรูปแบบที่ 4 และ 5 เท่านั้นที่จะสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิด Asynchronous Workplace ขึ้นมาได้ ในขณะที่รูปแบบอื่น ๆ นั้นคือรูปแบบที่อาจเรียกได้ว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในด้านของ Performance แบบ Hybrid และอาจเป็นประโยชน์กว่าถ้าองค์กรตัดสินใจว่าจะ u-turn และขยับไปทางออฟไลน์ไปเลย หรือพยายามปรับให้เป็นรูปแบบ 4 หรือ 5

แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จะทำให้การทำงานออกมาในรูปแบบที่ดีที่สุดคือการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบ ว่าในฐานะคนทำงานจริงแล้วรูปแบบไหนคือรูปแบบที่เหมาะกับพวกเขาจริง ๆ มากที่สุด

A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.

References:
https://www.brightsidepeople.com/hybrid-workplace-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b9%88-%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88/
https://www.brightsidepeople.com/%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b0-5-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab/
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/hybrid-is-a-spectrum-how-to-choose-the-right-model-for-your-organization
Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search