ยิ่งอยากพักยิ่งหนักกว่าเดิม: รู้จักกับ Recovery Paradox

เคยไหมกับการทำงานหนักมาทั้งวันทั้งคืน แต่พอถึงเวลาพักร่างกายเราดันดื้อไม่ยอมพักทั้ง ๆ ที่เหนื่อยมาก ๆ นี่คือปรากฏการณ์ที่เราเรียกกันว่า Recovery Paradox …⁣⁣
⁣⁣
Recovery Paradox คือ ปรากฏการณ์ของร่างกายและจิตใจที่ต้องการการพักมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่เราควบคุมตัวเองให้พักได้ยากที่สุดด้วยเช่นกัน และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักปรากฏการณ์นี้ให้มากขึ้น ถ้าจะมีคำไหนมานิยามตลาดแรงงานเราตอนนี้ได้ก็น่าจะเป็นคำว่า “เหนื่อย” โดยเฉพาะในตลาดแรงงานบ้านเราที่มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สังเกตุได้ชัดง่าย ๆ คือ ตาม Facebook เราจะเห็นโพสต์ หรือคอนเทนท์ในลักษณะเบื่องาน เหนื่อยหน่ายกับงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความเหนื่อยล้านี้ไม่ได้มีแค่ในประเทศเราเท่านั้น เพราะที่สหรัฐอเมริกาเองก็พบว่าพนักงานจำนวนมาก (61%) กำลังอยู่ในจุดที่ใกล้จะ Burnout เต็มที ซึ่งก็เป็นหนึ่งในที่มาของเหตุการณ์ The Great Resignation ที่กำลังร้อนแรง⁣⁣
⁣⁣
และเพื่อตอบสนองกับแนวโน้มนี้นายจ้างหลาย ๆ ที่ก็มองหาตัวช่วยทางใจ ทำให้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตในองค์กรกำลังเติบโต และเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเป็นเครื่องดึงดูดให้เหล่า Talent เข้ามาทำงานด้วย รวมถึงนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับการช่วยให้พนักงานได้พักผ่อนที่ออกมากันอย่างต่อเนื่อง แต่ก็แน่นอนว่านโยบาย และเครื่องมือทั้งหลายจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลยถ้าสุดท้ายแล้วเราไม่สามารถช่วยให้พนักงานพักฟื้นได้สำเร็จ โดยเฉพาะเมื่อเราเจอกับ Recovery Paradox⁣⁣
⁣⁣
การฟื้นตัวจากความเครียด การทำงาน หรือการต้องจดจ่อเป็นระยะเวลานานเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาคุณภาพอารมณ์ พลังงาน การเรียนรู้ และพัฒนาการทางอาชีพ และส่วนอื่น ๆ ของชีวิตตั้งแต่สภาพจิตใจ สุขภาพกาย และความสัมพันธ์อื่น ๆ อีกด้วย แต่กระบวนการฟื้นฟูความเครียดเองนั้นเป็นสิ่งที่มีความย้อนแย้งอยู่ ⁣⁣
⁣⁣
มีงานวิจัยพบว่าเวลาที่ร่างกาย และจิตใจของเราต้องการการฟื้นตัวมากที่สุด เรามักจะไม่สามารถจัดการมันได้ ตัวอย่างเช่น เวลาที่งานต้องการความสนใจจากเรามาก ๆ หรือกำลังรู้สึก Overwhelmed เรามักจะพาให้ตัวเองเข้าสู่วัฏจักรแห่งความเหนื่อยล้า ในช่วงเวลาเครียด ๆ เรามักจะทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพแม้ว่าโภชนาการจะมีส่วนสำคัญต่อการฟื้นตัว และเวลาที่เครียดเราก็ไม่มีแรงจะออกไปข้างนอกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือเข้าสังคม เราไม่มีอารมณ์และพลังงานที่จะออกไปออกกำลังกายทั้ง ๆ ที่ทุกคนรู้ดีว่ามันเป็นตัวช่วยจัดการความเครียดที่มีประสิทธิภาพที่สุด และสุดท้ายแล้วเรามักจะเครียด และเหนื่อยล้ากว่าเดิมด้วยพฤติกรรมเหล่านี้เป็นวงจรไปเรื่อย ๆ⁣⁣
⁣⁣
