สร้างทางลัดสู่นวัตกรรมไปกับ Agility Hacks

การที่องค์กรใหญ่ ๆ อยากจะผันตัวมาใช้ระบบ Agile ในการทำงาน มักจะประสบกับกำแพงชิ้นหนา ๆ ที่เรียกว่าระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรที่มักพัฒนาตามความเปลี่ยนแปลงไม่ทัน และท่ามกลางความน่าถอดใจนี้ก็มีบางองค์กรที่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้และนำระบบการทำงานแบบ Agile มาปรับใช้ได้ในที่สุด และวิธีนั้นมีชื่อว่า Agility Hacks⁣⁣
⁣⁣
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมากระบวนการ Agile ได้ช่วยให้หลายธุรกิจเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่ทำงานแบบเดิม ๆ ตลอดให้กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา ด้วยการส่งเสริมการทำงานข้ามทีม และแบ่งงานใหญ่ออกเป็นชิ้นย่อย ๆ เพื่อสร้างชิ้นงานต้นแบบให้เร็วที่สุด และเก็บฟีดแบคจากลูกค้าให้เร็วที่สุดเพื่อนำไปปรับพัฒนาต่อ แม้จุดเริ่มต้นของ Agile จะมาจากการพัฒนา Software แต่ปัจจุบัน Agile อยู่กับทุกฟังก์ชั่นของหลาย ๆ องค์กรไปเป็นที่เรียบร้อย ⁣⁣
⁣⁣
แม้ว่า Agile จะมีประโยชน์อย่างมากในด้านของการที่ทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และปรับเปลี่ยนได้อย่างทันต่อความเปลี่ยนแปลงของทั้งลูกค้า และตลาด แต่แน่นอนว่า Agile เองก็ไม่ได้เหมาะกับงาน หรือธุรกิจที่ต้องมีความสม่ำเสมอ และรักษาประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจใหญ่ ๆ ที่มี Volume สินค้าเยอะ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด และความเปลี่ยนแปลงต่อระบบแม้แต่เล็กน้อยก็จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่ธุรกิจในลักษณะนี้ยอมรับได้ยาก แต่เมื่อองค์กรที่เคยเน้นความสม่ำเสมอ และการรักษาประสิทธิภาพมาถึงจุดที่ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเข้าหากลุ่มลูกค้าใหม่ sector ใหม่ ๆ และการแข่งขันแบบใหม่ องค์กรเหล่านี้จะสามารถก้าวข้ามกฏระเบียบเดิม ๆ ขององค์กรได้อย่างไร ?⁣⁣
⁣⁣
วันนี้เรามีบทความดี ๆ จาก Amy Edmonson ผู้เขียน Fearless Organization มาเล่าให้ฟังถึงการที่องค์กรใหญ่ ๆ อย่างเช่น Sony ก้าวข้ามอุปสรรคนี้ไปได้ด้วยการไม่ปรับใช้การทำงานแบบ Agile เต็มรูปแบบ และปรับมาเพื่อสร้างทางลัดให้กับระบบโดยพวกเขาเรียกมันว่า Agility Hack โดยมีหัวใจสำคัญหลัก 3 อย่างคือ Purpose, Permission และ Process⁣⁣
⁣⁣
===================⁣⁣
⁣⁣

Purpose⁣⁣

⁣⁣
จากการศึกษาของทีมงานเขาพบว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้ Agility Hack เวิร์คกับองค์กรคือการตั้งเป้าหมายเป็นราย Project โดยการมีเป้าหมายที่ชัดเจน น่าสนใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานคือสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อพนักงานเห็นความสำคัญของโจทย์ และความท้าทายที่อยากจะทำแล้วก็จะนำมาซึ่งการคิดในรูปแบบที่นำไปข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรค์เป็นรูปแบบการทำงานเดิม ๆ ก็ตามก็จะหาสร้างทางลัดเพื่อให้เป้าหมายเกิดขึ้นได้ ⁣⁣
⁣⁣

