8 สถานการณ์ที่คุณควรตัดสินใจให้ช้าลง (Strategic Slowness)


“เทรนด์ใหม่ของปี 2024 คือ ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Slowness)” โดยศาสตราจารย์สแตนฟอร์ด Bob Sutton


ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมสะดุดตากับบทความชิ้นหนึ่งบนเว็ปไซต์ Inc.com ซึ่งอ้างอิงข้อความมาจากศาสตราจารย์ Bob Sutton แห่ง Stanford University School ซึ่งท่านเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์กรและนักเขียนขายดีตลอดกาล New York Times  ท่านได้กล่าวว่า “ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Slowness) คือ เทรนด์ใหม่ของปี 2024”


เชื่อว่าหลายท่านคงรู้สึกขัดแย้งกับคำนี้เมื่อเทียบสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เรามักจะคุ้นชินกับคำว่า “ความเร็วและคุณภาพ” มากกว่า คำถามที่ผมสนใจคือ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันและการเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจ ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์จะนำไปใช้ได้อย่างไร? หรือตัวเราจะช้าลงได้อย่างไรเมื่อวัฒนธรรมองค์กรรอบตัวล้วนโฟกัสที่ความเร็วและคุณภาพ?


===========
ศาสตราจารย์ Bob Sutton ได้กล่าวถึงเรื่องนี้และได้ให้ข้อเสนอแนะถึง 8สถานการณ์ที่ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Slowness) ดูจะเป็นประโยชน์กับตัวมากกว่าความรวดเร็ว ดังนั้น ท่านเชื่อว่าเราควรช้าลงเมื่อ:

คุณ Sutton มักกระตุ้นให้ผู้นำช้าลงเมื่อต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ เปรียบเหมือนคุณมีประตูอยู่ตรงหน้า 2 บาน (1) ประตูทางเดียวซึ่งเมื่อเปิดเข้าไปแล้วคุณอาจไม่สามารถย้อนกลับได้หรือเกือบจะย้อนกลับไม่ได้ (2) ประตูสองทาง ที่หากคุณเปิดเข้าไปแล้วและพบว่ามันยังไม่ใช่ที่ของคุณ คุณก็แค่หันหลังกลับแล้วผลักประตูบานเดิมออกมา —ดังนั้น สิ่งที่คุณ Sutton แนะนำคือ หากคุณมีประตูทางเดียวในการตัดสินใจให้ใช้เวลากับมันให้มากที่สุด

คุณ Sutton อ้างอิงถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่พบว่า “ผู้ที่มีคะแนนสูงในด้านสติปัญญามักสามารถแก้ปัญหาจำพวก easy tasks ได้รวดเร็วกว่าปัญหาพวก difficult problems แต่ถึงแม้จะแก้ปัญหาพวก difficult problems ได้ช้ากว่า แต่กลับพบความแม่นยำที่มากกว่า เหตุผลที่ความแม่นยำมากกว่า ก็เพราะพวกเขาใช้เวลาในการตัดสินใจมากขึ้น นานขึ้น และพยายามป้องกันตัวเองจากการสรุปผลลัพธ์ที่ผิดพลาด

คุณ Sutton กล่าวสรุปด้วยข้อความง่ายๆ ว่า ‘ไม่มีทางลัดไปสู่ความคิดสร้างสรรค์” ดังนั้น เมื่อคุณต้องดึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ ให้จัดสรรเวลาอยู่กับมันให้มากพอ

โดยเฉพาะความประพฤติที่ควรประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นการมีความรับผิดชอบ (Accountability) ความมีเหตุผล (Rationality) ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) หรือแม้กระทั้งความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) การให้เวลาและความสำคัญกับความประพฤติต่างๆ เหล่านี้ -แทนที่จะละทิ้งหรือมองข้าม มันจะช่วยลดการกระทำเชิงลบหรือพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้นได้

คำว่า “อคติและภาพจำ” เหมือนเป็นค่า default พื้นฐานของสมองเราในการประเมินผู้คนและสถานการณ์ที่พบเจอได้เร็วขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว… ค่า default เหล่านี้มีแนวโน้มจะส่งผลลบได้เมื่อขาดการตระหนักรู้ตนเอง ดังนั้น การบังคับให้ตัวเราช้าลงในการกระบวนการคิดสามารถช่วยคุณได้

คุณ Sutton ได้เล่าถึงเคสที่น่าสนใจของเว็ปไซต์ Nextdoor เครือข่ายสังคมออนไลน์เจ้าดัง ที่พบข้อมูลว่าการใช้คำถามกระตุ้นให้ user ไตร่ตรองเหตุและผลก่อนกดปุ่ม report สามารถลดการรายงงานพฤติกรรมลงได้ถึง 75%

โดยเฉพาะความขัดแย้งในกลุ่มพนักงาน การใช้เทคนิคชะลอให้ช้าลง Pause, Think, and Jump ผ่านการหยุด จากนั้นระบุสาเหตุของความขัดแย้ง และช่วยกันนำเสนอกลยุทธ์หรือมาตรการเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน จะช่วยลดความเสียหายจากความขัดแย้งที่อาจตามมาได้

คุณ Sutton ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (หรือใครก็ตาม) คำว่า “ความเร็วและความพึงพอใจ” มักมีความสัมพันธ์กันแบบย้อนกลับ เขายกตัวอย่างซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งที่สร้าง “เลนช้า” สำหรับลูกค้าสูงอายุที่ต้องการใช้เวลาและพูดคุย

การช้าลงสามารถช่วยให้คุณคิดอย่างชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และบางครั้งการช้าลงก็ทำให้เห็นมุมมองชีวิตที่แตกต่างออกไปได้ด้วย


บทสรุป —ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Slowness)” มุ่งเน้นไปที่การชะลอตัวเองให้ช้าลงเมื่อต้องตัดสินใจบางอย่างที่อาจไม่มีวันย้อนกลับ รวมถึงการเพิ่มความเพลิดเพลิน ลดความตึงเครียด และเพิ่มประสบการณ์เชิงบวกในใจของคุณได้ ซึ่งการศึกษายังพบว่า “ความชะลอให้ช้าลงนั้น” มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี และการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น อย่าลืมแบ่งเวลาในแต่ละวันให้กับความเพลิดเพลินแบบช้าๆ กับความสุขอย่างง่ายๆ กันด้วยนะครับ

A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

ตัดสินใจให้ช้าลง
arm
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search