Office ของเรามีความปลอดภัยจาก Covid ในระดับใด?
จากมาตรการเฝ้าระวัง Covid-19 ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น หลายองค์กรอนุญาตให้พนักงานกลับเข้าไปทำงานที่ office ในขณะที่หลายองค์กรกำลังเตรียมการเพื่อรับการกลับมาทำงานของพนักงานในเร็ววันนี้ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังที่ยังต้องมีกันต่อไป แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า office ของเรามีความปลอดภัยในระดับใด?
.
.
จากที่หลายองค์กรจำเป็นต้อง work from home กันมาพักใหญ่ แม้ว่าหลาย ๆ บทวิเคราะห์ New Normal ขององค์กรไทยจะชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการทำงานอาจจะเปลี่ยนเป็น work from home มากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเต็มรูปแบบ และการเข้าไปทำงานที่ office ก็ยังคงจำเป็นสำหรับบางส่วนงาน
.
.
Joseph G. Allen และ John D. Macomber ผู้เขียนหนังสือ Healthy Buildings: How Indoor Spaces Drive Performance and Productivity ได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบกับข้อเสนอแนะจากบุคลากรทางการแพทย์ สรุปเป็นโมเดล 5 ระดับการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงในที่ทำงาน โดยคำถึงถึงระดับผลกระทบในเชิงธุรกิจ และประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเพื่อลดความเสี่ยง ดังนี้
.
.
1. การป้องกันในระดับบุคคล (Personal protective equipment (PPE)
วิธีนี้ยังคงมีความจำเป็น และนับว่าปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ แม้ว่าพนักงานแต่ละคนต้องสวมหน้ากากตั้งแต่ออกจากบ้านและไม่สามารถเข้าอาคารได้โดยไม่สวมหน้ากาก แต่ความท้าทายในการควบคุมคุณภาพของหน้ากาก และพฤติกรรมการระมัดระวังของพนักงานแต่ละคน จึงทำให้เป็นวิธีนี้เป็นการป้องกันระดับพื้นฐานเท่านั้น
.
.
2. การกำหนดนโยบายความปลอดภัย (Administrative controls)
วิธีที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอีกคือ การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยได้แก่ นโยบายการการรักษาระยะห่าง เช่น ยืนห่างกันอย่างน้อยสองเมตร กำหนดจำนวนคนในลิฟท์ ห้องทำงาน ห้องประชุม หรือห้องอาหาร การพิจารณายืดหรือหดเวลางานของพนักงาน เพื่อลดความหนาแน่นในช่วงเวลาเร่งด่วน และสื่อสารแนวทางปฏิบัติอย่างทั่วถึง
.
.
3. เพิ่มการป้องกันโรคในอาคาร (Engineering controls and healthy building strategies)
วิธีที่มีประสิทธิภาพระดับสาม คือเพิ่มการป้องกันโรคด้วยการสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ ทรัพยากร หรือระบบการดูแลภายในอาคาร จากการศึกษาของ Harvard’s Healthy Buildings Lab ระบุพื้นฐาน 9 ประการที่ควรคำนึงถึงในการจัดการอาคาร เพื่อป้องกันโรคในระยะยาว และส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดีได้แก่ การระบายอากาศ คุณภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ฝุ่นและแมลง การรักษาความปลอดภัย คุณภาพน้ำ เสียง และแสงสว่าง อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างคาดไม่ถึง
.
แนวทางการปรับใช้เช่น การติดตั้งเครื่องป้องกันทางกายภาพ เช่น เครื่องฟอกอากาศ พลาสติกหรือหน้าต่างกัน การใช้เซ็นเซอร์เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่ประตู ลิฟท์ อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ชักโครก รวมไปถึงการกำหนดเกณฑ์การฆ่าเชื้อโรค โดยระบุสถานที่ เวลา และความถี่ของการทำความสะอาดอย่างชัดเจน ที่สำคัญคือการฝึกอบรมพนักงานทำความสะอาดเพื่อความเข้าใจความสำคัญ วิธีการ เพื่อสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัด
.
.
4. จัดทีมสับเปลี่ยนเวลาทำงาน (Substitution activities)
สำหรับวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาเป็นระดับที่สี่คือ การกำหนดให้ส่วนงานที่จำเป็นเท่านั้นที่ยังคงต้องเข้ามาทำงาน และจัดทีมสับเปลี่ยนเวลาทำงานในตำแหน่งงานที่จำเป็น เช่น line การผลิต หรือพนักงานขายสินค้าเพื่อรองรับลูกค้าจากมาตรการผ่อนปรน lockdown ในเฟสที่ 2 การจัดทีมลักษณะนี้นอกจากจะลดความหนาแน่นในที่ทำงานแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในกรณีทีมใดทีมหนึ่งเกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จำเป็นต้องกักตัวก็ยังคงมีอีกทีมที่จะดำเนินงานต่อได้
.
.
5. ลดการปฏิสัมพันธ์ (Elimination of exposure)
แน่นอนว่าการควบคุมที่มีประสิทธิภาพรระดับสูงที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรวมตัว หรือการปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าเป็นไปได้ในกรณีที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานและไม่เหงาจนเกินไป การ Work from home ก็ยังคงเป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด ดังนั้น ตื่นสาย หน้าสด virtual meeting กันต่อไป บวกกับนโยบายการ Work from home ที่ชัดเจนก็จะยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและยังคงประสิทธิภาพของงานไว้ด้วย
.
.
จะวัดผลได้อย่างไร?
ในขณะเราวัดผลลัพธ์ในทุก ๆ การทำงาน แต่สำหรับการลดความเสี่ยงโดยการควบคุมโรค ถ้ารอวัดผลจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นอาจจะช้าเกิดไป ในกรณีนี้สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับผลลัพธ์ คือ การวัดกระบวนการในการลงมือทำด้วย Check List เพื่อประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงสูงสุด เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
.
.
หลายองค์กรมีมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแล้วอยู่แล้ว ท่านสามารถใช้โมเดลนี้ควบคู่ในการพิจารณาถึงวิธีการเพื่อยกระดับการลดความเสี่ยง สำหรับองค์กรที่ต้องการศึกษาวิธีการเพื่อการปรับใช้ ท่านสามารถศึกษาข้อมูลการดำเนินการเพื่อการป้องกันโรคสำหรับสถานประกอบการจากกรมควบคุมโรคได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator01_110463.pdf
.
.
นอกการงานที่น่าสนใจ เจ้านาย ค่าตอบแทน และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้ว ผลการสำรวจของ Glassdor ยังแสดงให้เห็นว่าการจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและดึงดูดพนักงาน และจากสถานการณ์ Covid-19 ปัจจัยนี้จะกลายเป็นเป็น New Minimum หรือความต้องการพื้นฐานที่พนักงานจะมองหา
.
.
A Cup of Culture
.
.
.
.
ที่มาของบทความ
https://hbr.org/amp/2020/04/what-makes-an-office-building-healthy
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator01_110463.pdf