ขับเคลื่อน​วัฒนธรรมองค์กรผ่านการเล่าเรื่อง

บทบาทของผู้นำมีความสำคัญมากต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะการเป็น Role model ดังเช่นที่เราเคยนำเสนอไว้ในบทความที่ชื่อว่า  ผู้นำแค่พูดและเป็นแบบอย่างพอหรือไม่ในครั้งนั้นเรานำเสนอสามองค์ประกอบสำคัญ ในการเป็น role model ที่ดี คือ “ SAY BEHAVE OPERATE” ว่าผู้นำควรจะมีทั้งสามองค์ประกอบ สำหรับวันนี้ A Cup of Culture จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาเจาะลึกลงไปในเรื่อง “การพูด (Say)” เพิ่มมากขึ้น เพราะถือเป็นด่านแรกในการสื่อสารกับคนในองค์กร จะเข้าใจกันหรือไม่เข้าใจกัน ก็อยู่ที่ “การพูด (Say)” เนี่ยละ
.

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า “การพูด (Say)” คือ เทคนิคที่ผู้นำใช้กันมากที่สุด แต่ก็นำมาซึ่งปัญหามากสุดด้วยเช่นกันหากพูดไม่เป็น  ผู้นำหลายคนพบปัญหาว่า “เมื่อพูดอธิบายกับพนักงานไปแล้ว ให้เหตุผลต่าง ๆ แล้ว ไม่เห็นพนักงานจะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ยังคงนิ่งเฉยเหมือนเดิม” หรือว่าแท้จริงแล้ว….ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวพนักงาน แต่อาจอยู่ที่…เทคนิคการพูดของตัวผู้นำเองหรือเปล่า? เพราะ “บางครั้งเหตุผลอย่างเดียวไม่เพียงพอ มันต้องมีการสร้างอารมณ์ร่วมขึ้นมาด้วย”  ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่เราก็มักจะละเลย จนวันหนึ่งคุณหมอบอกว่า คุณมีภาวะเสี่ยงเป็นมะเร็งนะ หากคุณไม่ดูแลตัวเองในวันนี้ มันอาจลุกลามเป็นมะเร็งในวันหน้า คนที่คุณรักต้องลำบาก เสียค่าใช้จ่ายมากมาย เป็นต้น เมื่อคุณหมอให้ทั้งเหตุผลและเร้าอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ เชื่อว่าวันรุ่งขึ้น เราจะลุกขึ้นมากินอาหารดีมีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ และดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแน่นอน นั้นเป็นเพราะ “ข้อมูลใหม่ที่เรารับเข้ามากระตุ้นให้เราต้องเปลี่ยนแปลง มันเร้าอารมณ์ข้างในของเรา”
.

คนในองค์กรก็เช่นกัน บางครั้งแค่เหตุผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ ผู้นำควรเสริมเทคนิคการพูดที่ปลุกเร้าอารมณ์ด้วย ซึ่งเทคนิคที่ A Cup of Culture นำมาเสนอในวันนี้คือ “การสื่อสารด้วย Storytelling”  การเล่าเรื่อง หรือ Storytelling เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในการดึงเอาประสบการณ์ หรือความรู้ที่อยู่ภายในของผู้เล่าออกมาเล่าให้บุคคลอื่นฟัง องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง มีดังนี้

  1. เปิดเรื่องด้วยข้อมูลพื้นฐานทั่วไปก่อนคือ อธิบายเหตุการณ์ เวลา และผู้เกี่ยวข้อง /ขั้นตอนนี้จะช่วยดึงผู้ฟังให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเหตุการณ์
  2. เล่าปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องราวนั้น
  3. จุดพลิกผัน /คือ เหมือนว่าเหตุการณ์จะเลวร้าย แต่ก็เกิดการพลิกผันไปในอีกทางหนึ่ง
  4. จุดคลี่คลาย /คือ เหตุการณ์ถูกคลี่คลายไปในทางที่ดี
  5. การสรุปบทเรียน สิ่งที่ได้จากเรื่องนี้
    .

ตัวอย่างเรื่องเล่าแบบ Storytelling
.

ผู้บริหาร : “ในช่วงปี 2526 ขณะนั้น IBM มีสำนักงานใหญ่อยู่บริเวณถนนสีลม ช่วงเวลาประมาณ 19:00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น (เปิดเรื่องด้วยข้อมูลพื้นฐาน) ไฟได้ลุกลามไปหลายชั้น รวมถึงชั้นที่มีระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเก็บรวบรวมฐานข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ก็ไหม้ไปในเพลิงคร่านั้นด้วย ซึ่งลูกค้าของเราเกิดความกลัวว่าธุรกิจต่าง ๆ ของตนเองจะต้องสะดุดไปด้วย (เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น) แต่ปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้น บริษัท IBM สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ เพราะเราได้มีการเตรียมแผนสำรองในกรณีเหตุฉุกเฉินเช่นนี้ไว้แล้ว ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าได้มีการ Back up อย่างดี ไฟล์เอกสารจัดทำสำเนาสำรอง และหลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน เราก็ได้ลงข้อความในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า “Our strength is not in the building, but in our people” (จุดผลิกพัน) สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ปีนั้นกลับกลายเป็นปีที่ บริษัท IBM มียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์เลย เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะ ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวเรา ว่าทำไมเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เราถึงสามารถฟื้นกลับมาในระยะเวลาอันสั้นมาก (จุดคลี่คลาย) บทสรุปจากเรื่องนี้คือ เวลาที่เราเจอวิกฤติต่าง ๆ จงมองหาโอกาสในวิกฤติเหล่านั้นเสมอ อย่ารีบยอมแพ้หรือหมดหวังเร็วเกินไป”
.

เรื่องเล่าของบริษัท IBM นี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของ Storytelling ที่วางรูปแบบการสื่อสารผ่านเรื่องเล่าได้อย่างครบถ้วน ซึ่งในบทสรุป ผู้เล่าเรื่องสามารถเชื่อมโยงหรือขมวดใจความ ได้ตาม Key Message ที่อยากสื่อสารในเรื่อง การมองหาโอกาส ได้เป็นอย่างดี  เรื่องเล่าแบบ Storytelling สามารถหยิบมาใช้ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรได้ในหลาย ๆ โอกาส เช่น วันเปิดตัวองค์กร วันเริ่มต้นปีใหม่ วันที่จัดประชุมประจำสัปดาห์ หรือในการสอนงานลูกน้อง เป็นต้น ซึ่ง A Cup of Culture ได้สร้างเทมเพล็ตในการวางโครงเรื่องสำหรับเล่าเรื่อง สามารถดาว์นโหลดได้ที่นี้เลย
.
.
>>>

.
.
A Cup of Culture

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search