The Culture Story: Banpu Heart ตัวตนคนบ้านปูฯ ตอนที่ 2

“บ้านปูฯ เชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ “การเชื่อว่าสิ่งนี้สำคัญ” ทำให้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น บริษัทก็จะยังคงทำอยู่ -แต่หากเกิดเหตุการณ์ตรงหน้า แล้วบริษัทหยุดทำ หรือหันเหไปทำสิ่งอื่นก่อน แสดงว่าบริษัทยังไม่เห็นว่ามันสำคัญมากพอ…”

           
Banpu Heart เป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ เปรียบเสมือนเป็น “หัวใจของคนบ้านปูฯ” ผู้บริหารทุกคนของบ้านปูฯ ให้ความสำคัญกับ Banpu Heart มาก ทุกการพูดคุยในเชิงธุรกิจจะต้องหยิบ Banpu Heart มาใช้เป็นแนวทาง หรือไม่ว่าจะตัดสินใจเรื่องใหญ่หรือยากเพียงใด ก็จะหยิบ Banpu Heart มาเป็นหลักให้ยึดในการตัดสินใจเสมอ

           
โดยเฉพาะในช่วงที่เผชิญกับความไม่แน่นอน พนักงานบ้านปูฯ ยิ่งเห็นทุกคนแสดงความเป็น Banpu Heart ได้อย่างเด่นชัดมากกว่าในสถานการณ์ปกติ ตัวอย่างเช่น ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ทางทีมผู้บริหารเป็นห่วงเรื่องจิตใจของพนักงานมาก จึงลงไปพูดคุยกับพนักงานในแต่ละแผนก ให้คลายความกังวล และสร้างความมั่นใจทั้งเรื่องที่จะไม่ทอดทิ้งใครไว้กลางทาง และองค์กรจะช่วยดูแลเรื่องความเป็นอยู่ หน้ากาก สเปรย์ รวมไปถึงได้ทำประกัน COVID-19 ให้พนักงานทุกคนเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น ท่ามกลางสถานการณ์ทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงเป็นวินาที ความปลอดภัยของพนักงานถือเป็นความท้าทายของผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบและรวดเร็ว บ้านปูฯ ตัดสินใจเรียกพนักงานคนไทยทั้งหมดที่ประจำอยู่ที่ต่างประเทศกลับทันทีเมื่อเริ่มมีกระแสโควิค เพราะผู้บริหารระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานและความห่วงใยจากครอบครัวพนักงานเป็นอย่างดี ซึ่งพนักงานทุกคนได้กลับมาก่อนที่สนามบินจะปิดทำการชั่วคราว จะเห็นได้ว่าความเป็น Banpu Heart ฝังแน่นในตัวตนคนบ้านปูฯ เป็นหัวใจหลักในทุกการขับเคลื่อนทั้งทางธุรกิจและทุกการตัดสินใจอย่างแท้จริง
.
>>>

    
คำถามที่น่าสนใจคือ Banpu Heart กลายเป็นหัวใจของคนบ้านปูฯ และเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติได้อย่างไร เคล็ดลับที่ไม่ลับก็คือ การใส่ Banpu Heart เข้าไปทั้งในส่วนร่างกาย และจิตใจ นั่นก็คือทั้งในกระบวนการทำงานและกิจกรรมพัฒนาคน ในส่วนกระบวนการทำงาน จะเห็นได้ชัดผ่านการใช้ Banpu Heart ในการประเมิน การคัดสรรพนักงาน รวมไปถึงการสัมภาษณ์ เช่น


1) Culture Fit Assessment Tests

           
เมื่อผู้สมัครถูกเชิญเข้ามาสัมภาษณ์ เขาจะได้รับอีเมลล์ในการทำข้อสอบ 1 ชุด ชื่อ “Culture Fit Assessment Tests” เพื่อดูผลว่า ผู้สมัครคนนี้มีพฤติกรรมความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรของบ้านปูฯเพียงใด ซึ่งชุดของคำถามมาจากการทำเวิร์คช็อบของพนักงานว่าจาก 10 Key Behaviors ทั้งหมด บ้านปูฯ ต้องการคนแบบไหน มีพฤติกรรมอย่างไร แล้วมากำหนดชุดคำถามที่สะท้อนพฤติกรรมเหล่านั้น หากผลทดสอบออกมามีพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งอยู่ในโซนสีแดงก็จะไม่พิจารณาผู้สมัครท่านนั้นเลย และหากพฤติกรรม Integrity ซึ่งเป็นเรื่องที่บ้านปูฯ ให้ความสำคัญสูงสุดหลุดไปจากโซนสีเขียว บริษัทก็จะไม่พิจารณาผู้สมัครท่านนั้นเช่นกัน แม้ผลของข้ออื่น ๆ จะดีเพียงใดก็ตาม


2) Performance Management

           
หลังจากการคัดเลือกเสร็จสิ้นแล้วได้เข้ามาทำงาน พนักงานท่านนั้นก็ยังคงอยู่ในกระบวนการของ Banpu Heart ต่อเนื่อง โดยในการประเมิน KPIs 100% ของพนักงานคนหนึ่งๆจะถูกแบ่ง 70% เป็นผลงานของการทำงาน (Working Performance) และ 30% เป็นผลงานเชิงพฤติกรรม (Behavior Performance) ซึ่งก็คือ 10 Key Behaviors ของBanpu Heart นั่นเอง โดยตัวแบบประเมิน จะมีความหมายของพฤติกรรมแต่ละตัว รวมทั้งวิธีทำให้ได้คะแนนเต็ม 10 กำกับไว้ /พนักงานประเมินตนเอง /หัวหน้ามาประเมินต่อว่าเขามองพฤติกรรมของพนักงานอย่างไร /ประเมินความถี่ในการแสดงออกพฤติกรรม นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คะแนนมากหรือน้อย นอกจากประโยชน์ด้านการวัดความเป็น Banpu Heart แล้ว ยังช่วยให้หัวหน้ากับลูกน้องมีโอกาสพูดคุยกันบ่อยขึ้น

           
ฉะนั้น หากบริษัทเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าบริษัทจะคิดการวัดประเมิน การติดตามพฤติกรรม หรือการพัฒนา “วัฒนธรรมองค์กร” จะถูกหยิบเข้ามาเป็นหัวใจในการลงมือทำเสมอ


โปรดติดตาม​เรื่องราวของ​ Banpu​ Heart​ ต่อใน​ EP3..


A Cup of Culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn