พนักงานส่วนใหญ่ยกให้ #การให้เกียรติกันจากผู้บังคับบัญชาเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด อ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Georgetown ที่อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลของพนักงานกว่า 20,000 คนทั่วโลก พบว่าแม้พนักงานส่วนใหญ่จะให้การให้ความเคารพซึ่งกันและกันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดแต่ในความเป็นจริงนั่นนี่คือสิ่งที่พวกเขาแทบไม่ได้รับจากผู้นำของตนเลย
ส่วนถ้าจะถามถึงสาเหตุจริง ๆ ของปัญหานี้ สิ่งแรกที่เรามักจะคิดกันคือผู้นำส่วนใหญ่อาจจะแค่ยังไม่ได้รับรู้ปัญหา แต่งานวิจัยของ Kristie Rogers จาก Marquette University บอกว่านั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาจริงเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงคือผู้นำส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจจริงว่าอะไรคือความหมายจริง ๆ ของการให้เกียรติกันในที่ทำงาน และมันทำให้ผู้นำหลาย ๆ คนที่แม้จะมีเจตนาดีจริง ๆ ก็อาจจะผิดพลาดได้ โดยคุณ Kristie Rogers เขาได้บอกว่าความเคารพ (Respect) ที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Owned Respect กับ Earned Respect
Owned Respect นั้นหมายถึง ความเคารพที่ให้กันอย่างเท่าเทียมในองค์กรเป็นพื้นฐานขั้นต่ำที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มันส่งสัญญาณของความมีอารยธรรมว่าออฟฟิศเราไม่ใช่คนป่าเถื่อนและมันคือพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรรู้สึกได้ว่าทุก ๆ คนในที่นี้มีคุณค่าตั้งแต่ย่างเข้ามาในองค์กรแล้ว และในองค์กรที่ Owned Respect มีน้อยมักจะเกิดการที่หัวหน้าชอบตรวจตาการทำงาน และเข้ามา Micromanage รวมถึงการใช้อำนาจ ทั้งหมดนี้จะส่งสัญญาณว่าองค์กรแห่งนี้มองเห็นพนักงานเป็นแค่มือคู่หนึ่งที่จะเปลี่ยนไปมายังไงก็ได้
และ Earned Respect เป็นการให้เกียรติอีกประเภทหนึ่งที่มีให้กับพนักงานที่มีคุณสมบัติ หรือพฤติกรรมบางอย่างที่โดดเด่น โดยเฉพาะกับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับทักษะ และความสามารถ เพื่อเป็นการยืนยันว่าจุดแข็ง และความสามารถเฉพาะตัวของคนเหล่านี้นั้นมีคุณค่ากับองค์กร และการที่พนักงานแย่งความดีความชอบกันและกัน หรือบ่ายเบี่ยงความผิดพลาดเป็นสัญญาณที่บอกว่าองค์กรกำลังขาด Earned Respect
และสำหรับการให้ความเคารพในทั้งสองรูปแบบนี้ความท้าทายของผู้นำคือ #การรักษาสมดุลย์ระหว่างทั้งสองอย่าง เพราะความไม่สมดุลย์ระหว่าง 2 ประเภทนี้มักจะก่อให้เกิดความน่าหงุดหงิดใจให้กับพนักงาน ตัวอย่างเช่น ในที่ทำงานที่มี Owned Respect สูงแต่มี Earned Respect ต่ำจะทำให้พนักงานไม่เห็นความสำคัญของการพยายามที่จะทำบางอย่างให้สำเร็จ หรือพยายามจะท้าทายตัวเองให้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าไม่ว่าพยายามหรือไม่ก็จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันอยู่ดี ส่งผลเสียต่อความเป็นเจ้าของในงานของพนักงาน
ในทางตรงกันข้าม สำหรับองค์กรที่มี Owned Respect น้อย แต่ Earned Respect สูงจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างพนักงานในระดับสูงซึ่งอาจจะดีในงานบางประเภทเช่นงาน Sales ที่พื้นฐานไม่ได้มีการทำงานแบบทีมมากนัก แต่บางครั้งการแข่งขันในระดับที่เกินพอดีจะนำมาซึ่งการขัดขากันระหว่างทีมงาน และไม่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการแบ่งปันความรู้ และทักษะระหว่างกัน และหากผู้นำสามารถทำความเข้าใจถึงสมดุลย์นี้อย่างลึกซึ้งแล้วมันจะช่วยให้การออกแบบองค์กรที่มีความเคารพทั้ง Earned และ Owned กับพนักงานในระดับที่สูงทั้งคู่จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
