6 เทคนิคฝึกสมอง ให้บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น!


ทุกครั้งที่เราตั้งเป้าหมายในเชิงพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก หรือการพัฒนาทักษะ เป็นต้น สิ่งที่มักเกิดขึ้นตามมาคือ เรามักจะมีแรงฮึดมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นอยู่เพียง 3-4 วัน หลังจากนั้นก็เริ่มใส่เกียร์ว่างบ้าง ข้ามบ้าง หรือลืมบ้าง และก็กลับไปสู่วงจรความเคยชินเดิม


คุณ Jim Kwik ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการใช้สมอง (Brain Coach) และเป็นโค้ชผู้บริหารในบริษัทชั้นนำมากมายเช่น Nike Google เป็นต้น ได้แชร์เคล็ดลับในการบูทสมองให้สามารถเกาะติดและอยู่กับเป้าหมายนั้นๆ ได้ต่อเนื่องตลอดปี สามารถสรุปเป็นเทคนิคฝึกสมองด้วยกิจกรรมง่ายๆ 5 ข้อดังนี้



การเขียนสิ่งที่ต้องทำ หรือที่เรียกว่า ‘To-do list’ เป็นสิ่งที่หลายคนคุ้นชินอยู่แล้ว มันคือการเขียนรายการสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง รายการไหนควรทำก่อนทำหลัง… แต่การเขียนสิ่งที่ต้องทำด้านจิตใจ (Mental To Do List) ที่คุณ Jim Kwik กล่าวถึงคือ การนึกภาพหรือการจินตนาการถึงสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในวันนั้นๆ รวมถึงการนึกถึงความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นเมื่อฉันทำสิ่งนั้นสำเร็จ


ฉะนั้น สิ่งที่คุณ Jim Kwik มักทำในทุกวันๆ คือ 1) การไม่จับโทรศัพท์ในช่วง 30 นาทีแรกหลังการตื่นนอน 2) การนึกภาพหรือการจินตนาการภาพความสำเร็จในเรื่องส่วนตัว 3 เรื่อง และ 3) การนึกภาพหรือการจินตนาการภาพความสำเร็จในเรื่องการงาน 3 เรื่อง


การกินอาหารไปด้วยดูเน็ตฟริกหรือยูทูปไปด้วยพร้อม ทำให้สารเคมีแห่งความสุข ‘โดปามีน’ หลั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้เรารู้สึกว่าอาหารอร่อย เอนจอยกับการกินอาหารมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เรากินข้าวเยอะเกินไป (โดยไม่รู้ตัว) เสี่ยงอ้วน หรือไม่มีสมาธิกับการกินอาหารตรงหน้า การโฟกัสกับการกินอาหารตรงหน้าโดยไม่ทำอย่างอื่นแทรก ช่วยให้ร่างกายคุณรับรู้สภาวะการกินและย่อยอาหารได้ชัดเจนขึ้น กระเพาะทำงานได้ดีขึ้น


การอ่านนิยายเบาๆ ก่อนเข้านอนช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และยังส่งเสริมทักษะการจินตนาการด้วย นอกจากนั้นยังช่วยเสริมทักษะสมองในด้านการโฟกัส การรับรู้มุมมองที่หลากหลาย และการเชื่อมโยงเรื่องราวด้วย ซึ่งยอมเป็นประโยชน์ในทางอ้อมในการทำงานด้วย

การเช็คอิน คือ การกลับมาตรวจสอบสภาวะภายในของตนเอง ผ่านการถามกับตนเองทุกๆ 60 นาทีว่า “ตอนนี้ฉันรู้สึกอย่างไรบ้าง? ฉันกำลังเสียสมดุลหรือเปล่า?” เพื่อดูว่าขณะนี้ตัวเรากำลังอยู่ในสภาวะวิตกกังวลหรืออยู่ในภาวะเครียดไหม… ความรู้สึกภายในโดยภาพรวมยังโอเครอยู่ไหม… เพราะเมื่อใดที่สมองไม่สมดุล มันจะเข้าสู่ภาวะต่อสู้หรือหนีทันที ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเป้าหมายหรือปณิธานที่เราตั้งไว้ได้


แทนที่จะพูดว่า “ฉันทำสิ่งนี้ไม่ได้” ให้ถามตัวเองว่า “ฉันจะทำสิ่งนี้ได้อย่างไร” เพราะสมองชอบคำถามปลายเปิด มันกระตุ้นให้เราค้นหาคำตอบบางอย่าง.. และการเปลี่ยนจากคำว่า “ปัญหา” เป็น “ความท้าทาย” คำว่าปัญหากระตุ้นให้สมองสู้หรือหนีและต้องการหนีจากปัญหา แต่การพูดว่า “ฉันมีความท้าทาย” สมองมองสิ่งนี้เหมือนปริศนาและต้องการแก้ไข


เทคนิคการหายใจที่คุณหมอ แอนดรูว์ เวล แนะนำสามารถจำเป็นสูตรง่ายๆ ว่า “การหายใจแบบ 4:7:8” โดยเราจะหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที และผ่อนลมหายใจ 8 วินาที ซึ่งเราสามารถทำเทคนิคนี้ผ่านการนอนหงายในท่าที่ผ่อนคลายที่สุดได้ และสามารถทำซ้ำได้มากรอบตามที่ต้องการได้เลย


บทสรุป —เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้ ช่วยกระตุ้นให้สมองของคุณมองหาสัญญาณหรือโอกาสที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ข้อจำกัดหรืออุปสรรค


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

Reference:
https://www.inc.com/magazine/202312/jennifer-conrad/how-to-train-your-brain-to-better-accomplish-your-2024-new-years-resolutions.html
arm

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search