สำหรับใครที่อ่านแล้วนึกถึงตัวเองก็รู้สึกท้อใจ เราก็ต้องบอกว่าวงจรนี้มันมีทางออก โดยการออกจากวังวนนี้ได้นั้นเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองให้มากขึ้นว่าการพักแบบไหนเหมาะกับเรา และวางแผนการพักฟื้นตัวเองกันให้ดี สาเหตุที่เราต้องทำขนาดนี้เพราะอย่างที่ได้เห็นในข้างต้นว่าการพักฟื้นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ตรงไปตรงมาอย่างที่เรามักจะนึกกัน และหลังจากนี้จะเป็น 4 แนวทางที่จะช่วยให้เราหลุดจากวังวนแห่งความเหนื่อยล้านี้ได้⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
🔰 1. Detach psychologically from work⁣⁣
⁣⁣
การฟื้นตัวจากความเครียดนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสมองของเราออกจากโหมดเครียด และเราต้องกระตุ้นให้กระบวนการนั้นเกิดขึ้นผ่านการหาทางพาสมองตัวออกออกมาจากงาน หรือคือการหาทางให้สมองเราได้พัก⁣⁣
ทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาให้ชัดเจนในแต่ละวันที่เราตั้งใจจะทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน กิจกรรมในลักษณะของการฝึกสติ หรือสมาธิจะเหมาะกับวิธีการนี้เป็นพิเศษ เพราะเป็นการฝึกให้สมองเรียนรู้ที่จะปล่อยวางไปด้วยในตัว นอกจากนั้นอีกสิ่งที่ทำได้คือการสังเกตตัวเองว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวกระตุ้นให้เรากลับไปคิดเรื่องงาน เช่น หากเห็นคอมพิวเตอร์แล้วนึกถึงงานขึ้นมา ในช่วงเวลาแบบนี้เราก็ควรที่จะเก็บให้พ้นสายตา หรือไปอยู่อีกห้องแทน หรือที่ง่ายที่สุดคือการปิดการแจ้งเตือนของโทรศัพท์สักพักก็ช่วยได้⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 2. Harness the power of micro-breaks during the workday.⁣⁣
⁣⁣
นี่ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งว่าการพักนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยตรงไปตรงมาเท่าไหร่ เพราะมันขัดกับแนวคิดของการเราที่มักคิดว่า “ทำให้เสร็จแล้วค่อยพักรวดเดียว” นั่นเป็นเพราะเรามักจะคิดว่าการพักนั้นจะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อเสร็จงาน หรือช่วงวันหยุดยาวเท่านั้น แต่กลับมีงานวิจัยที่ช่วยยืนยันว่าการพักเล็ก ๆ สั้น ๆ ระยะเวลาประมาณ 10 นาทีในเวลางานนั้นเป็นตัวช่วยลดความเครียดที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยเลยทีเดียว⁣⁣
⁣⁣
ตัวอย่างเช่น เมื่อทำงานไปได้สักพักก็หาเวลาสัก 10 นาทีเพื่อมาทำสมาธิ ทานอาหารว่างที่ดีต่อร่างกาย พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ก็ได้ โดยหลักการคือควรเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดความสนใจจากเราระดับหนึ่ง เช่น การอ่านหนังสือ หรือการเล่นเกมส์สั้น ๆ กิจกรรมเล็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการเพิ่มสมาธิในการทำงาน ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น และคอยรักษาพลังงานได้เราได้ตลอดวัน ⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 3. Consider your preference for recovery activity.⁣⁣
⁣⁣
อีกเรื่องที่ไม่ตรงไปตรงมาของการพักคือ การที่เราต้องย้ำว่าเราควรเลือกกิจกรรมพักที่เราชอบ และเข้ากับเรา ซึ่งเหมือนจะเป็น common sense แต่ที่เราต้องย้ำมันเพราะว่าในความเป็นจริงแล้วเรามีกิจกรรม”พัก” หลาย ๆ อย่างที่เราอาจจะรู้สึกกดดันว่าต้องเข้าร่วม และมันคือการพักผ่อน เช่น การออกกำลังกายกลุ่มขององค์กร ทริปบริษัท หรือคาราโอเกะบริษัท แน่นอนว่ามีหลายคนที่ชอบกิจกรรมบางอย่างไม่มากก็น้อย แต่หลายคนแทนที่จะรู้สึกว่าได้พักผ่อนกลับรู้สึกเหนื่อยกว่าเดิม แต่พักอีกไม่ได้แล้วเพราะถือว่าได้พักแล้ว⁣⁣
