Office ของเรามีความปลอดภัยจาก Covid ในระดับใด?

จากมาตรการเฝ้าระวัง Covid-19 ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น หลายองค์กรอนุญาตให้พนักงานกลับเข้าไปทำงานที่ office ในขณะที่หลายองค์กรกำลังเตรียมการเพื่อรับการกลับมาทำงานของพนักงานในเร็ววันนี้ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังที่ยังต้องมีกันต่อไป แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า office ของเรามีความปลอดภัยในระดับใด?
.
.

จากที่หลายองค์กรจำเป็นต้อง work from home กันมาพักใหญ่ แม้ว่าหลาย ๆ บทวิเคราะห์ New Normal ขององค์กรไทยจะชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการทำงานอาจจะเปลี่ยนเป็น work from home มากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเต็มรูปแบบ และการเข้าไปทำงานที่ office ก็ยังคงจำเป็นสำหรับบางส่วนงาน
.
.

Joseph G. Allen และ John D. Macomber ผู้เขียนหนังสือ Healthy Buildings: How Indoor Spaces Drive Performance and Productivity ได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบกับข้อเสนอแนะจากบุคลากรทางการแพทย์ สรุปเป็นโมเดล 5 ระดับการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงในที่ทำงาน โดยคำถึงถึงระดับผลกระทบในเชิงธุรกิจ และประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเพื่อลดความเสี่ยง ดังนี้
.
.

1. การป้องกันในระดับบุคคล (Personal protective equipment (PPE)

วิธีนี้ยังคงมีความจำเป็น และนับว่าปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ แม้ว่าพนักงานแต่ละคนต้องสวมหน้ากากตั้งแต่ออกจากบ้านและไม่สามารถเข้าอาคารได้โดยไม่สวมหน้ากาก แต่ความท้าทายในการควบคุมคุณภาพของหน้ากาก และพฤติกรรมการระมัดระวังของพนักงานแต่ละคน จึงทำให้เป็นวิธีนี้เป็นการป้องกันระดับพื้นฐานเท่านั้น
.
.

2. การกำหนดนโยบายความปลอดภัย (Administrative controls)

วิธีที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอีกคือ การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยได้แก่ นโยบายการการรักษาระยะห่าง เช่น ยืนห่างกันอย่างน้อยสองเมตร กำหนดจำนวนคนในลิฟท์ ห้องทำงาน ห้องประชุม หรือห้องอาหาร การพิจารณายืดหรือหดเวลางานของพนักงาน เพื่อลดความหนาแน่นในช่วงเวลาเร่งด่วน และสื่อสารแนวทางปฏิบัติอย่างทั่วถึง
.
.

3. เพิ่มการป้องกันโรคในอาคาร (Engineering controls and healthy building strategies)

วิธีที่มีประสิทธิภาพระดับสาม คือเพิ่มการป้องกันโรคด้วยการสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ ทรัพยากร หรือระบบการดูแลภายในอาคาร จากการศึกษาของ Harvard’s Healthy Buildings Lab ระบุพื้นฐาน 9 ประการที่ควรคำนึงถึงในการจัดการอาคาร เพื่อป้องกันโรคในระยะยาว และส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดีได้แก่ การระบายอากาศ คุณภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ฝุ่นและแมลง การรักษาความปลอดภัย คุณภาพน้ำ เสียง และแสงสว่าง อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างคาดไม่ถึง  
.

แนวทางการปรับใช้เช่น การติดตั้งเครื่องป้องกันทางกายภาพ เช่น เครื่องฟอกอากาศ พลาสติกหรือหน้าต่างกัน การใช้เซ็นเซอร์เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่ประตู ลิฟท์ อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ชักโครก รวมไปถึงการกำหนดเกณฑ์การฆ่าเชื้อโรค โดยระบุสถานที่ เวลา และความถี่ของการทำความสะอาดอย่างชัดเจน ที่สำคัญคือการฝึกอบรมพนักงานทำความสะอาดเพื่อความเข้าใจความสำคัญ วิธีการ เพื่อสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัด
.
.

4. จัดทีมสับเปลี่ยนเวลาทำงาน (Substitution activities)

สำหรับวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาเป็นระดับที่สี่คือ การกำหนดให้ส่วนงานที่จำเป็นเท่านั้นที่ยังคงต้องเข้ามาทำงาน และจัดทีมสับเปลี่ยนเวลาทำงานในตำแหน่งงานที่จำเป็น เช่น line การผลิต หรือพนักงานขายสินค้าเพื่อรองรับลูกค้าจากมาตรการผ่อนปรน lockdown ในเฟสที่ 2 การจัดทีมลักษณะนี้นอกจากจะลดความหนาแน่นในที่ทำงานแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในกรณีทีมใดทีมหนึ่งเกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จำเป็นต้องกักตัวก็ยังคงมีอีกทีมที่จะดำเนินงานต่อได้
.
.

5. ลดการปฏิสัมพันธ์ (Elimination of exposure)

แน่นอนว่าการควบคุมที่มีประสิทธิภาพรระดับสูงที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรวมตัว หรือการปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าเป็นไปได้ในกรณีที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานและไม่เหงาจนเกินไป การ Work from home ก็ยังคงเป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด ดังนั้น ตื่นสาย หน้าสด virtual meeting กันต่อไป บวกกับนโยบายการ Work from home ที่ชัดเจนก็จะยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและยังคงประสิทธิภาพของงานไว้ด้วย   
.
.

จะวัดผลได้อย่างไร?

ในขณะเราวัดผลลัพธ์ในทุก ๆ การทำงาน แต่สำหรับการลดความเสี่ยงโดยการควบคุมโรค ถ้ารอวัดผลจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นอาจจะช้าเกิดไป ในกรณีนี้สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับผลลัพธ์ คือ การวัดกระบวนการในการลงมือทำด้วย Check List เพื่อประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงสูงสุด เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
.
.

หลายองค์กรมีมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแล้วอยู่แล้ว ท่านสามารถใช้โมเดลนี้ควบคู่ในการพิจารณาถึงวิธีการเพื่อยกระดับการลดความเสี่ยง สำหรับองค์กรที่ต้องการศึกษาวิธีการเพื่อการปรับใช้ ท่านสามารถศึกษาข้อมูลการดำเนินการเพื่อการป้องกันโรคสำหรับสถานประกอบการจากกรมควบคุมโรคได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator01_110463.pdf
.
.

นอกการงานที่น่าสนใจ เจ้านาย ค่าตอบแทน และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้ว ผลการสำรวจของ Glassdor ยังแสดงให้เห็นว่าการจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและดึงดูดพนักงาน และจากสถานการณ์ Covid-19 ปัจจัยนี้จะกลายเป็นเป็น New Minimum หรือความต้องการพื้นฐานที่พนักงานจะมองหา  
.
.

A Cup of Culture
.
.

.
.
ที่มาของบทความ

https://hbr.org/amp/2020/04/what-makes-an-office-building-healthy

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator01_110463.pdf

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search