“สิ่งสำคัญคือ ทุกคนในองค์กรต้องตระหนักว่า การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่งานของทีม HR หรือทีมผู้บริหารเพียงเท่านั้น แต่คืองานของทุกคนในองค์กร” – ซึ่งวิธีคิดก็คือ ต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทุกคนรับรู้อย่างชัดเจน”
นอกจากกิจกรรมในกระบวนการทำงานที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั้น กิจกรรมในด้านการพัฒนาคนของบ้านปูฯ ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย
1) BCL- Banpu Heart Change Leader
.
คือ กิจกรรมที่เปิดให้พนักงานอาสาตัวเองเข้ามาช่วยพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและขยายวงกว้างของ Banpu Heart Role Model และเพื่อให้ได้มาเข้าใจความหมายที่แท้จริงของ Banpu Heart ผ่านการปฏิบัติจริง ทั้งนี้ทีม BCL ทุกคน จะได้เข้าร่วมพัฒนา Soft Skills ที่จำเป็นหลายๆ อย่าง เช่น ความคิดเชิงนวัตกรรม ผ่านการสอน Design Thinking ความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมการจัดดอกไม้ การวาดรูป ทักษะการสื่อสารและเล่าเรื่องแบบ Story Telling เป็นต้น นอกจากทีม BCL จะได้บ่มเพาะ Banpu Heart ของตนเองให้แข็งแกร่ง ด้วยการนำเอาทักษะต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแล้ว ทีม BCL ยังได้รับโอกาสให้ไปสื่อสารการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจาก Banpu Spirit มาเป็น Banpu Heart ในทุกประเทศร่วมกับทีม HR และได้สานพลังสร้างเครือข่ายกับ BCL ของแต่ละประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนา Banpu Heart ให้เป็นหัวใจที่มีชีวิตของคนบ้านปูฯ อย่างแท้จริง
หน้าที่ของ BCL
- เป็นต้นแบบในการแสดงออกถึงพฤติกรรมทั้งสิบ
- เป็นตัวแทนขององค์กรในการสื่อสารต่อ กระตุ้น แสดงความคิดเห็น และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร
- ร่วมคิดกิจกรรมที่จะส่งเสริม Banpu Heart ให้มุ่งไปข้างหน้าตามกลยุทธ์ทางธุรกิจ ให้เกิดประโยชน์ในภาพใหญ่ขององค์กรมากขึ้น โดยมี HR เป็นผู้ดำเนินงาน ทำกิจกรรมให้เกิดขึ้นจริง
- ร่วมคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริม Innovation Culture
นอกจากเป้าหมายด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแล้ว อีกหัวใจสำคัญคือ “อยากให้อาสาสมัครรู้สึกว่า เมื่อเข้ามาจะได้ประโยชน์กลับไป ไม่ใช่รู้สึกว่าต้องเข้ามาทำ มาเพิ่มภาระตนเอง”
2) กิจกรรม Value U
เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม Banpu Heart ผ่านตัวพนักงาน คือ หากพนักงานคนไหนเห็นคนในองค์กร แสดงพฤติกรรมที่สะท้อน Banpu Heart แล้วอยากที่จะขอบคุณ ก็จะส่งเป็นข้อความสั้น ๆ อธิบายถึงสิ่งที่ทำให้ประทับใจ เช่น “ขอบคุณน้องนิ้งที่ใจกว้าง ช่วยงานจนเสร็จก่อนเวลา”
ซึ่งนอกจากผลที่ได้จากการชื่นชมแล้ว ยังได้ผลในเรื่องของการยอมรับตัวตน ให้คุณค่าบุคคล และยังเป็นการตอกย้ำ Banpu Heart ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผ่านตัวอย่างคำชมที่สะท้อนพฤติกรรมต่างๆ ให้พนักงานเข้าใจ จับต้องได้ในชีวิตประจำวัน
3) กิจกรรม Banpu Heart Board Game
.
เครื่องมือที่คิดขึ้นมาเพื่อสื่อสาร Banpu Heart ให้กับทุกคนในองค์กร ซึ่งเกิดจากโจทย์ว่าจะสร้างความเข้าใจ ทำให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกันและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ง่ายๆ อย่างไร? ที่ไม่ใช่เพียงการส่งเอกสารหรือโปสเตอร์ จึงเกิดไอเดียการออกแบบ Banpu Heart Board Game เพื่อช่วยปูพื้นฐานให้พนักงานทุกคนเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและเห็นภาพเดียวกัน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงว่าความเป็น Banpu Heart ของทุกคน จะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างไร ผ่านการทำงานเล็กๆ ของแต่ละคน จนมารวมเป็นภาพใหญ่ของครอบครัวบ้านปูฯ
ด้วยความเชื่อที่ว่า หากคนเข้าใจพื้นฐานเดียวกันตรงกันแล้ว การจะไปทำอะไรกันต่อในขั้นถัดไปก็จะง่ายขึ้น โดยพนักงานทุกคนและพนักงานที่เข้าใหม่จะร่วมเล่นเกมนี้กันถ้วนหน้า
4) แอพพลิเคชั่น Banpu Heart: Hato
.
ใช้หลักการ Gamification มาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็น blended leaning tools ให้เหมาะกับคนในทุก Generations โดยจะมีแอพพลิเคชั่น Banpu Heart Game Center บนระบบ Android และ iOS ที่รวบรวมเกมสนุกๆ หลายหลากรูปแบบสำหรับให้พนักงานในทุกประเทศ ได้เล่นเพื่อทำความเข้าใจใน Banpu Heart ผ่านตัวอย่างสถานการณ์ในเกมแต่ละด่าน รวมทั้งมีไลน์สติกเกอร์ Hato ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนในเกม ให้พนักงานใช้สติกเกอร์สื่อสาร 10 Key Behaviors แสดงความเป็น Banpu Heart ในทุกวันแบบไม่รู้ตัวกันเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าการสร้างวัฒนธรรมผ่านบทบาทหน้าที่ของทุกคนในองค์กร ช่วยให้ Banpu Heart แทรกซึมเข้าไปอยู่กลางหัวใจของพนักงานทุกคนได้อย่างแนบเนียน สิ่งนี้ได้ช่วยสร้าง Sense of Ownership ให้กับพนักงานบ้านปูฯ ไปโดยความตั้งใจ “เพราะท้ายสุดนี้…ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”
โปรดติดตามเรื่องราวของ Banpu Heart ต่อใน EP4..
A Cup of Culture