⁣⁣
นั่นเป็นเพราะเวลาที่เราไม่สามารถเลือกวิธีการฟื้นตัวของตัวเองได้นั้นจริง ๆ แล้วอาจเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ เช่น งานวิจัยพบว่าการคุยกับเพื่อนระหว่างพักเที่ยงช่วยเติมพลังให้เขาได้ แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าอีกกลุ่มที่ไม่ได้ชอบคุยเล่นระหว่างพักเที่ยง แต่รู้สึกถูกกดดันว่าต้องทำกลับรู้สึกว่าสูญเสียพลังงานมากกว่าการทำงานเฉย ๆ⁣⁣
⁣⁣
ดังนั้นรู้จักตัวเองให้ดีว่าการพักแบบไหนเหมาะกับเราโดยเฉพาะการพักในเวลางานเช่นพักเที่ยง หลาย ๆ ครั้งการพยายามเข้ากิจกรรมพักผ่อนที่บริษัทจัดมาให้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์วิธีการพักที่ใช่สำหรับเรา และความกดดันว่าต้องเข้าร่วมนั้นอาจจะกลับมาทำร้ายเราได้มากกว่าเดิม และนี่ก็รวมถึงในมุมองค์กรเช่นกัน ถ้าเราอยากให้พนักงานได้พักจริง ๆ แล้วนั้นมาตรการต่าง ๆ แม้จะด้วยเจตนาดีแค่ไหน แต่ก็ต้องระวังว่ามาตรการบางอย่างจะเป็นการฝืนให้พนักงานพักในแบบที่ไม่เข้ากับเขาหรือไม่ และหาทางให้อิสระกับพนักงานในการเลือกวิธีการของตัวเองมากขึ้น⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 4. Prioritize high-effort recovery activities.⁣⁣
⁣⁣

หนึ่งในเรื่องตลกเกี่ยวกับการออกกำลังกายคือ เรามักจะไม่กระตือรือร้นที่จะเริ่มทำ แต่เรามักจะไม่เสียดายที่ได้ทำมัน เช่น เราไม่ค่อยจะได้ยินคนบอกว่า “เมื่อวานไม่น่าไปวิ่งเลย” หรือ “รู้งี้ไม่ไปเข้ายิมดีกว่า” แต่ตรงกันข้ามเรากระตือรือร้นที่จะเลิกงานมาเปิด Netflix หาอะไรดู และก็มารู้สึกว่าวันนี้ไม่ได้ทำอะไรเลยทีหลัง⁣⁣
⁣⁣
เพราะนี่เองก็ขัดกับธรรมชาติ โดยเรามักจะรู้สึกว่ากิจกรรมที่ Passive ไม่ต้องใช้พลังงานเยอะ เช่น การดูทีวี เป็นการพักที่ดี แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้ามเพราะงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่ากิจกรรมที่ Active หรือต้องใช้พลังงานจากเราเยอะส่วนใหญ่เป็นการพักที่ดีที่สุด เช่น การออกกำลังกาย หรืออาจจะเป็นงานอดิเรกที่จริงจัง ๆ หน่อยก็ได้ เช่น การเรียนภาษา เล่นดนตรี หรือการทำงานอาสาต่าง ๆ⁣⁣
⁣⁣
:::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
ดังนั้น การพักเป็นเรื่องที่ย้อนแย้ง เราพักยากเวลาที่เราควรจะพักที่สุด กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เราพักเรามักจะเหนื่อยเกินกว่าจะเริ่มมัน จนทำให้เกิดวังวนที่เราเรียกว่า Recovery Paradox และ 4 แนวทางของวันนี้คือจุดเริ่มต้นสำหรับใครที่พยายามจะพาตัวเองออกจากวังวันนี้กันโดยเฉพาะสำหรับท่านที่เป็นแฟนเพจ A Cup of Culture เรา เพราะเราทราบดีว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนั้นกินพลังงานมหาศาล⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture⁣⁣
⁣⁣.
.

Resources:
https://hbr.org/2022/07/how-to-recover-from-work-stress-according-to-science
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/job.2109
https://psycnet.apa.org/record/2014-16835-005
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search