No Rules Rules โดย Reed Hastings CEO ของ Netflix และ Erin Meyer ผู้เขียน “The Culture Map” ได้ให้แง่คิดดีๆ แบบพาผู้นำทั่วโลกออกจากกรอบขนบการบริหารองค์กรแบบเดิมๆ ไปสู่โลกของการสร้างชุมชนของคนเก่งขั้นเทพด้วยวิธีคัดสรรคนเก่งและดูแลแบบที่คนเก่งชอบ ด้วยวัฒนธรรมแบบให้อิสระและสร้างความรับผิดชอบ โดยเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ Netflix ใช้ในการรดน้ำพรวนดินวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้คือระบบการ Feedback ที่ทรงประสิทธิภาพ


ในขณะที่หลายคนพยายามให้ Feedback ที่เป็นประโยชน์ แต่ลึกๆก็กลัวว่าจะทำร้ายอีกฝ่าย และกลัวสูญเสียความเป็นสมาชิกในทีมซึ่งต้องแลกมากับการที่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของมัน Reed Hasting กล่าวในหนังสือเล่มดังของเขาว่า “หากคุณกำลังส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความจริงใจในทีมคุณต้องกล้ากำจัดสิ่งที่ไม่เอาไหนออกไป หลายคนอาจคิดว่า คนๆนี้ยอดเยี่ยมมากเราขาดเขาไม่ได้ แต่หากมันเป็นเหตุให้คุณไม่สามารถสื่อสารกันแบบตรงๆได้ ต้นทุนของการมีคนๆนี้จะสูงเกินไป”


การให้ Feedback เป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน หนังสือ “No Rules Rules” ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความยากในการนำไปใช้ แต่ยังให้แนวทางในการที่ Netflix พยายามจัดการกับงานศิลปะชิ้นนี้


4A Feedback ทั้งหมดนี้ได้ถูกสรุปมาเป็นรูปแบบ 4A ดังนี้


การให้ Feedback


Aim to assist

Feedback ต้องส่งออกไปด้วยเจตนาเชิงบวก การให้ Feedback ผู้อื่นเพื่อให้คุณหายข้องใจขึ้นและเจตนาทำร้ายอีกฝ่ายหรือส่งเสริมการเมืองในองค์กรเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อธิบายให้ชัดเจนคือว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งนี้ เฉพาะเจาะจงจะช่วยบุคคลหรือบริษัทได้อย่างไร ไม่ใช่ว่าจะช่วยคุณได้อย่างไร การพูดว่า “วิธีที่คุณเอาแต่นั่งแคะขี้ฟันในการประชุมกับคู่ค้าของเรานั้นน่ารำคาญมาก” เป็น Feedback ที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องน่าจะเป็น“ ถ้าคุณหยุดแคะฟันในการประชุมกับคู่ค้าของเรา พวกเขาก็จะมีแนวโน้มที่จะมองว่าคุณเป็นมืออาชีพมากขึ้นและเรามีแนวโน้มที่จะได้ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น”


Actionable

ความคิดเห็นของคุณต้องมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ผู้รับสามารถนำไปสร้างความแตกต่างได้จริง Feedback ที่ไม่ถูกต้อง เช่น “การนำเสนอของคุณกำลังทำลายข้อความสำคัญของตัวเอง” ซึ่งที่ถูกต้องคือ “วิธีที่คุณขอข้อมูลจากทีมงานส่งผลให้มีบางคนให้ความร่วมมือ, มันน่าจะดีกว่าหากคุณสามารถหาวิธีอื่น เช่น xxx. จะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”


การรับ Feedback


Appreciate:

มนุษย์มีแนวโน้มจะปกป้องตัวเองหรือแก้ตัวเมื่อได้รับคำวิจารณ์เพื่อปกป้องอัตตาและชื่อเสียงของตน เมื่อคุณได้รับคำติชมคุณต้องต่อสู้กับปฏิกิริยาตามธรรมชาติอันนี้และถามตัวเองแทนว่า “เราจะขอบคุณคนที่อยู่ตรงหน้าสำหรับ Feedback นี้ได้อย่างไร โดยการรับฟังอย่างรอบคอบ พิจารณาข้อความด้วยใจที่เปิดกว้าง และจะไม่พยายามปกป้องตนเองหรือโกรธผู้ให้ฟีดแบ๊ก”


Accept or discard:

คุณจะได้รับ Feedback มากมายจากผู้คนขณะอยู่ที่ Netflix คุณจะต้องรับฟังและพิจารณาคำติชมทั้งหมดที่มีให้ คุณไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามโดยกล่าว “ขอบคุณ” ด้วยความจริงใจ แต่ทั้งคุณและผู้ให้ Feedback ต้องเข้าใจว่าการตัดสินใจตอบสนองต่อคำติชมนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับทั้งหมด


การปฏิบัติตาม 4A ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการฝึกฝนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) Feedback ที่มีคุณภาพจะเป็นพื้นฐานของวิธีการทำงานที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่างที่ Netflix เชื่อ


.
.
>>

.
.

แหล่งที่มาของบทความ
หนังสือ No Rules Rules โดย Reed Hastings และ Erin Meyer

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search