สวัสดีปี 2021 กับการเริ่มต้นรับสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีที่กำลังจะเข้ามา รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างตั้งใจเพื่อเป้าหมายที่อยากจะเป็นด้วย ตลอดปี 2020 ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในมุมใหม่ ๆ ที่แตกต่าง หลากหลาย ทีมงาน A Cup of Culture ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม กำลังใจ และข้อเสนอแนะตลอดปีที่ผ่านมา และขอต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ ด้วย Top 5 บทความจากปีที่ผ่านมา จะเป็นบทความอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย
🎉 อันดับ 5
• วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนโดนใจที่สุด
• จำนวนคนที่เข้าถึง 130,589 ครั้ง
• อ่านเรื่องนี้ https://www.brightsidepeople.com/four-types-of-organization-culture/
หลายๆ คนเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กร จะเกิดโดยธรรมชาติแบบค่อยเป็นค่อยไป (organic growth) ไปยุ่งอะไรกับมันมากไม่ได้ แต่คำกล่าวของ Robert L. Peters, กราฟฟิกดีไซน์เนอร์รุ่นใหญ่ชื่อก้อง สะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ต่างออกไป และเป็นความเชื่อตรงกันกับชาว A Cup of Culture นั่นคือ “วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ต้องออกแบบ” เพราะนอกจากมันจะช่วยสร้างความผูกพันของคนในองค์กรได้แล้วยังส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจด้วย โดยในบทความได้อธิบายวัฒนธรรมองค์กรทั้งทั้งสี่ประเภทที่พบเห็นในองค์กรปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่า (tribal) /ควบคุม (controlled) /สร้างสรรค์ (creative)/แข่งขัน (competitive)
🎉 อันดับ 4
• เมื่อ Covid19 ลุกลาม..องค์กรเราพร้อมแค่ไหน ถ้าทุกคนต้องทำงานจากที่บ้าน
• จำนวนคนที่เข้าถึง 146,366 ครั้ง
• อ่านเรื่องนี้ https://www.brightsidepeople.com/องค์กรเราพร้อมแค่ไหนถ้/
จากกระแสไวรัส Covid-19 ที่กำลังเป็นความกังวลของคนทั่วโลกจนทำให้หลาย ๆ เรื่องที่เคยทำให้ธุรกิจแตกตื่น เช่น สงครามการค้า digital disruption ต้องหยุดพักร้อนไปก่อน ขณะนี้หลาย ๆ บริษัทเริ่มยกระดับ จากการที่ห้ามเดินทางไปประเทศที่สุ่มเสี่ยงไปสู่การห้ามเดินทางเลย ถ้าเรามองในกรณีที่เลวร้ายของการแพร่ระบาด บริษัทต่างๆอาจต้องเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะให้พนักงานทำงานจากที่บ้านแทนสักช่วงเวลาหนึ่ง โดยถ้าถามองค์กรต่าง ๆ ว่าพร้อมมั๊ย คิดว่าคำตอบคือ “ไม่” หากเราไม่เคยเตรียมตัวเรื่องนี้มาก่อนเลย บทความล่าสุดของ Harvard Business Review โดย Carli Williams Yost ได้ให้แนวทางในการเริ่มต้นที่ดีไว้ 6 แนวทาง เช่น เตรียมใจไว้ก่อนเลยว่าการที่พนักงานทั้งหมดต้องทำงานจากที่บ้านอาจจะเกิดขึ้น หรือประเมินถึงงานต่างๆที่อาจได้รับผลกระทบ เป็นต้น
🎉 อันดับ 3
• Psychological Safety คืออะไรกันแน่
• จำนวนคนที่เข้าถึง 226,616 ครั้ง
• อ่านเรื่องนี้ https://www.brightsidepeople.com/what-is-psychological-safety/
คำว่า Psychological Safety ถูกพูดถึงอย่างมากมาย โดยเฉพาะแวดวง Innovation และ Startup ซึ่งอาจจะเป็นเพราะองค์กรชั้นนำอย่าง Google ทำการศึกษาลงลึกและนำเรื่องนี้มาใช้ในการสร้างวัฒนธรรมแบบ High-Performing Team และในหนังสือ No Rules Rules ที่เล่าถึงการที่ Netflix นำ Psychological Safety มาใช้สร้างองค์กรนวัตกรรมที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัย ที่ทำให้ทุกคนกล้าที่จะฝันและกล้าที่จะเสี่ยง
🎉 อันดับ 2
• โครงสร้างองค์กร Agile ที่ฉีกทุกตำราของ Spotify
• จำนวนคนที่เข้าถึง 234,641 ครั้ง
• อ่านเรื่องนี้ https://www.brightsidepeople.com/โครงสร้างองค์กร-agile-ที่ฉีก/
บทความนี้พูดถึง Spotify ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากองค์กร Startup อื่นๆ โดยเฉพาะการวางโครงสร้างที่ต่างอย่างสุดขั้วในการบริหารคนกว่า 5,000 คนทั่วโลกแบบแทบไม่มีลำดับขั้น คำว่า Squads, Tribes, Alliances, Chapter และ Guilds เป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อย ๆ และเป็นรูปแบบการบริหารการทำงานแทนการแบ่งเป็นแผนกเป็นฝ่าย หรือการบริหารตามสายการบังคับบัญชา พวกเขาทำได้อย่างไรในความเป็นจริง สิ่งหนึ่งที่น่าจะอธิบายภาพใหญ่ของการทำงานคือ การมององค์กรเป็นแบบ snapshot ไม่ใช่แบบเห็นตั้งแต่ต้นจนจบ
🎉 อันดับ 1
• แนวทาง Performance Management ของสี่ยักษ์ใหญ่
• จำนวนคนที่เข้าถึง 327,978 ครั้ง
• อ่านเรื่องนี้ https://www.brightsidepeople.com/แนวทาง-performance-management-ของสี่ยักษ์ให/
บทความนี้อ้างอิงจากผลจากการศึกษาของ Deloitte ที่พบว่า 75% ของบริษัทชั้นนำทั่วโลกเห็นพ้องกันว่าระบบ Performance Management ของตนกำลังมีปัญหาเพราะไม่ตอบโจทย์ความเป็นไปในปัจจุบันของโลกธุรกิจและการพัฒนาคน การประเมินผลแบบรายปีไม่ทันต่อความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมและยังปิดกั้นนวัตกรรมในองค์กร รวมไปถึงไม่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรรูปแบบใหม่ๆ ที่ผสมผสานความเป็น Agile เข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีตัวอย่างของสี่องค์กรยักษ์ใหญ่ที่ถูกยกให้เป็นสุดยอด High Performance ในการจัดการ Performance Management ได้แก่ GE, Adobe, Google, Netflix
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture