Toxic Productivity Culture เมื่อเราติดกับดักของคำว่า “โปรดักทีฟ”


ในช่วงปีที่ผ่านมาต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นปีของการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมในเรื่องรูปแบบการทำงานอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในด้านความคาดหวังต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กร หรือที่เราพูดกันติดปากกันว่า “Productivity” คำนี้ก่อให้เกิดให้วัฒนธรรมองค์กรที่ชื่อว่า “Productivity Culture” ขึ้นอย่างเงียบๆ (อาจจะด้วยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม)


“Productivity Culture” หรือวัฒนธรรมที่เชื่อว่า ‘ยิ่งทำงานเยอะๆ ยิ่งเป็นเรื่องดี’ และยิ่งหากงานออกมาเพอร์เฟ็คด้วยยิ่งดีขึ้นไปใหญ่ และการทำงานเยอะๆ คือสิ่งที่แสดงว่าคุณคือ “Productive employee” วัฒนธรรมแบบนี้คอยผลักให้คนจำเป็นต้องมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เก่งมากขึ้น ทำให้ได้มากขึ้น ต้องมากขึ้นไปอีก เร็วเพิ่มขึ้นได้อีก


ต้องบอกว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มีความสุขกับการทำงานให้ถึงขีดสุดของตนเองถึงขนาดที่ต้องคอยโพสต์ “ความงานยุ่งของตน” ลงสื่อโซเชียล เพื่อให้เพื่อนร่วมงานเห็นและแสดงให้โลกรู้ จนความงานยุ่ง (Busyness) กลายมาเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะและเป็นสิ่งที่ต้องอวด // ในขณะที่คนอีกจำนวนหนึ่ง (ซึ่งอาจจะมากกว่า) รู้สึกว่าวัฒนธรรมแบบนี้คือความทุกข์ของพวกเขา และรู้สึกว่าสิ่งนี้คือ “Toxic” ของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานไปเลย (Work-life balance) จนกลายเป็น Toxic Productivity Culture


คำถามที่น่าสนใจคือ “Productivity Culture” ส่งผลดีหรือผลเสียต่อองค์กรมากกว่ากัน?


เมื่อลองรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย และเอกสารทั้งหลายแล้ว คำตอบดูจะไปในทิศทางเดียวกันคือ “ส่งผลเสียมากกว่า” โดยเฉพาะผลเสียในมิติของชีวิตมนุษย์… คุณแรนดี ไซมอน (Randy Simon) นักจิตวิทยาคลินิกจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ ถึงขนาดกล่าวว่า “คนเราไม่ได้ถูกสร้างมา เพื่อให้เกิดผลผลิตในทุก ๆ นาทีของการใช้ชีวิต”  หรือจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่พบว่า คนที่ทำงาน 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไม่ได้ทำให้มีผลงานมากไปกว่าคนที่ทำงานเพียง 56 ชั่วโมงเลย ยิ่งกว่านั้นการทำงานหนักเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ร่วมถึงความเครียดด้วย


ทีนี้ในแง่ขององค์กรก็สามารถสรุป 3 ผลลัพธ์ทางลบจาก Toxic Productivity Culture ได้ ดังนี้


1) คุณภาพงานลดลง (Decreased Work Quality)


Toxic Productivity Culture อาจทำให้พนักงานต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น 2-3 ชั่วโมง/วัน เพื่อเคลียร์งานให้เสร็จทำให้อาจลากยาวไปจนถึงกลางคืนเบียดเวลาพักผ่อนนอนหลับของตนเอง หรือบางคนมุ่งแต่เพื่อให้งานเสร็จ จนอาจละเลยคุณภาพของงานได้

คำแนะนำในการเพิ่มคุณภาพของงาน คือ
– กำหนดขีดจำกัดของการทำงานให้ชัดเจน
– กำหนดลำดับความสำคัญของงาน
– กำหนดเป้าหมายแบบ SMART (เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผลได้ เกี่ยวข้อง และอิงตามเวลา)


2) ความผูกพันของพนักงานลดลง (Decreased Employee Engagement)


ความผูกพันของพนักงานเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความสำเร็จขององค์กร “ความผูกพัน” จะเกิดขึ้นเมื่อพนักงานรู้สึกได้รับความเคารพ ความมั่นคง(ทั้งร่างกาย-จิตใจ) ความได้รับการสนับสนุน และความรู้สึกมีคุณค่าเมื่อได้เป็นส่วนหนึ่ง


ข้อมูลจาก Harvard Business Review รายงานว่าองค์กรที่มีระดับความผูกพันของพนักงานต่ำ ส่งผลต่ออัตราการผลิตลดลง 18% ความสามารถในการทำกำไรลดลง 16% และการเติบโตของงานต่ำกว่าองค์กรที่มีความผูกพัน 37%

คำแนะนำในการเพิ่มความผูกพันของพนักงาน คือ
– การจัดทำโปรแกรมการมีส่วนร่วมของพนักงาน
– การให้อำนาจแก่พนักงานด้วยเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
– การจัดกิจกรรมสร้างทีมเพื่อเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับพนักงาน
– การประชุมประจำสัปดาห์กับพนักงานเพื่อทำความเข้าใจเป้าหมามร่วมกัน


3) ขวัญกำลังใจของพนักงานลดลง (Lower Employee Morale)


Toxic Productivity จะโฟกัสแค่เพียงผลลัพธ์และผลผลิตที่จะเกิดขึ้นแต่เพียงเท่านั้น โดยมักไม่คำนึงถึงการทำงานหนักและความทุ่มเทของพนักงาน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การลดขวัญกำลังใจของพนักงานในที่ทำงาน


และเมื่อใดที่ขวัญกำลังใจของพนักงานลดตกต่ำ มันก็แสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเริ่มลดลง พนักงานเริ่มปล่อยเกียร์ว่างมากขึ้น หรืออาจสะท้อนผ่านยอดการขาดลามาสายที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขาดแรงจูงใจในการทำงาน (ซึ่งข้อนี้ร้ายแรงมาก)

คำแนะนำในการเพิ่มขวัญและกำลังใจของพนักงาน คือ
– การแสดงให้เห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เช่น การมีสวัสดิการซื้อครอสออกกำลังกายตามความสนใจ
– การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินนโยบายบ้างอย่างขององค์กร
– การกำหนดวัฒนธรรม Work-life balance ที่เน้นความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน


That’s a Wrap!
ข้อสรุปของเรื่องราววันนี้คือ แน่นอนว่าทุกองค์กรต้องการ Productivity จากพนักงานของตน และปฏิเสธไม่ได้ว่า Productivity อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทุกองค์กร ที่นี้… สิ่งที่เป็นความจริงของทุกชีวิตคือ “อะไรที่มันมากเกินไป… ย่อมนำพาไปสู่ผลลัพธ์ทางลบได้” ตัวอย่างเช่น กินของมันของทอดมากเกินไปอาจนำพาไปสู่โรคอ้วน เช่นเดียวกัน Productivity ที่มากเกินไป ย่อมนำพาไปสู่คุณภาพของงานที่ลดลง ความผูกพันที่ลดลง และขวัญกำลังของพนักงานที่ลดลง นี่ยังไม่รวมไปถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของเราด้วย  ฉะนั้น หากองค์กรของเรากำลังอยู่บนเส้นทางของ Toxic Productivity Culture อยู่… อาจจะถึงเวลาแล้วละ ที่เราต้องพิจารณาคำว่า “บาลานซ์”


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://biz30.timedoctor.com/productivity-culture/
https://becommon.co/life/living-productivity-trap/#accept
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search