เพราะการให้เกียรตินั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพัฒนาตัวเอง การเรียนรู้ของพนักงาน และการเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร โดยเฉพาะสำหรับพนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พนักงานใหม่มักจะอยู่ในช่วงที่กำลังทดลองพฤติกรรมใหม่ ๆ ของที่ทำงาน เพื่อดูว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ และมักจะรู้สึกไม่เป็นตัวเองกับพฤติกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้ การ Feedback อย่างให้เกียรตินั้นจะเป็นตัวช่วยให้พนักงานสามารถเป็นตัวเองได้ง่ายขึ้น และยึดวิถีปฏิบัติขององค์กรให้เป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงสร้างการเรียนรู้ และเติบโตไปกับองค์กรอีกด้วย
นอกเหนือจากด้านของการเรียนรู้ของพนักงานแล้วการออกแบบองค์กรที่ให้มีการให้เกียรติกันมันยังทำให้พนักงานนั้นรู้สึกพึงพอใจในหน้าที่การงาน และผูกพันธ์กับองค์กรมากขึ้น พนักงานที่รู้สึกว่าตนเองได้รับความเคารพเพียงพอจะทนต่อการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้โดยไม่ย้ายไปไหน ทำงานแบบร่วมมือทั้งภายในทีม และระหว่างทีมได้ดี และมีความคิดสร้างสรรค์ในงานสูงเอื้อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายในองค์กร
มี Quote จากหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Crucial Conversations ที่เขาบอกว่า “ความเคารพมันเหมือนอากาศ ถ้ามีอยู่ก็จะไม่มีใครนึกถึง แต่พอขาดทุกคนก็จะคิดถึงแต่มัน” และความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อพนักงานรู้สึกไม่ได้รับความเคารพก็เป็นเรื่องอันตรายที่ผู้นำควรระวัง มีงานวิจัยโดย Christine Porath และ Christine Pearson พบว่า 80% ของพนักงานที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ให้เกียรติใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ทำงานไปกับการคิดทบทวนถึงเรื่องแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นในออฟฟิศ และกว่าครึ่งเลือกที่จะจงใจที่จะกั๊กความสามารถตัวเอง และยิ่งกว่านั้นคือการไม่ให้เกียรติเป็นสิ่งที่แพร่กระจายได้ง่ายในหมู่พนักงาน และสุดท้ายมักจะไปลงที่ลูกค้า
ข่าวดีของผู้นำ และองค์กรหลาย ๆ แห่งคือต่อให้เป็นองค์กรที่ Toxic ที่สุดแล้วก็ตาม การสร้างองค์กรที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันนั้นไม่จำเป็นต้องถึงกับไปรื้อระบบ HR ใหม่ หรือปรับเปลี่ยนอะไรเชิงระบบมากนัก แต่เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในการสื่อสารความให้เกียรติซึ่งกันและกัน และในสัปดาห์หน้าเราจะมี 7 สิ่งเล็ก ๆ ที่ผู้นำ และผู้จัดการสามารถทำได้เลยทันทีเพื่อเริ่มต้นสร้างผลกระทบให้องค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีการให้เกียรติซึ่งกันและกันจนเกิด Psychological Safety ในแบบของเราเอง
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
>>>
แหล่งที่มาบทความ
https://hbr.org/2013/01/the-price-of-incivility
.
.
>>>