Ideas to go: 4 หัวใจหลักปั้นไอเดียสุดครีเอท

ความทุกข์ใจอย่างหนึ่งของชีวิตการทำงานคือ #การถูกมอบหมายให้คิดโปรเจค หรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ให้กับแผนกหรือองค์กร หลายคนถึงขนาดบ่นกับตัวเองว่า “ฉันไม่มีหัวทาง Creative เลย” “เป็นคนไม่มีไอเดียสร้างสรรค์” “งานแน่นมาก คิดอะไรใหม่ๆ ไม่ออกหรอก”


แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนสามารถเป็นคนที่มีความครีเอทีฟ มีหัวสร้างสรรค์ได้ เพราะ #ความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นทักษะที่ไม่ใช่แค่เพียงสอนกันได้ แต่ยังพัฒนาได้จากการฝึกฝนด้วย ซึ่ง 4 หัวใจสำคัญในการสร้างไอเดีย (Idea generation) จะนำพาคุณไปสู่ความคิดมากมาย (อ่านเพิ่มเติมบทความ Innovation Management เคล็ดลับในการสร้าง Innovation)
. . . . . . . . . . . . .


📌 1.Quantity เน้นปริมาณ


เคล็ดลับ: สร้าง สร้าง สร้าง สิ่งที่ดีที่สุดในการได้ไอเดียปริมาณเยอะๆ คือ การจดแนวคิดต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จากนั้นคิดเสริมต่อจากไอเดียที่คนอื่นแชร์
ข้อควรระวัง: การกักตุนไอเดียต่างๆ ไม่ช่วยให้ได้ไอเดียที่เยอะขึ้น หากคุณรอนานเกินไปที่จะเสนอไอเดีย คุณอาจจะลืมไอเดียนั้นไปแล้ว การแบ่งปันความคิดออกไปดัง ๆ จะช่วยขับเคลื่อนความคิดไปพร้อมกัน ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างปริมาณ แต่ยังมีความหลากหลายอีกด้วย
นอกจากนี้อย่าลืม Take notes ความคิดของคุณทันทีที่คิดได้
. . . . . . . . . . . . .


📌 2. Variety ความหลากหลาย


เคล็ดลับ: ความหลากหลายทำให้ความคิดคุณกว้างขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการเพิ่มความหลากหลายคือ การจับกลุ่ม หรือจัดหมวดหมู่สิ่งที่คล้ายกันให้อยู่ด้วยกัน หลังจากนั้นให้เลือกสิ่งที่คุณยังไม่ได้เจาะลึกและสร้างแนวคิดเพิ่มเติมจากแนวคิดนั้น
ข้อควรระวัง: การได้แนวคิดหนึ่งหรือสองหมวดยังไม่เพียงพอและขาดความหลากหลาย หากคุณรู้สึกติด คิดไม่ออก ให้ถอยกลับมาและสร้างตัวเลือกหมวดหมู่ที่กว้างขึ้นใหม่ การหาแนวคิดจากหลากแหล่งช่วยคุณได้ เช่น การออกไปดูงาน การตั้งสมมติฐาน จะช่วยขยายขอบเขตความคิดของคุณ
. . . . . . . . . . . . .


📌 3.Unique มีเอกลักษณ์


เคล็ดลับ: หนึ่งในการหาไอเดียที่ยากที่สุดคือ การหาความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่เพราะคุณไม่สามารถทำได้ แต่เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักตัวตนของธุรกิจของคุณมากเท่าที่ควร ข้อแนะนำคือ ยิ่งคุณรู้เกี่ยวกับธุรกิจของคุณมากเท่าไหร่ ความเป็นตัวตนของแบรนด์คุณก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
ข้อควรระวัง: มันง่ายกว่าในการคิดภาพกว้าง แล้วค่อยๆ กรอบแนวคิดลงมา มากกว่าการระวังในการคิดหรือคิดจากแนวคิดที่ปลอดภัยแล้วพยายามหาเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแนวคิดนั้น
. . . . . . . . . . . . .


📌 4. Elaboration การลงรายละเอียดให้รอบคอบ


เคล็ดลับ: การแชร์แนวคิดออกมาสามารถจุดประกายให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่จะค่อยๆเพิ่มความแตกต่างไปจากคนอื่น ในการระดมไอเดียเราจะเรียกว่า “การสร้าง” การทำซ้ำแบบนี้จะช่วยพัฒนาไอเดียให้ดีขึ้นและมีความรอบคอบมากขึ้น ยิ่งคุณละเอียดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพบความเป็นไปได้มากเท่านั้น
ข้อควรระวัง: การลงรายละเอียดอาจทำให้ออกนอกเรื่องได้หากคุณไม่คอยดึงกลับมาที่ประเด็นหลัก เช่น เมื่อสักครู่เรากำลังคุยเรื่องอะไรกันอยู่? สุดท้าย หลังจากที่คุณสร้างไอเดียแล้วดูภาพรวมและคอยประเมินร่วมกับทีมว่าอันไหนเป็นประโยชน์ อันไหนค่อยเอากลับมาใช้ใหม่


===============================
🔸 อ่านบทความอื่นๆได้ที่​ https://www.brightsidepeople.com/blog/
===============================


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.

.
.


ที่มา
https://www.researchgate.net/publication/227442427_Idea_Generation_Creativity_and_Incentives
https://www.moo.com/blog/business-tips/how-to-be-more-creative-in-2020

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search