Permission⁣⁣

⁣⁣
แต่การสร้างเป้าหมายให้กับพนักงานนั้นก็เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น การทำ Agility Hack จะไม่ประสบความสำเร็จเลยถ้าหากพวกเขาไม่ได้มีโอกาสหลุดกรอบการทำงานแบบเดิม ๆ โดยในหลาย ๆ การศึกษาที่ผ่านมา ทีมงานของ Amy Edmonson ก็พบว่าทีมที่ประสบความสำเร็จคือทีมที่ได้รับการอนุญาต และการอนุมัติทรัพยากรจากผู้นำให้สามารถทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านช่องทางการอนุมัติหลาย ๆ ขั้นตอน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าทีมเหล่านี้จะตัดขาดจากระบบโดยรวม เพราะในทางตรงกันข้ามทีมที่เวิร์คในการทำ Agility Hackมักจะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานจากหลากหลายแผนก⁣⁣
⁣⁣

Process⁣⁣

⁣⁣
กระบวนการที่ดีของการทำ Agility Hack ไม่ใช่กระบวนการการทำงานที่ชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่าง แต่มักจะเละเทะ และไม่เป็นระบบระเบียบ เพราะสิ่งสำคัญคือการเร่งสร้างผลลัพธ์ให้ได้อย่างเร็วที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการลงมือทำ และไม่ยอมให้การพยายามหาวิธีการที่ดีที่สุดมาทำให้กระบวนการนี้ช้าลง ดังนั้น Process การทำงานแบบนี้จึงมักถูกออกแบบให้เร่งความเร็วในการออกผลงาน และสร้างให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการทำ หรือการคอยสังเกตผลลัพท์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และคอยปรับเปลี่ยนแผนถี่ ๆ ⁣⁣
⁣⁣
====================⁣⁣
⁣⁣
ตัวอย่างที่ดีของการใช้กระบวนการ Agility Hack เกิดขึ้นในปี 2013 โดย CEO คนใหม่ ณ ขณะนั้นของ Sony ชื่อว่า Kazuo “Kaz” Hirai ที่เกิดขึ้นในยุคที่ Sony กำลังค่อย ๆ ถดถอยอย่างต่อเนื่อง โดยคุณ Hirai สังเกตุเห็นระเบียบข้อบังคับของ Sony ที่มีลักษณะเป็นการเลี่ยงความเสี่ยง และมองว่านี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Sony ไม่พัฒนา เช่น การที่การทดลองในแผนก R&D นั้นใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะออกไปสู่ตลาดจริงเพียงเพราะมันเป็นสินค้าใหม่ที่ไม่เข้ากับโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว⁣⁣
⁣⁣
คุณ Hirai จึงตั้งโจทย์ไว้ว่าจะทำโครงการที่เอื้อให้เกิดการทดลองการทำผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากหมวดที่เคยทำมาก่อน เพื่อสุดท้ายแล้วนำมาซึ่งนวัตกรรมเจ๋ง ๆ ให้กับ Sony โดยเขาได้รวบรวมทีมที่รายงานตรงกับเขาเท่านั้น และอนุญาตให้ทีมนี้สามารถลัดขั้นตอนการของบประาณ และกระบวนการตัดสินใจเป็นทอด ๆ ลง และออกแบบระบบภายในทีมให้แน่ใจได้ว่าทีมนี้สามารถเข้าถึงทรัพยากร และเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามที่ต้องการใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือทีมเหล่านี้ได้พื้นที่ในการมองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และลงมือทำมันได้ทันทีโดยไม่ต้องรออะไร นั่นทำให้จนถึงทุกวันนี้ Sony ก็ได้มีนวัตกรรมที่น่าสนใจออกมามากมายตั้งแต่ 4K Home projector รายแรก ๆ ของโลก Playstation 5 ที่ปฏิวัติวงการเกมส์ Con-sole ⁣⁣
⁣⁣
สุดท้ายนี้ตัว Amy และทีมเองก็ยอมรับว่าการทำ Agility Hack นั้นเป็นเพียงแค่วิธีการปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น เพราะไม่ได้มีการแก้ไขที่ตัวระบบจริง ๆ แต่ก็ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพกับองค์กรที่ต้องการรับมือกับปัญหาที่ปัจจุบันทันด่วน และกระตุ้นให้คนอื่น ๆ ในองค์กรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้การปรับเปลี่ยนในเชิงระบบสามารถเกิดขึ้นได้จริง ๆ ในอนาคต⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
corporate culture⁣⁣
organizational culture⁣⁣
.
.
>>>


⁣⁣
แหล่งข้อมูลอ้างอิง⁣⁣
https://hbr.org/2021/11/agility-hacks?ab=hero-main-image⁣⁣

.
.
>>>>


⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣

Share to
Related Posts:
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search