ก่อนถึง New Normal ผู้นำองค์กรควรทำอย่างไร

ในขณะที่ทุกๆองค์กรกำลังปรับตัวเข้าสู่โหมดรับมือวิกฤติแบบโงหัวไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องแก้แบบวันต่อวันถาโถมเข้ามา ในขณะที่มองไปข้างหน้าก็ยังไม่เห็นฝั่งว่าอยู่ที่ใด แต่ก็มีหน่วยงานหลายแห่งเริ่มมองไปถึงบทต่อไปของหนังสือที่ชื่อว่า Covid-19 เล่มนี้แล้ว
.
.
กูรูหลายสำนักเชื่อว่าจะเกิด New Normal แบบที่ไม่ซ้ำกับที่เคยเกิดขึ้นกับยุคหลังวิกฤติหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ทฤษฎีหรือข้อสมมติฐานที่เคยมีมาอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป แต่ก่อนที่จะไปถึง New Normal นั้น บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่อย่าง Mckinsey ได้นำเสนอ บทความ Beyond coronavirus: The path to the next normal ที่วาดภาพถึงหมุดหมายการก้าวผ่านหุบเหวลึก (Chasm) ของ Covid-19 จากจุดปัจจุบัน ไปจนถึง Next Normal ที่ผู้นำของแต่ละองค์กรต้องเอาชนะให้ได้ โดยแบ่งเป็นระยะต่างๆ 5 ระยะด้วยกัน
.
.
.

? #Resolve


ช่วงแรกของวิกฤติ คือการที่ผู้นำต้องเน้นไปที่การแก้ปัญหาเร่งด่วนทั้งหมดก่อน แผน BCP (Business Continuity Plan) และ Employee Safety Plan ต่าง ๆ ต้องควักขึ้นมาใช้ การปรับไปสู่ Remote Work สำหรับหน่วยงานที่สามารถทำได้เลย การแก้ปัญหา Supply Chain ที่ต้องสะดุดต่าง ๆ การตัดสินใจหลักๆ เช่น การปิดโรงงาน ปิดร้านต่าง ๆ ตามนโยบายของภาครัฐหรือนโยบายความปลอดภัยของพนักงาน
โดยสรุปคือ ความชัดเจนของการตัดสินใจในเรื่องขนาด ความเร็วและความรอบคอบของปฏิบัติการต่าง ๆนั่นเอง…
.
.
.


? #Resilience

การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้เรายังไม่สามารถประมาณการถึงขนาดและระยะเวลาของการหดตัวของ GDP ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด แต่ Mckinsey แน่ใจว่าจะเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในรอบร้อยปี ความสามารถที่จะฟื้นตัวหรือ Resilience จึงเป็นตัววัดว่าใครจะกลับมาได้ก่อนในระยะสั้นโดยเฉพาะเรื่องการจัดการกระแสเงินสด และในระยะต่อมาจะเป็นการฟื้นตัวในภาพใหญ่ขององค์กรที่จะฉวยโอกาสได้มากน้อยแค่ไหนในชวงที่คู่แข่งและตลาดกำลังช็อคกันอยู่ให้กลับมาเป็นได้เปรียบ
.
.
.


? #Return


ประเทศจีนเข้าสู่ Covid-19 ก่อนประเทศอื่นๆที่กำลังประสบชะตากรรมอยู่ ด้วยศักยภาพและอำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดีของรัฐบาลก็น่าจะทำให้ออกจากวิกฤตได้ก่อน ถึงกระนั้นการกลับสู่ภาวะปกติก็เป็นไปอย่างช้ามาก ๆ สาเหตุมาจากระบบ Global Supply Chain กำลังรวน ซึ่งหลังจากผ่านวิกฤติมาได้แล้ว ผู้นำองค์กรต้องประเมินสรรพกำลังในการพาตัวเองกลับมาสู่จุดที่เคยเป็นให้ได้รวมทั้งตั้งรับการกลับมาซ้ำของการแพร่ระบาดในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวช่วงปลายปี…
.
.
.

? #Reimagination


Covid-19 เป็นเหตุทำให้คนทั้งโลกต้องปรับพฤติกรรมกันอย่างกระทันหันทั้งในมุมการใช้ชีวิตและการทำงาน โดยเฉพาะการย้ายกิจกรรมไปสู่โลกออนไลน์หรือโลกเสมือนจริงอย่างไม่มีวันกลับมา ระบบ Supply Chain จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงหลังจากนี้ โดยผู้ผลิตจะย้ายไปอยู่ใกล้ผู้บริโภคของตัวเองมากยิ่งขึ้น ผู้นำองค์กรต้องจินตนาการให้ออกและปรับโครงสร้างของธุรกิจและองค์กรขนานใหญ่ สิ่งที่เคยจำเป็นอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป มองให้ออกว่าจะดำเนินธุรกิจแบบยืดหยุ่น (Flex Operation) อย่างไรที่ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนคนได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงที่คนเข้ามาทำงานไม่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้สามารถฟื้นกลับมาได้ในระยะยาว
.
.
.


? #Reform


วิกฤตนี้ทำให้คนทั้งโลกเข้าใจความหมายของ Black-Swan Event (อุบัติการณ์ที่มีโอกาสเกิดน้อยมาก แต่สร้างผลกระทบมหาศาล) ได้อย่างชัดเจน หลังจากนี้ไปทุกๆองค์กรจะตื่นตัวเป็นอย่างมากที่จะไม่ยอมให้ผลกระทบของ Black Swan เกิดกับธุรกิจ ประเทศ และโลกใบนี้มากเท่านี้ ผู้นำองค์กรควรสร้างความร่วมมือกับภาครัฐในการปฏิรูปกฏหมายและนโยบายเพื่อให้เอื้อต่อการรับมือวิกฤติแบบสายฟ้าฟาด ควรใช้วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสในการทดลองนวัตกรรมเชิงสังคมตั้งแต่ Work from Home จนไปถึงระบบเฝ้าระวังในวงกว้าง (Large-Scale Surveillance) เพื่อจะเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างถาวรในระยะยาว


A Cup of Culture———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
?

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search